ความปลอดภัยและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
มาตราการรักษาความปลอดภัย การเข้ารหัสลับ การกำจัดสิทธิ์ในการเข้าถึง การระวังภัยที่เกิดขึ้น การสำรองข้อมูล
มาตราการรักษาความปลอดภัย การเข้ารหัสลับ ข้อมูลถูกส่งออกไปในระบบเครือข่าย มีความเป็นไปได้ที่จะมีการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น อีเมลล์
มาตราการรักษาความปลอดภัย การกำจัดสิทธิ์ในการเข้าถึง ป้องกันระบบคอมพิวเตอร์ไม่ให้คนที่ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงหรือเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ควรมียามเฝ้าหน้าห้องคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจบัตรประจำตัวของผู้ที่เข้าใช้ บางแห่งมีการใช้อุปกรณ์สแกนทางชีวภาพ (biometric scanning)
มาตราการรักษาความปลอดภัย การระวังภัยที่เกิดขึ้น เตรียมตัวสำหรับภัยที่เกิดขึ้นโดยการป้องกันความปลอดภัย มี 2 ด้าน ด้านกายภาพ (physical security) ซึ่งหมายถึง การป้องกันฮาร์ดแวร์จากคนหรือภัยธรรมชาติ ด้านข้อมูล (data security) คือการป้องกันซอฟต์แวร์และข้อมูลจากการดักจับหรือทำลายโดยไม่ได้รับอนุญาต
มาตราการรักษาความปลอดภัย การสำรองข้อมูล เก็บไว้ในสถานที่ปลอดภัย ถ้าสูญหายไปก็สามารถหาใหม่ได้
สุขภาพกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นเครื่องมือที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงาน บางอาชีพที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ สามารถได้รับผลกระทบข้างเคียงด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ผู้คีย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือพนักงานพิมพ์เอกสาร ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนควรจะต้องรู้ถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
สุขภาพทางกาย การนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วยท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานานๆ เช่น เมื่อยสายตา ปวดหัว ปวดคอ และปวดหลัง
เมื่อยสายตาและปวดหัว ดวงตา ควรจะพักสายตาประมาณ 15 นาที ทุกๆ ชั่วโมงหรือสองชั่วโมง หลีกเลี่ยงการใช้จอภาพที่สั่นหรือกระพริบ วางจอภาพให้ไกลจากหน้าต่างหรือแหล่งแสงสว่างที่สะท้อน เลือกใช้จอภาพที่เคลือบสารลดการสะท้อนของแสง วางอุปกรณ์ที่จะใช้งาน เช่น หน้าจอ คีย์บอร์ด แท่นวางเอกสาร ให้อยู่ห่างจากตัวเกิน 20 นิ้ว หมั่นทำความสะอาดฝุ่นที่ติดอยู่บนอุปกรณ์ต่างๆอย่างสม่ำเสมอ
ปวดหลังหรือปวดคอ การทำงานกับจอภาพหรือคีย์บอร์ดที่วางในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้ปวดหลังหรือปวดคอได้ ควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่สามารถปรับระดับได้ เช่น เก้าอี้ที่สามารถปรับความสูงและความเอียงของพนักพิงได้ โต๊ะวางคอมพิวเตอร์ควรที่จะปรับระดับได้ ควรวางจอภาพที่ระดับสายตา หรือต่ำกว่าระดับสายตาเล็กน้อย คีย์บอร์ดควรอยู่บนถาดที่เลื่อนเข้าออกได้ เพิ่มแทนวางเท้าเพื่อลดความล้าของขา
การบาดเจ็บตึงเครียดจากการทำซ้ำๆ(Repetitive Strain Injury:RSI) เคาะคีย์บอร์ดหรือการคลิกเมาส์บ่อยๆ และเร็วๆ หรือการเกร็งข้อมือ ส่งผลให้เกิดอาการโพรงกระดูกอักเสบ
สุขภาพด้านจิตใจ เสียงรบกวน(Noise) เช่น เครื่องพิมพ์บางชนิด เสียงจากพัดลมระบายความร้อนภายในคอมพิวเตอร์ การติดตามแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น นับจำนวนการรับสายของพนักงานลูกค้าสัมพันธ์ ความเครียดจากเทคโนโลยี (technostress) หมายถึง ความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ หรือเป็นความเครียดที่เกิดเมื่อต้องปรับตัวเข้าหาคอมพิวเตอร์