สาหร่าย พลังงานใหม่จากโลกใต้น้ำ Algae : a new energy from underwater world
ปัจจุบันทั่วโลกกำลังประสบปัญหากับวิกฤตการณ์ด้านการขาดแคลนพลังงานและปัญาโลกร้อนจากภาวะเรือนกระจกที่ทุกประเทศต้องร่วมกันแก้ไข ที่ผ่านมาการนำพืชอาหารมาใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มน้ำมัน ก่อให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหาร เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงมีการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบทดแทนอื่น ๆ และเราก็พบว่า สาหร่ายเซลล์เดียว ซึ่งจะมีทั้งในน้ำเค็มและน้ำจืด ที่เราเคยเห็นเม็ดเล็ก ๆ เขียว ๆ ในน้ำคลอง ถ้าอยู่ในทะเลก็เรียกว่า แพลงก์ตอน ซึ่งมีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งพลังงานใหม่เพื่อทดแทนพลังงานจากปิโตรเลียมได้ ซึ่งสาหร่ายจัดเป็นพืชชั้นต่ำที่มีคลอโรฟิลล์สูง จึงใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมากเพื่อสังเคราะห์แสง ซึ่งช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง ที่สำคัญคือ มีน้ำมันในปริมาณมากพอที่จะสกัดออกมาผลิตน้ำมันไบโอดีเซลได้ และสาหร่ายใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมง ก็แตกตัวแล้วกินคาร์บอนไดออกไซด์เป็นอาหาร ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการปลูกปาล์มดิบซึ่งใช้เวลานานหลายปี จึงสามารถนำมาทำผลผลิตน้ำมันได้ ทำให้ทั่วโลกกำลังตื่นตัวในการพัฒนาอย่างมาก
ในไทยก็เช่นกัน บริษัท ปตท ในไทยก็เช่นกัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยและพัฒนาการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากสาหร่ายเซลล์เดียว ตั้งแต่ การคัดเลือกสายพันธุ์ การออกแบบระบบเพาะเลี้ยง การสกัดน้ำมัน ซึ่งระหว่างนี้กำลังเข้าสู่การทดสอบเชิงพาณิชย์ว่า วิธีใดจะเหมาะสมกับเครื่องยนต์และความต้องการใช้งานของคนไทยมากที่สุด เมื่อวันที่ 1 – 6 ก.ค. 2556 ที่ผ่านมา บริษัท ปตท. ได้นำคณะไปดูงานความร่วมมือการวิจัยสาหร่ายน้ำมัน ระหว่าง ปตท. กับองค์การวิทยาศาสตร์และวิจัยอุตสาหกรรมแห่งออสเตรเลีย ที่เมืองโฮบาร์ต รัฐทัสมาเนีย ประเทศออสเตรีเลีย นำโดย นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่ง ปตท. และองค์การวิทยาศาสตร์และวิจัยอุตสาหกรรมแห่งออสเตรเลียได้มี การติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยด้านสาหร่ายเรื่อยมา และได้ตกลงในข้อหารือเพื่อเดินหน้าร่วมกันในการพัฒนาสายพันธุ์สาหร่ายน้ำเค็มในออสเตรเลีย เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ดีและเหมาะสมในการผลิตน้ำมัน มีต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งสาหร่ายน้ำเค็มขนาดเล็กดังกล่าว เป็นพืชพลังงานที่ให้ปริมาณน้ำมันมากกว่าปาล์มดิบ 20-30 เท่า การพัฒนาสาหร่ายเซลล์เดียว ถือเป็นเชื้อเพลงในยุคที่ 3 ซึ่ง ปตท. ตั้งเป้าหมายภายในปี 2560 จะผลิตน้ำมันสาหร่ายเพื่อเป็นทางเลือกของการใช้ไบโอดีเซล ซึ่งคาดว่าในอีก 20-30 ปีข้างหน้า จะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 14 กรกฎาคม 2556 ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 14 กรกฎาคม 2556