สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ ๒ โดย นายประวัติ รัตนภุมมะ ผู้อำนวยการสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ ๒
โครงการ การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม และการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และการกระทำผิดวินัยข้าราชการในพื้นที่ สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ ๒
ความเป็นมา ที่มาของโครงการเกิดจาก ๑.กรมปศุสัตว์ได้กำหนดรายละเอียดตัวชี้วัดสำหรับผู้บริหารทุกหน่วยงานด้านการปฏิบัติตามนโยบายของกรมปศุสัตว์เรื่องป้องกันและปราบปรามการทุจริตและด้านการพัฒนาบุคลากร สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ชื่อตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ๒. ปัญหาของชาติที่เกิดจากการทุจริตคอรัปชั่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชาติบ้านเมือง และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชน นำมาซึ่งความเสียหายต่อระบบราชการไทย จึงทำให้เกิดกระบวนการที่ต้องดำเนินการโครงการนี้ขึ้น
แนวคิดและวิธีดำเนินการ กรมปศุสัตว์ประกาศนโยบายเกี่ยวกับความโปร่งใสตรวจสอบได้เมื่อ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ และให้ทุกหน่วยดำเนินกิจกรรมด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้และเป็นไปตามแผนป้องกันและปราบปรามการทุจริตของหน่วยงาน ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ คือ ๑. ปลูกจิตสำนึกค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ๒. รวมพลังแผ่นดินป้องกันและปราบปรามการทุจริต ๓. เสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานในการต่อต้านการ ทุจริต ๔. สร้างบุคลากรมืออาชีพปราบปรามการทุจริต และปฏิบัติต่อเนื่องมาภายใต้แผนการพัฒนาบุคลากร “โครงการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา”
แนวคิดและวิธีดำเนินการ (ต่อ) จัดอบรมให้ความรู้ โดยหน่วยงานได้จัดหาวิทยากรที่มีความรู้ด้านกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ มาบรรยายให้ความรู้แก่บุคลากรในพื้นที่ สสอ.๒ โดยได้เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๓ ถึงปี พ.ศ.๒๕๕๔ นำตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับการทำผิดวินัย การทุจริตคอรัปชั่น และการถูกลงโทษ ที่สำนักงาน ก.พ.รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๔๕ จำนวน ๒๑ มาตรา มีการสอบสวนลงโทษ ๘๓๔ ราย และของกรมปศุสัตว์ปี พ.ศ.๒๕๔๙ – ๒๕๕๒ มีการสอบสวนลงโทษ ๔๗ ราย มาบรรยายและจัดทำเอกสารให้บุคลากรในหน่วยงานทราบและนำไปศึกษา
ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ๑. เกิดความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกระดับ ในการแจ้งข้อมูลข่าวสารของผู้กระทำความผิด เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ๒. ทำให้บุคลากรเป็นคนช่างสังเกต รอบคอบ ระมัดระวังตัวเพื่อไม่ให้กระทำความผิด และเกิดการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเข้าใจในความเสียหาย ความเสมอภาค ข้อกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ
แนวทางปฏิบัติในปีต่อไป จะกำหนดให้มีการอบรมให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดและถูกลงโทษ ให้แก่บุคลากรภายในพื้นที่ สสอ.๒ เพิ่มเติม โดยกำหนดขอบข่ายดังนี้ ๑. สถานการณ์การทุจริตของประเทศไทยและแนวโน้มใน อนาคต ๒. ลักษณะการกระทำความผิด ๓. กฎหมายที่กำหนดลักษณะการกระทำความผิดและบท กำหนดโทษ (จำนวน ๘ ข้อ) ๔. การกำหนดมาตรการป้องกันการทำความผิด
ข้อคิดที่ได้จากการดำเนินโครงการ ๑. ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมเป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ในระยะสั้น ๆ แต่ในระยะยาวโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้การทุจริตคอรัปชั่นลดลง เนื่องจากทุกคนทราบว่าหากกระทำความผิด กระบวนการสอบสวนจะเข้าไปถึงท่านได้อย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร และเป็นไปอย่างรวดเร็ว ๒. จากคำพูดของผู้บังคับบัญชาเมื่อพบเจอผู้ใต้บังคับบัญชากระทำความผิด เมื่อจะไม่ตรวจสอบลงโทษมักจะพูดว่า “เมตตาน้องมัน” นั้น แท้จริงแล้วเกิดจากความกลัวเนื่องจากตนเองก็มีพฤติกรรมกระทำผิด หรือก็คือเกิดจากการสงสารตนเอง สอบสวนแล้วกลัวผู้ใต้บังคับบัญชาย้อนถามว่า ตัวผู้บังคับบัญชาก็กระทำความผิดบางอย่างอยู่เหมือนกันทำไมไม่ถูกสอบสวน !
“ความผิดทางวินัย ไม่มีอายุความ”