FTA และผลกระทบต่อภาษีสรรพสามิต
ข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area – FTA) การเจรจาตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ สองประเทศขึ้นไป ตกลงจะขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน พยายามจะลดอุปสรรคทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีให้เหลือน้อย ที่สุด ครอบคลุมทั้งสินค้า บริการ และการลงทุน
แนวคิดและทฤษฎีการค้าเสรี นโยบายการค้าเสรี (Free Trade Policy) มีรากฐานมาจาก The Theory of Comparative Advantage ที่เสนอว่าแต่ละประเทศควรจะเลือกผลิตเฉพาะสินค้าที่ตนมีต้นทุนการผลิตได้เปรียบมากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นั้นไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ประเทศอื่นมีต้นทุนการผลิตได้เปรียบ
นโยบายการค้าเสรี ดำเนินการผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำ ไม่มีการเก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty) ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง มีการเก็บภาษีในอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าของ ทุกประเทศเท่ากัน ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restriction)
หลักในการจัดทำเขตการค้าเสรีของประเทศไทย การให้สิทธิประโยชน์ระหว่างคู่ภาคีส่งผลกระทบต่อประเทศนอกกลุ่ม เกิดแรงกระตุ้นทั้งระบบ ใช้ FTA เป็นวิธีในการ หาเพื่อน - สร้างพันธมิตรด้านเศรษฐกิจและการเมือง หาตลาด - ขยายการค้าและการลงทุนกับภูมิภาคอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกล ประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็กแต่มีระบบเศรษฐกิจที่เปิดเสรีเต็มที่อยู่แล้ว เช่น สิงคโปร์ และชิลี ได้ใช้ยุทธวิธีนี้เสริมสร้างความเข้มแข็งทาง การค้า
ผลของการจัดทำ FTA ผู้ผลิต นำเข้าวัตถุดิบราคาถูก ต้นทุนการผลิตลดลง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผู้ส่งออก ภาษีลดลง เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและส่งออก ผู้นำเข้า นำเข้าวัตถุดิบราคาถูก และสามารถนำเข้าจากหลายแหล่ง ผู้บริโภค ซื้อสินค้าราคาถูกลง และสินค้ามีความหลากหลาย ผลกระทบ ภาคผลิตบางสาขาอาจได้รับผลกระทบบ้าง เช่น ผู้ผลิตที่มีประสิทธิภาพการผลิต/แข่งขันต่ำ ต้องปรับปรุงศักยภาพมาตรฐานการผลิต หรืออาจต้องปรับเปลี่ยนไปสู่สาขาที่มีความพร้อม/ได้เปรียบ
ยุทธศาสตร์ FTA ในอนาคต สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของสินค้าไทย (กลุ่มประเทศตลาดเก่า) เจาะตลาดเพื่อสร้างโอกาสในการส่งออกสินค้าไทย (กลุ่มประเทศตลาดใหม่) สร้างโอกาสให้ไทยเข้าสู่ตลาดที่เป็นเป้าหมายสำคัญ (ประเทศที่เป็น Gateway) เปิดเสรีสาขาบริการที่ไทยมีจุดอ่อน เพื่อนำเข้าองค์ความรู้
Free Trade Agreements FTAs ที่มีผลบังคับใช้แล้ว รวม 6 ฉบับ ASEAN (AFTA) Thai – Australia (TAFTA) Thai – New Zealand (TZNCEP) Thai – Japan (JTEPA) ASEAN – China (ACFTA) Thai - India
Free Trade Agreements FTA ที่มีความตกลงสรุปได้แล้วแต่ยังไม่มีผลบังคับใช้รวม 3 ฉบับ ASEAN – Korea (AKFTA) ASEAN – Japan (AJCEP) ASEAN – Australia – New Zealand (AANZETA)
สินค้าสรรพสามิตที่ได้รับผลกระทบจาก FTA ยาสูบ รถยนต์ สุรา เบียร์
ASEAN (AFTA) ลดอากรให้เหลือร้อยละ 0 สำหรับประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศ (Brunei, Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore and Thailand) ภายในปี ค.ศ. 2010 ลดอากรให้เหลือร้อยละ 0 สำหรับประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ (Vietnam, Laos, Myanmar and Cambodia) ภายในปี ค.ศ. 2015
FTA : ภาษีสรรพสามิต ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2553 ผู้นำเข้าเสียภาษีจาก ราคา C.I.F ของสินค้า + อากรขาเข้า + ภาษีสรรพสามิต + ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ หลังวันที่ 1 มกราคม 2553 ผู้นำเข้าเสียภาษีจาก ราคา C.I.F ของสินค้า + ภาษีสรรพสามิต + ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ผลลัพธ์ รัฐจะเก็บภาษีสรรพสามิตจากฐานราคา C.I.F โดยไม่มีการคิด อากรขาเข้า ซึ่งจะทำให้เก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้านำเข้าน้อยลง
ผลของข้อตกลงที่มีต่อภาษีสรรพสามิต AFTA อากรนำเข้าจากสินค้าสรรพสามิต จะลดลงเป็น 0% ภายในปี ค.ศ. 2010 TAFTA and TNZCEP อากรนำเข้าจากสินค้าสรรพสามิต จดลดลงเป็น 0% ภายในปี ค.ศ. 2010 ยกเว้นไวน์ และสปาร์กกลิ้งไวน์ จะลดลงเป็น 0% ภายในปี ค.ศ. 2013
ผลของข้อตกลงที่มีต่อภาษีสรรพสามิต JTEPa (Thai – Japan) effects : - รถยนต์ เกินกว่า 3,000 C.C จะลดอากรจาก 80% เป็น 60% ภายใน ปี ค.ศ. 2010 ในขณะที่รถยนต์ไม่เกิน 3,000 C.C ยังคงเสียอากรที่ 80% (อยู่ระหว่างการเจรจา) - เบียร์ ไซเดอร์ และวิสกี้ จะลดลงเป็น 0% ในปี ค.ศ. 2012 - สุรา อากรนำเข้าจะลดลงเป็น 0% ในปี ค.ศ. 2017
ผลของข้อตกลงที่มีต่อภาษีสรรพสามิต ACFTA (ASEAN – China) - ยาสูบ เบียร์ และสุรา : อากรจะลดลงเป็น 0% ในปี ค.ศ. 2010 - รถยนต์ : สินค้าอ่อนไหว (Sensitive Tracks) ที่มีอัตราฐานต่ำกว่า 50% จะคงที่อัตรานั้น สำหรับสินค้าอ่อนไหวที่มีอัตราฐานสูงกว่า 50% จะลดลงเหลือร้อยละ 50 ในปี ค.ศ. 2015
การปรับกระบวนทัศน์ สินค้า การดำเนินการ 1. ยาสูบ แก้ไขกฎหมายให้มีอำนาจในการประกาศกำหนด มูลค่ายาสูบนำเข้าได้ เสนอให้มีการจัดเก็บภาษีตามปริมาณ เปลี่ยนแปลงฐานภาษีให้กว้างขึ้น 2. รถยนต์ - ยากที่ผู้บริโภคจะเปลี่ยนพฤติกรรม 3. สุรา และเบียร์ - กรมสรรพสามิตควรจัดเก็บภาษีสุราและเบียร์ตามปริมาณซึ่งจะไม่มีผลกระทบตอภาษีสรรพสามิตในกรณีที่ผู้ประกอบการนำเข้าแสดงราคา C.I.F ต่ำกว่าความเป็นจริง