งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
ระดับเทคนิคขั้นสูง

2 การสำรวจทางด้านการยศาสตร์
(ฎ) การสำรวจทางด้านการยศาสตร์

3 การสำรวจสภาพการทำงาน
1. การจัดเก็บและยกขนย้ายวัสดุสิ่งของ จำนวน 21 ข้อ 2. เครื่องมือ จำนวน 15 ข้อ 3. เครื่องจักรที่ปลอดภัย เพื่อการเพิ่มของผลผลิต จำนวน 20 ข้อ 4. การปรับปรุงการออกแบบสถานีงาน จำนวน 15 ข้อ 5. แสงสว่าง จำนวน 10 ข้อ 6. อาคารสถานที่ จำนวน 6 ข้อ 7. อันตรายจากสิ่งแวดล้อม จำนวน 6 ข้อ 8. สวัสดิการ จำนวน 5 ข้อ 9. อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล จำนวน 9 ข้อ 10. การจัดรูปงาน จำนวน 21 ข้อ

4 1. การจัดเก็บและยกขนย้ายวัสดุสิ่งของ จำนวน 21 ข้อ
ให้เส้นทางขนย้ายวัสดุสิ่งของโล่งเตียน และมีการทาสีตีเส้น ให้ทางเดินและทางสัญจร มีความกว้างมากพอสำหรับการขนย้ายแบบสวนทาง จัดทำพื้นผิวของทางขนย้ายให้ราบเรียบ ไม่ลื่น และไม่มีสิ่งกีดขวาง ควรจัดให้มีทางลาดเอียงที่มีความชันไม่เกิน 5-8% แทนบันไดเล็กๆ หรือพื้นซึ่งมีความสูงต่างระดับ ภายในสถานที่ทำงาน ปรับปรุงผังบริเวณที่ทำงาน เพื่อลดการเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของ

5 1. การจัดเก็บและยกขนย้ายวัสดุสิ่งของ จำนวน 21 ข้อ
ใช้รถเข็น รถลาก สายพานลูกกลิ้ง หรืออุปกรณ์ ที่มีล้ออื่นๆ เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของ ใช้ชั้นจัดเก็บวัสดุสิ่งของแบบเคลื่อนที่ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการยกขึ้น-ลงโดยไม่จำเป็น ใช้ชั้นวางหรือที่จัดเก็บที่มีหลายชั้นวางไว้ใกล้บริเวณที่ ทำงานเพื่อลดการยกขนย้ายวัสดุสิ่งของด้วยแรงคน ใช้อุปกรณ์เครื่องกล เพื่อช่วยยกวัสดุสิ่งของขึ้น-ลง และเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ลดการยกขนย้ายวัสดุสิ่งของด้วยแรงคน โดยการใช้สายพาน รอก และอุปกรณ์เครื่องกลต่างๆ เพื่อช่วยในการ ขนย้าย

6 1. การจัดเก็บและยกขนย้ายวัสดุสิ่งของ จำนวน 21 ข้อ
แทนที่จะยกถือวัสดุสิ่งของที่หนักในครั้งเดียว ควรจัดแบ่งบรรจุในหีบห่อ ภาชนะ หรือถาดขนาดเล็กเพื่อให้มีน้ำหนัก น้อยลง จัดให้มีที่จับถือ ด้ามจับ หรือจุดที่จับถือที่ดี สำหรับทุกหีบห่อและภาชนะ ขจัดหรือลดความสูงต่างระดับ เมื่อต้องขนย้ายวัสดุสิ่งของด้วยแรงคน ป้อนและเคลื่อนย้ายวัสดุที่หนักในแนวราบด้วยการผลักและดึง แทนการยกขึ้น - ลง ขจัดการทำงานที่ต้องก้มหลัง หรือบิดเอี้ยวตัวในขณะที่ยกขนย้าย วัสดุสิ่งของ

7 1. การจัดเก็บและยกขนย้ายวัสดุสิ่งของ จำนวน 21 ข้อ
ให้ยกถือวัสดุสิ่งของใกล้ลำตัว ให้ยกวัสดุสิ่งของขึ้นและลงช้าๆ ทางด้านหน้าของลำตัว โดยไม่ ต้องบิดเอี้ยวตัวหรือก้มหลังมาก เมื่อต้องยกถือวัสดุสิ่งของไปในระยะทางที่ค่อนข้างไกลควร กระจายน้ำหนักไปบนไหล่ให้เท่าๆ กัน เพื่อความสมดุลและทำได้ ง่ายขึ้น ให้รวมการทำงานที่ต้องออกแรงมากสลับกับการทำงานงานเบาที่ ออกแรงน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บและความ เหนื่อยล้าและ เพิ่มประสิทธิภาพ จัดให้มีสถานที่ซึ่งสะดวกสำหรับวางภาชนะใส่ของทิ้ง จัดทำเครื่องหมายเส้นทางหนีไฟ และดูแลให้ปราศจากสิ่งกีด ขวาง

8 2. การใช้เครื่องมือ จำนวน 15 ข้อ
ใช้เครื่องมือที่ออกแบบเป็นพิเศษ สำหรับงานที่ต้องทำซ้ำบ่อยๆ จัดให้มีเครื่องมือไฟฟ้าที่ปลอดภัย และแน่ใจว่ามีการ์ดป้องกันเพื่อความปลอดภัย ใช้เครื่องมือชนิดแขวนสำหรับเครื่องมือที่ใช้บ่อยๆ และในสถานที่เดิมซ้ำๆ ใช้ที่หนีบ ปากกา และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อจับยึดวัสดุหรือชิ้นงาน

9 2. การใช้เครื่องมือ จำนวน 15 ข้อ
จัดให้มีที่รองรับพยุงแขน เมื่อใช้เครื่องมือทำงานที่ละเอียดซึ่งต้องการความแม่นยำ ลดน้ำหนักของเครื่องมือที่ใช้งาน (ยกเว้นเครื่องมือที่ใช้ทุบหรือตี) เลือกเครื่องมือที่สามารถใช้งานได้โดยออกแรงน้อย จัดให้เครื่องมือมีด้ามจับที่มีความหนา ความยาว และรูปทรงเหมาะสมต่อการจัดถือ จัดให้เครื่องมือมีด้ามจับที่มีความฝืดเหมาะสม หรือมีการ์ด หรือสันหยุด เพื่อป้องกันการลื่นและบาดเจ็บ

10 2. การใช้เครื่องมือ จำนวน 15 ข้อ
จัดให้เครื่องมือมีฉนวนหุ้มที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการไหม้ หรือไฟฟ้าช้อต ลดแรงสั่นสะเทือนและเสียงดังของเครื่องมือ จัดทำ “บ้าน” ให้กับเครื่องมือแต่ละชนิด ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องมืออย่างสม่ำเสมอ ฝึกอบรมพนักงานก่อนอนุญาตให้ใช้เครื่องมือไฟฟ้า จัดให้มีเนื้อที่ว่างอย่างเพียงพอและที่ยืนอย่างมั่นคงสำหรับงานที่ใช้เครื่องมือไฟฟ้า

11 3. เครื่องจักรที่ปลอดภัย เพื่อการเพิ่มของผลผลิต จำนวน 20 ข้อ
ป้องกันมิให้มีการกดปุ่มอุปกรณ์ควบคุมโดยไม่ได้ตั้งใจ สวิตช์ฉุกเฉินต้องอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจน และสามารถเข้าถึงได้จากตำแหน่งปฏิบัติงานปกติของพนักงาน จัดอุปกรณ์ควบคุมแต่ละอันให้ง่ายต่อการแยกแยะ จงแน่ใจว่า พนักงานสามารถมองเห็นและเอื้อมถึงแผงควบคุม ทั้งหมดได้โดยสะดวก จัดตำแหน่งอุปกรณ์ควบคุมตามลำดับการใช้งาน

12 3. เครื่องจักรที่ปลอดภัย เพื่อการเพิ่มของผลผลิต จำนวน 20 ข้อ
ให้การเคลื่อนของอุปกรณ์ควบคุม เป็นไปตามความคาดคิดตามหลักธรรมชาติ จำกัดจำนวนของคันบังคับด้วยเท้า และให้ง่ายต่อการใช้งาน ให้หน้าปัดจอแสดงภาพและสัญญาณง่ายต่อการอ่านและแยกแยะ ใช้เครื่องหมายหรือสีบนหน้าปัดจอแสดงภาพ เพื่อให้พนักงาน เข้าใจว่าจะต้องทำอะไร

13 3. เครื่องจักรที่ปลอดภัย เพื่อการเพิ่มของผลผลิต จำนวน 20 ข้อ
ย้ายหรือปิดคลุมหน้าปัดจอแสดงภาพที่ไม่ได้ใช้งาน ใช้สัญลักษณ์เฉพาะที่คนกลุ่มนั้นๆ เข้าใจได้ง่าย ป้ายและสัญลักษณ์ควรง่ายต่อการมองเห็น การอ่าน และการทำความเข้าใจ ใช้เครื่องหมายเตือน ที่พนักงานเข้าใจได้ง่ายและถูกต้อง ใช้อุปกรณ์นำร่องและอุปกรณ์จับยึดช่วยในการจับยึดชิ้นงาน เพื่อ ทำให้การทำงานของเครื่องจักรสม่ำเสมอ ปลอดภัย และมี ประสิทธิภาพ

14 3. เครื่องจักรที่ปลอดภัย เพื่อการเพิ่มของผลผลิต จำนวน 20 ข้อ
จัดซื้อเครื่องจักรที่มีความปลอดภัยต่อการใช้งาน ใช้อุปกรณ์ป้อนและปลดชิ้นงานเพื่อกันมือออกจากส่วนของเครื่องจักรที่เป็นอันตราย ติดตั้งครอบป้องกันชนิดติดตั้งอยู่กับที่ หรือเครื่องกั้นอย่างให้กับอุปกรณ์ที่เคลื่อนไหวของเครื่องจักร เพื่อป้องกันการสัมผัสกับส่วน นั้น ใช้ที่กั้นแบบอินเตอร์ล็อค เพื่อให้พนักงานไม่สามารถเอื้อมถึงจุดที่ เป็นอันตรายเมื่อเครื่องจักรกำลังทำงาน ทำการตรวจสอบ ทำความสะอาด และบำรุงรักษาเครื่องจักร รวมทั้งสายไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ ฝึกอบรมพนักงานในเรื่องการทำงานที่ปลอดภัยและมี ประสิทธิภาพ

15 4. การปรับปรุงการออกแบบสถานีงาน จำนวน 15 ข้อ
ปรับความสูงของโต๊ะทำงานให้กับพนักงานแต่ละคน โดยให้มีความสูงที่ระดับข้อศอกหรือต่ำกว่าข้อศอกเล็กน้อย ให้แน่ใจว่าพนักงานที่มีรูปร่างเล็ก สามารถเข้าถึงแผงควบคุมและวัสดุสิ่งของในลักษณะท่าทางของร่างกายเป็นธรรมชาติ ให้แน่ใจว่าพนักงานที่มีรูปร่างใหญ่ที่สุดมีที่ว่างพอสำหรับการเคลื่อนไหวขาและลำตัว

16 4. การปรับปรุงการออกแบบสถานีงาน จำนวน 15 ข้อ
จัดวางวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้งานบ่อยๆ ให้อยู่ในระยะที่เอื้อมถึงได้ง่าย จัดให้มีพื้นที่หน้างานเอนกประสงค์ ที่มั่นคงแข็งแรงในสถานีงานแต่ละแห่ง จัดเตรียมสถานที่ให้พนักงานนั่งทำงานสำหรับงานที่ต้องการความถูกต้องแม่นยำ หรืองานตรวจสอบรายละเอียดของชิ้นงาน และสถานที่ให้พนักงานยืนทำงานสำหรับงานที่พนักงานเคลื่อนไหวบ่อยและงานที่ต้องออกแรงมาก

17 4. การปรับปรุงการออกแบบสถานีงาน จำนวน 15 ข้อ
จงแน่ใจว่า พนักงานสามารถยืนทำงานได้ด้วยอิริยาบถท่าทางที่เป็นธรรมชาติ โดยให้น้ำหนักลงที่เท้าทั้งสองข้าง และให้งานที่ทำอยู่ทางด้านหน้าและใกล้ลำตัว ควรให้พนักงานสามารถยืนและนั่งทำงานสลับกัน ให้มากที่สุด จัดเตรียมเก้าอี้หรือที่นั่ง เพื่อให้พนักงานที่ยืนทำงานได้มีโอกาสได้ นั่งบ้างในบางครั้ง

18 4. การปรับปรุงการออกแบบสถานีงาน จำนวน 15 ข้อ
จัดเตรียมเก้าอี้ที่สามารถปรับระดับได้และมีพนักพิงหลังสำหรับพนักงานที่นั่งทำงาน จัดให้มีพื้นหน้างานที่ปรับระดับได้ เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้กับชิ้นงานไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ให้สถานีงานที่มีการใช้จอภาพและแป้นพิมพ์ที่สามารถปรับระดับได้ เช่น งานคอมพิวเตอร์

19 4. การปรับปรุงการออกแบบสถานีงาน จำนวน 15 ข้อ
จัดให้มีการตรวจวัดสายตา และมีการใช้แว่นตาที่เหมาะสมสำหรับพนักงานที่ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ จัดให้มีการฝึกอบรมที่ทันสมัยเป็นปัจจุบันให้แก่พนักงานที่ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการออกแบบปรับปรุงสถานีงาน ของตนเอง

20 5. แสงสว่าง จำนวน 10 ข้อ เพิ่มการใช้แสงสว่างจากธรรมชาติ
ทาสีผนังและเพดานด้วยสีอ่อน เมื่อต้องการเพิ่มความสว่างให้มาก ขึ้น จัดให้มีแสงสว่างบริเวณเฉลียง บันได ทางลาดและบริเวณอื่นๆ ที่ อาจมีพนักงาน จัดให้บริเวณสถานที่ทำงาน มีแสงสว่างกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วถึง

21 5. แสงสว่าง จำนวน 10 ข้อ จัดแสงสว่างให้มีอย่างเพียงพอเพื่อให้พนักงานสามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบายตลอด เวลาการทำงาน จัดให้มีดวงไฟเฉพาะจุดสำหรับงานที่ละเอียด หรืองานที่มีการตรวจสอบ เปลี่ยนตำแหน่งของแหล่งกำเนิดแสงหรือจัดให้มีที่ครอบเพื่อขจัด แสงจ้าโดยตรง

22 5. แสงสว่าง จำนวน 10 ข้อ เคลื่อนย้ายพื้นผิวที่เป็นมันวาวออกจากลานสายตาของ พนักงานเพื่อขจัดแสงจ้าทางอ้อม เลือกใช้ฉากหลังหรือแบคกราวด์ที่เหมาะสมสำหรับการ ปฏิบัติงานที่ตั้งใจใช้สมาธิทำงานและทำต่อเนื่อง ทำความสะอาดหน้าต่างและบำรุงรักษาแหล่งกำเนิดแสง

23 6. อาคารสถานที่ จำนวน 6 ข้อ
ปกป้องคุ้มครองพนักงานจากความร้อนที่มากเกินควร ปกป้องสถานที่ทำงานจากความร้อนหรือความเย็นที่มากเกินควร จากภายนอก แยกหรือใช้ฉนวนหุ้มแหล่งกำเนิดความร้อน หรือความเย็น ติดตั้งระบบระบายอากาศเฉพาะที่ ที่มีประสิทธิผล เพื่อให้ทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย เพิ่มการใช้ระบบระบายอากาศแบบธรรมชาติ เมื่อต้องการ ปรับปรุงสภาพอากาศภายในอาคาร ปรับปรุงและบำรุงรักษาระบบระบายอากาศ เพื่อให้แน่ใจว่า อากาศภายในสถานที่ทำงานมีคุณภาพดี

24 7. อันตรายจากสิ่งแวดล้อม จำนวน 6 ข้อ
แยกและปิดคลุมเครื่องจักร หรือส่วนของเครื่องจักรที่มีเสียงดัง บำรุงรักษาเครื่องมือและเครื่องจักรเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อลดความดังของเสียง จงแน่ใจว่าเสียงที่ดังจะไม่รบกวนการสื่อสาร ความปลอดภัย และประสิทธิภาพการทำงาน

25 7. อันตรายจากสิ่งแวดล้อม จำนวน 6 ข้อ
ลดความสั่นสะเทือนที่จะมีผลกระทบต่อพนักงาน เพื่อการปรับปรุงให้เกิดความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เลือกใช้ตะเกียงหรือโคมไฟฟ้ามือถือที่มีฉนวนหุ้มป้องกันไฟฟ้ารั่วและความร้อนเป็นอย่างดี จงแน่ใจว่า มีการต่อสายไฟของอุปกรณ์เครื่องมือและหลอดไฟอย่างปลอดภัย

26 8. สวัสดิการ จำนวน 5 ข้อ จัดให้มีและบำรุงรักษาให้ดีซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่องการเปลี่ยนเสื้อผ้า การชำระล้าง และการสุขาภิบาล เพื่อให้มั่นใจว่ามีสุขลักษณะที่ดีและเป็นระเบียบเรียบร้อย จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่องน้ำดื่ม สถานที่รับประทานอาหาร และห้องพักผ่อน เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติงานที่ดีและมีความสุขสบาย ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการในเรื่องสวัสดิการให้กับพนักงานทุกคน จัดให้มีสถานที่สำหรับพนักงานได้ประชุมหารือและฝึกอบรม กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำความสะอาดและดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยในแต่ละวัน

27 9. อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล จำนวน 9 ข้อ
จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองปลอดภัยส่วนบุคคล ที่ป้องกันอันตรายได้อย่างเพียงพอ เลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่สวมใส่กระชับและบำรุงรักษาได้ง่ายเมื่อ ไม่สามารถขจัดความเสี่ยงต่ออันตรายได้ด้วยวิธีการอื่นใด

28 9. อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล จำนวน 9 ข้อ
จงแน่ใจว่า มีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยได้รับการแนะนำ การทดลองใช้ และการฝึกอบรมที่ถูกต้องเหมาะสม ปกป้องพนักงานจากการเสี่ยงต่ออันตรายของสารเคมี เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จงแน่ใจว่า พนักงานที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้มีการใช้ทุกคน

29 9. อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล จำนวน 9 ข้อ
จงแน่ใจว่า อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เป็นที่ยอมรับของพนักงาน จัดให้มีการสนับสนุนการทำความสะอาด และการบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเป็นประจำสม่ำเสมอ จัดให้มีที่สำหรับจัดเก็บอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสม มีป้ายแสดงไว้อย่างชัดเจน ในบริเวณที่ต้องมีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

30 10. การจัดรูปงาน จำนวน 21 ข้อ
ให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการวางแผนในงานที่ทำประจำวัน ให้หารือกับพนักงาน ในการปรับปรุงการจัดช่วงเวลาการทำงาน แก้ไขปัญหาการทำงาน โดยให้พนักงานได้มีส่วนร่วมกลุ่มหารือด้วย ให้หารือกับพนักงานเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผลผลิตและเมื่อมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุง เพื่อให้งานมีความปลอดภัยมากขึ้น มีการทำงานที่ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

31 10. การจัดรูปงาน จำนวน 21 ข้อ
ให้รางวัลจูงใจพนักงานที่มีส่วนช่วยในการปรับปรุงสถานที่ทำงานและเพิ่มผลผลิต แจ้งให้พนักงานได้ทราบเป็นประจำเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของ เขา ฝึกอบรมพนักงาน ให้มีความรับผิดชอบและวิธีการในการ ดำเนินการปรับปรุงงานของตน

32 10. การจัดรูปงาน จำนวน 21 ข้อ
ให้พนักงานได้มีโอกาสสนทนาพูดคุยกันในสถานที่ทำงาน และสนับสนุนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้พนักงานได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ จัดตั้งกลุ่มทำงาน โดยให้แต่ละกลุ่มช่วยกันทำงานและรับผิดชอบผลงานของกลุ่ม ปรับปรุงงานที่ยากและพนักงานไม่อยากทำ เพื่อให้มีการเพิ่มผลผลิตในระยะยาว

33 10. การจัดรูปงาน จำนวน 21 ข้อ
รวมงานหลายอย่างเข้าด้วยกัน เพื่อให้งานมีความน่าสนใจและความหลากหลายมากขึ้น ให้มีสต๊อกสำรองชิ้นงานที่ผลิตเผื่อไว้เล็กน้อย ในระหว่างสถานีงานต่างๆ ให้รวมการทำงานกับคอมพิวเตอร์กับงานอื่น เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดความเมื่อยล้า จัดให้มีช่วงพักสั้นๆ และบ่อยครั้ง ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องทำนานอย่างต่อเนื่อง

34 10. การจัดรูปงาน จำนวน 21 ข้อ
พิจารณาทักษะความชำนาญ และความถนัดของพนักงานในการมอบหมายงานให้ ปรับอุปกรณ์และเครื่องมือให้เหมาะสมกับพนักงานที่พิการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ให้ความสนใจต่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของพนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์

35 10. การจัดรูปงาน จำนวน 21 ข้อ
พิจารณาทักษะความชำนาญ และความถนัดของพนักงานในการมอบหมายงานให้ ปรับอุปกรณ์และเครื่องมือให้เหมาะสมกับพนักงานที่พิการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ให้ความสนใจต่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของพนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์

36 การวิเคราะห์ลักษณะงานและการประยุกต์ใช้ความรู้ทางการยศาสตร์เพื่อปรับปรุงสภาพ การทำงาน
ในแต่ละข้อของจุดตรวจสอบ จะประกอบด้วยคำอธิบายภายใต้ 4 หัวข้อย่อย ได้แก่ “ทำไม” “อย่างไร” “ข้อเสนอแนะ” และ “ข้อควรจำ” ซึ่งในที่นี้ จะให้ยกตัวอย่างจุดตรวจสอบข้อ 40 เพียง 1 ข้อเท่านั้น

37 จุดตรวจสอบข้อ 40: จงแน่ใจว่า พนักงานสามารถมองเห็นและเอื้อมถึงแผงควบคุมทั้งหมดได้โดยสะดวก
ทำไม สิ่งของทุกอย่างที่ต้องใช้มือหยิบจับ ต้องจัดวางไว้ในตำแหน่งที่ เหมาะสม บางครั้งพนักงานจะเป็นผู้จัดวางเอง   ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน

38 จุดตรวจสอบข้อ 40: จงแน่ใจว่า พนักงานสามารถมองเห็นและเอื้อมถึงแผงควบคุมทั้งหมดได้โดยสะดวก
อย่างไร ติดตั้งแผงควบคุมที่สำคัญที่สุดไว้ตรงหน้าพนักงานเพื่อให้การ ควบคุมสามารถทำได้โดยรอบที่ความสูงระดับข้อศอกโดยไม่ต้อง ก้มหรือบิดตัว แผงควบคุมที่มีความสำคัญรองลงมา อาจติดตั้งไว้ต่อจากแผง ควบคุมที่มีความสำคัญมากที่สุด แต่จะต้องเอื้อมถึงได้โดยง่าย

39 จุดตรวจสอบข้อ 40: จงแน่ใจว่า พนักงานสามารถมองเห็นและเอื้อมถึงแผงควบคุมทั้งหมดได้โดยสะดวก
อย่างไร ถ้าตำแหน่งที่ควบคุมอยู่สูงเกินไป ให้ใช้แท่นเสริมความสูง แต่ถ้า ต่ำเกินไป ให้จัดตำแหน่งใหม่ให้ที่ควบคุมอยู่สูงขึ้น หรือเสริมพื้น ใต้เครื่องจักรหรือโต๊ะทำงานให้สูงขึ้น เมื่อมีการนำสถานีงานใหม่หรือเครื่องจักรใหม่มาใช้ จะต้อง พิจารณาที่มีขนาดเหมาะสมกับพนักงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถ ปรับระดับความสูงได้

40 จุดตรวจสอบข้อ 40: จงแน่ใจว่า พนักงานสามารถมองเห็นและเอื้อมถึงแผงควบคุมทั้งหมดได้โดยสะดวก
ข้อเสนอแนะ แบ่งพื้นที่ของระยะเคลื่อนไหวของมือออกเป็นสองช่วง ระยะใกล้ตัว (ระหว่าง 15 ถึง 40 เซนติเมตรจากด้านหน้าของ ลำตัว และอยู่ในระยะ 40 เซนติเมตรจากด้านข้างของลำตัวที่ ความสูงระดับข้อศอก) ระยะเอื้อม (ระยะใกล้ตัวแต่ไม่เกิน 60 เซนติเมตรจากด้านข้าง ของลำตัวที่ความสูงระดับข้อศอก

41 จุดตรวจสอบข้อ 40: จงแน่ใจว่า พนักงานสามารถมองเห็นและเอื้อมถึงแผงควบคุมทั้งหมดได้โดยสะดวก
ข้อเสนอแนะ ตรวจสอบดูว่าแผงควบคุมต่างๆ ได้มีการจัดวางอยู่ในตำแหน่งที่ สัมพันธ์เป็นอย่างดีกับสิ่งของอื่นๆ ต้องพยายามจัดผังตำแหน่งการ วางสิ่งต่างๆ จากความคิดเห็นของพนักงานที่มีประสบการณ์ ทั้งหลาย พื้นของโต๊ะทำงาน อาจแบ่งออกเป็นพื้นที่ของงานย่อย ซึ่งมีการ ปฏิบัติงานเรียงตามลำดับ

42 จุดตรวจสอบข้อ 40: จงแน่ใจว่า พนักงานสามารถมองเห็นและเอื้อมถึงแผงควบคุมทั้งหมดได้โดยสะดวก
ข้อควรจำ การจัดการสถานีงานที่ดี จะช่วยให้ประหยัดเวลาและการเพิ่มผลิตภาพ ดังนั้น การจัดตำแหน่งแผงควบคุมตามลำดับความสำคัญ จะช่วยในการจัดการสถานีงานได้เป็นอย่างดี

43 จุดตรวจสอบข้อ 40: จงแน่ใจว่า พนักงานสามารถมองเห็นและเอื้อมถึงแผงควบคุมทั้งหมดได้โดยสะดวก
ภาพที่ 40 ก ควรแน่ใจว่า พนักงานสามารถสัมผัสแผงควบคุมได้สะดวก ไม่ว่าจะอยู่ในท่ายืนหรือนั่งทำงาน

44 จุดตรวจสอบข้อ 40: จงแน่ใจว่า พนักงานสามารถมองเห็นและเอื้อมถึงแผงควบคุมทั้งหมดได้โดยสะดวก
ภาพที่ 40 ข แผงควบคุมทุกอัน ต้องอยู่ในระยะที่พนักงานเอื้อมถึงและ มองเห็นได้ง่าย

45 นอกจากนี้ ได้สรุปเนื้อหาเฉพาะจุดตรวจสอบบางข้อเท่านั้น ดังนี้
การจัดเก็บและยกขนย้ายวัสดุสิ่งของ ข้อ 6 และข้อ (จำนวน 10 ข้อ) เครื่องมือ ข้อ 26 – 28 (จำนวน 3 ข้อ) การปรับปรุงการออกแบบสถานีงาน ข้อ (จำนวน 11 ข้อ) เครื่องจักรที่ปลอดภัย เพื่อการเพิ่มของผลผลิต ข้อ 50 (จำนวน 1 ข้อ) อาคารสถานที่ ข้อ 76 และข้อ 82 (จำนวน 2 ข้อ) การจัดรูปงาน ข้อ 109 และข้อ (จำนวน 2 ข้อ)

46 จุดตรวจสอบข้อ 6: ใช้รถเข็น รถลาก และอุปกรณ์ที่มีล้ออื่นๆ หรือสายพานลูกกลิ้ง เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของ ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ลดจำนวนครั้งในการเคลื่อนย้าย เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ควรเลือกอุปกรณ์มีล้อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ควรใช้ล้อยางเพื่อลดเสียงดัง ควรให้เส้นทางขนย้ายปราศจากสิ่งกีดขวางใดๆ ตลอดเวลา ติดตั้งสายพานลูกกลิ้ง

47 จุดตรวจสอบข้อ 6: ใช้รถเข็น รถลาก และอุปกรณ์ที่มีล้ออื่นๆ หรือสายพานลูกกลิ้ง เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของ (i) รถเข็นสำหรับขนกระสอบ (ii) รถเข็นระดับต่ำ เป็นอุปกรณ์ที่ปลอดภัยและใช้ง่าย เพื่อใช้ขนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักมากในระยะทางใกล้ๆ และในระดับต่ำ

48 จุดตรวจสอบข้อ 6: ใช้รถเข็น รถลาก และอุปกรณ์ที่มีล้ออื่นๆ หรือสายพานลูกกลิ้ง เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของ รถลากขนาดเล็ก จะช่วยให้สามารถลากท่อนโลหะที่หนัก

49 จุดตรวจสอบข้อ 6: ใช้รถเข็น รถลาก และอุปกรณ์ที่มีล้ออื่นๆ หรือสายพานลูกกลิ้ง เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของ สายพานสำหรับลำเลียงของที่มีน้ำหนักมากในระดับความสูงของการทำงาน

50 จุดตรวจสอบข้อ 9: ใช้อุปกรณ์เครื่องกล เพื่อช่วยยกวัสดุสิ่งของขึ้น-ลง และเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ภาพที่ 9 ก รถเข็นระดับต่ำ (ตะเข้) เพื่อขนย้าย สามารถขนย้ายสิ่งของที่มี น้ำหนักมากๆ ได้ในระยะสั้นๆ และในระดับต่ำ

51 จุดตรวจสอบข้อ 9: ใช้อุปกรณ์เครื่องกล เพื่อช่วยยกวัสดุสิ่งของขึ้น-ลง และเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ภาพที่ 9 ข อุปกรณ์ยกของแบบมือหมุนที่ใช้เพื่อยกชิ้นเหล็กหล่อที่หนัก มากขึ้นสู่ระดับการทำงาน

52 จุดตรวจสอบข้อ 9: ใช้อุปกรณ์เครื่องกล เพื่อช่วยยกวัสดุสิ่งของขึ้น-ลง และเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ภาพที่ 9 ค รถเข็นชนิดปั้นจั้นไฮดรอลิคที่มีแขนปรับระยะได้ น้ำหนักยก

53 จุดตรวจสอบข้อ 9: ใช้อุปกรณ์เครื่องกล เพื่อช่วยยกวัสดุสิ่งของขึ้น-ลง และเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ภาพที่ 9 ง จงมั่นใจว่าได้มีการเขียนระบุสูงสุดที่ปลอดภัยไว้

54 จุดตรวจสอบข้อ 10: ลดการขนย้ายวัสดุสิ่งของด้วยแรงคน โดยการใช้สายพาน รอก และอุปกรณ์เครื่องกลต่างๆ เพื่อช่วยในการขนย้าย วัสดุที่เบา อาจใช้วิธีการเคลื่อนไหลโดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก วัสดุที่หนักก็อาจใช้สายพานลูกกลิ้งที่ลาดเอียง ฝึกอบรมพนักงานให้ทราบถึงวิธีการใช้อุปกรณ์เครื่องกลในการขน ย้ายเพื่อให้เคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของได้อย่างปลอดภัย มีพื้นที่เพียงพอเพื่อการยกขนย้ายได้อย่างปลอดภัย

55 จุดตรวจสอบข้อ 10: ลดการขนย้ายวัสดุสิ่งของด้วยแรงคน โดยการใช้สายพาน รอก และอุปกรณ์เครื่องกลต่างๆ เพื่อช่วยในการขนย้าย การขนย้ายวัสดุสิ่งของโดยใช้เครื่องจักรกล สามารถลดการยกด้วยแรงคนและปรับปรุงระดับความสูงของงานและท่าทางการทำงาน

56 จุดตรวจสอบข้อ 10: ลดการขนย้ายวัสดุสิ่งของด้วยแรงคน โดยการใช้สายพาน รอก และอุปกรณ์เครื่องกลต่างๆ เพื่อช่วยในการขนย้าย รอกกระเดื่อง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่ายและใช้ได้หลายรูปแบบ รอกโซ่ เป็นอุปกรณ์ ที่มีเบรกในตัว รอกโซ่ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ ที่มีสวิทช์ควบคุม

57 จุดตรวจสอบข้อ 10: ลดการขนย้ายวัสดุสิ่งของด้วยแรงคน โดยการใช้สายพาน รอก และอุปกรณ์เครื่องกลต่างๆ เพื่อช่วยในการขนย้าย ใช้สายพานเคลื่อนวัสดุในระดับความสูงของการทำงาน

58 ใช้สายพานเคลื่อนวัสดุในระดับความสูงของการทำงาน
จุดตรวจสอบข้อ 11: แทนที่จะยกถือวัสดุสิ่งของที่หนัก ควรจัดแบ่งวัสดุให้มีขนาดเล็กลงโดยบรรจุในกล่อง ภาชนะ หรือถาด เพื่อให้มีน้ำหนักน้อยลง ใช้สายพานเคลื่อนวัสดุในระดับความสูงของการทำงาน

59 จุดตรวจสอบข้อ 11: แทนที่จะยกถือวัสดุสิ่งของที่หนัก ควรจัดแบ่งวัสดุให้มีขนาดเล็กลงโดยบรรจุในกล่อง ภาชนะ หรือถาด เพื่อให้มีน้ำหนักน้อยลง หากเป็นไปได้ ควรจัดแบ่งสิ่งของให้มีขนาดเล็กลง

60 จุดตรวจสอบข้อ 12: จัดให้มีที่จับถือ ที่จับ หรือจุดในการจับถือที่ดีสำหรับกล่องและภาชนะทุกชิ้น
ช่วยลดการใช้กำลังของกล้ามเนื้อในการจับถือวัสดุสิ่งของ สิ่งของมีโอกาสตกหล่นน้อยลง ช่วยป้องกันมิให้วัสดุเสียหาย ช่วยให้มองเห็นทางข้างหน้าได้อย่างชัดเจนด้วย การเจาะรูที่กล่อง ถาด หรือภาชนะเป็นที่จับ ออกแบบให้อยู่ตำแหน่งที่จุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วง ข้อมืออยู่ในตำแหน่งที่ตรงและสบาย ออกแบบภาชนะเพื่อให้สามารถยกขนย้ายด้วยแรงคนได้ง่าย

61 จุดตรวจสอบข้อ 12: จัดให้มีที่จับถือ ที่จับ หรือจุดในการจับถือที่ดีสำหรับกล่องและภาชนะทุกชิ้น
ควรเจาะรูที่จับถือเพื่อให้ถือภาชนะบรรจุสิ่งของโดยการงอนิ้วมือ ซึ่งจะช่วยลดการออกแรงในการถือภาชนะ

62 จุดตรวจสอบข้อ 12: จัดให้มีที่จับถือ ที่จับ หรือจุดในการจับถือที่ดีสำหรับกล่องและภาชนะทุกชิ้น
ที่จับถือที่เจาะรูให้สอดนิ้วเข้าไปได้ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก โดยจะทำให้สามารถถือกล่องหรือภาชนะทางด้านหน้าของลำตัว

63 จุดตรวจสอบข้อ 13: ขจัดหรือลดความสูงต่างระดับ เมื่อต้องขนย้ายวัสดุสิ่งของด้วยแรงคน
การยกขนย้ายอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้งานราบรื่น ออกแบบสถานที่ทำงานเพื่อลดความสูงต่างระดับของพื้นผิว ให้มีการยกขนย้ายในระดับความสูงของการทำงาน จัดทำยกพื้นสำหรับวางวัสดุสิ่งของเพื่อลดระดับความสูงที่แตกต่าง ใช้อุปกรณ์เครื่องกลช่วยยกขนย้าย

64 จุดตรวจสอบข้อ 13: ขจัดหรือลดความสูงต่างระดับ เมื่อต้องขนย้ายวัสดุสิ่งของด้วยแรงคน
ภาพที่ 13 ก ขจัดความสูงต่างระดับของพื้นผิวการทำงาน

65 จุดตรวจสอบข้อ 13: ขจัดหรือลดความสูงต่างระดับ เมื่อต้องขนย้ายวัสดุสิ่งของด้วยแรงคน
ภาพที่ 13 ข (i) และ (ii) ขจัดหรือลดความสูงต่างระดับ

66 จุดตรวจสอบข้อ 13: ขจัดหรือลดความสูงต่างระดับ เมื่อต้องขนย้ายวัสดุสิ่งของด้วยแรงคน
ภาพที่ 13 ข (iii) และ (iv) ลดการยกสิ่งของขึ้นและลง

67 จุดตรวจสอบข้อ 14: ป้อนและขนย้ายวัสดุสิ่งของที่หนักในแนวราบด้วยการผลักและดึง แทนการยกขึ้น-ลง
ออกแรงน้อยลงและปลอดภัยมากกว่าการยกขึ้น-ลง การผลักไปข้างหน้าและดันไปข้างหลัง จะทำได้ดีกว่าการทำไป ด้านข้างของร่างกาย ควรให้อยู่ในระดับความสูงของการทำงาน เพื่อจะได้ไม่ต้องยกขึ้น หรือยกลง

68 จุดตรวจสอบข้อ 14: ป้อนและขนย้ายวัสดุสิ่งของที่หนักในแนวราบด้วยการผลักและดึง แทนการยกขึ้น-ลง
ภาพที่ 14 ใช้การผลักและดันแทนการยกวัสดุสิ่งของขึ้นและลง

69 จุดตรวจสอบข้อ 15: ขจัดการทำงานที่ต้องก้มหลัง หรือบิดเอี้ยวตัวในขณะที่ยกขนย้ายวัสดุสิ่งของ
เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มั่นคง เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บที่หลัง คอ และไหล่ การบาดเจ็บของหลังที่มีผลมาจากการก้มหลังในขณะที่ยกของ หนัก จะ ส่งผลให้ต้องสูญเสียพนักงานผู้ชำนาญงานที่มี ประสิทธิภาพเป็น ระยะเวลานาน เปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัสดุสิ่งของ เพื่อให้งานที่ต้องยกขนย้าย ทำทางด้านหน้าของพนักงานโดยที่ไม่ต้องก้มหลัง ปรับปรุงเนื้อที่ว่างสำหรับงานที่ต้องยกขนย้าย เพื่อให้วางเท้าได้ เปลี่ยนแปลงระดับความสูงของงาน

70 จุดตรวจสอบข้อ 15: ขจัดการทำงานที่ต้องก้มหลัง หรือบิดเอี้ยวตัวในขณะที่ยกขนย้ายวัสดุสิ่งของ
(i) และ (ii) ลดระยะระหว่างพนักงานและชิ้นงาน

71 ใช้โต๊ะที่สามารถปรับระดับความสูง-ต่ำได้
จุดตรวจสอบข้อ 15: ขจัดการทำงานที่ต้องก้มหลัง หรือบิดเอี้ยวตัวในขณะที่ยกขนย้ายวัสดุสิ่งของ ใช้โต๊ะที่สามารถปรับระดับความสูง-ต่ำได้

72 จุดตรวจสอบข้อ 16: ให้ยกถือวัสดุสิ่งของ ใกล้ลำตัว
ช่วยลดการเคลื่อนไหวที่ต้องก้มตัวไปข้างหน้า ทำให้การยกถือทำได้ง่ายขึ้นและสามารถมองเห็นทางข้างหน้าได้ ควรจัดให้มีที่จับถือหรือด้ามจับที่เข้าใกล้วัสดุสิ่งของให้มากที่สุด จับถือให้มั่นคงและใกล้ลำตัว ควรยกช้าๆ ทางด้านหน้าของลำตัวโดยใช้กำลังของกล้ามเนื้อขา (ไม่ใช้หลัง) หลังเหยียดตรง ให้วัสดุสิ่งของอยู่ในระดับเอว

73 จุดตรวจสอบข้อ 16: ให้ยกถือวัสดุสิ่งของ ใกล้ลำตัว
ภาพที่ 16 ก ให้ยกวัสดุสิ่งของที่หนักขึ้นและลงด้วยแรงคนทาง ด้านหน้าของลำตัว โดยให้ลำตัวอยู่ในแนวตรงและให้ เท้ายืนอย่างมั่นคง และใช้กำลังของกล้ามเนื้อขา

74 จุดตรวจสอบข้อ 16: ให้ยกถือวัสดุสิ่งของ ใกล้ลำตัว
ภาพที่ 16 ข วัสดุที่มีความยาวสามารถยกขึ้นโดยใช้กำลังของ กล้ามเนื้อขา และให้วัสดุอยู่ชิดลำตัวให้มากที่สุดเท่าที่ จะทำได้

75 จุดตรวจสอบข้อ 16: ให้ยกถือวัสดุสิ่งของ ใกล้ลำตัว
ภาพที่ 16 ข เป็นการใช้อุปกรณ์ช่วยจับยึดชิ้นงานเพื่อช่วยให้ขนย้ายได้ง่ายขึ้น

76 จุดตรวจสอบข้อ 17: ให้ยกวัสดุสิ่งของขึ้นและลงช้าๆ ทางด้านหน้าของลำตัวโดยไม่ต้องบิดเอี้ยวตัวหรือก้มหลังมาก ยกถือวัสดุสิ่งของให้อยู่ด้านหน้าของลำตัวโดยไม่บิดเอี้ยวตัว ยืนให้เท้าแยก หลังอยู่ในแนวตรง ยกวัสดุสิ่งของขึ้นและลงโดยใช้กำลังของกล้ามเนื้อขา (ไม่ใช่หลัง) ใช้มือจับถือวัสดุสิ่งของให้มั่น หลีกเลี่ยงการวางวัสดุสิ่งของบนพื้น ใช้ยกพื้นหรือชั้นวางของที่มี ระดับความสูงระดับหนึ่ง ควรยกวัสดุสิ่งของขึ้นและลงช้าๆ ทางด้านหน้าของลำตัว

77 จุดตรวจสอบข้อ 17: ให้ยกวัสดุสิ่งของขึ้นและลงช้าๆ ทางด้านหน้าของลำตัวโดยไม่ต้องบิดเอี้ยวตัวหรือก้มหลังมาก ภาพที่ 17 ก การยกวัสดุหนัก (ก) จากพื้น (ข) จากโต๊ะหรือยกพื้น การยกจากโต๊ะหรือยกพื้นดีกว่าการยกจากพื้น

78 จุดตรวจสอบข้อ 17: ให้ยกวัสดุสิ่งของขึ้นและลงช้าๆ ทางด้านหน้าของลำตัวโดยไม่ต้องบิดเอี้ยวตัวหรือก้มหลังมาก ภาพที่ 17 ข เคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของบนพื้นผิวที่มีระดับความสูงเดียวกัน

79 จุดตรวจสอบข้อ 26: จัดให้มีที่รองรับพยุงแขน เมื่อใช้เครื่องมือทำงานที่ละเอียดซึ่งต้องการความแม่นยำ
ความแม่นยำของงานละเอียดจะใช้เพียงการเคลื่อนไหวมือเพียง เล็กน้อยเท่านั้น ควรพยายามจัดหาที่รองรับพยุงมือรูปร่างหลากหลายติดไว้ที่ ตำแหน่งต่างๆ เพื่อดูว่าแบบใดและตำแหน่งใดเหมาะสมที่สุด

80 จุดตรวจสอบข้อ 26: จัดให้มีที่รองรับพยุงแขน เมื่อใช้เครื่องมือทำงานที่ละเอียดซึ่งต้องการความแม่นยำ
จัดให้มีที่รองรับพยุงมือหรือแขนไว้ที่บริเวณใกล้จุดที่ปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่ละเอียดซึ่งต้องการความแม่นยำ

81 จุดตรวจสอบข้อ 26: จัดให้มีที่รองรับพยุงแขน เมื่อใช้เครื่องมือทำงานที่ละเอียดซึ่งต้องการความแม่นยำ
ควรพยายามจัดหาที่รองรับพยุงมือรูปร่างหลากหลายติดไว้ที่ตำแหน่งต่างๆ เพื่อดูว่าแบบใดและตำแหน่งใดเหมาะสมที่สุด

82 จุดตรวจสอบข้อ 27: เลือกใช้เครื่องมือที่ทำจากวัสดุที่มี่น้ำหนักเบา
เครื่องมือที่มีน้ำหนักเบา จะสะดวกต่อการจับถือ ง่ายต่อนำไปการ จัดเก็บและดูแลบำรุงรักษา มีวิธีการหลายอย่างที่จะทำให้เครื่องมือมีน้ำหนักน้อยลง การแขวนเครื่องมือไว้บนที่ห้อยแขวนเหนือจุดศูนย์ถ่วงของเครื่องมือ โดยการแขวนเครื่องมือที่ใช้งานให้อยู่ในระยะที่หยิบจับถึง โดยเมื่อต้องการใช้เครื่องมืองาน ก็สามารถหยิบดึงให้ลงมาได้ เมื่อเลิกใช้งาน เครื่องมือก็สามารถหดกลับไปยังจุดเดิมได้โดยอัตโนมัติ

83 จุดตรวจสอบข้อ 27: เลือกใช้เครื่องมือที่ทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา
(i) และ (ii) การห้อยแขวนเครื่องมือเหนือจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วง ทำให้งานที่ใช้เครื่องมือสามารถทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

84 จุดตรวจสอบข้อ 27: เลือกใช้เครื่องมือที่ทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา
การใช้อุปกรณ์เพื่อห้อยแขวน อุปกรณ์เครื่องมือ ทำให้น้ำหนักของเครื่องมือและชิ้นงานที่จะต้องจับถือลดลงได้

85 จุดตรวจสอบข้อ 28: เลือกเครื่องมือที่สามารถใช้งานโดยออกแรงน้อยที่สุด
หลีกเลี่ยงการออกแรงใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ที่นิ้วมือ ใช้เครื่องมือที่ใช้กำลังของนิ้วมือหลายๆ นิ้วในการบีบกดแทน ใช้นิ้วมือเพียงนิ้วเดียวในการกดปุ่ม เลือกเครื่องมือที่สามารถใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ

86 จุดตรวจสอบข้อ 28: เลือกเครื่องมือที่สามารถใช้งานโดยออกแรงน้อยที่สุด
(i) และ (ii) เครื่องมือที่มีด้ามจับที่มั่นคง สามารถช่วยให้ออกแรงน้อยลง

87 จุดตรวจสอบข้อ 50: ใช้อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน (จิ๊กและฟิกเจอร์) เพื่อให้การปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ทำได้อย่างมั่นคง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ การใช้อุปกรณ์จับยึดเครื่องมือ จะทำให้ทำงานได้ง่ายและสะดวกขึ้น

88 จุดตรวจสอบข้อ 50: ใช้อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน (จิ๊กและฟิกเจอร์) เพื่อให้การปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ทำได้อย่างมั่นคง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ การทำงานกับเครื่องจักร สามารถทำได้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการใช้อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน (จิ๊กและฟิกเจอร์)

89 จุดตรวจสอบข้อ 50: ใช้อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน (จิ๊กและฟิกเจอร์) เพื่อให้การปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ทำได้อย่างมั่นคง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ใช้จิ๊กหรืออุปกรณ์จับยึด ซึ่งออกแบบเป็นพิเศษเพื่อยึดจับชิ้นงาน แทนที่จะต้องยืนจับงานที่ไม่มั่นคงนี้

90 จุดตรวจสอบข้อ 50: ใช้อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน (จิ๊กและฟิกเจอร์) เพื่อให้การปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ทำได้อย่างมั่นคง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ใช้ปากกาและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อจับชิ้นงาน ที่มีขนาดและรูปร่างต่างๆ ในขณะที่ทำงาน ซึ่งจะช่วยให้มือว่าง

91 จุดตรวจสอบข้อ 57: ปรับระดับความสูงการทำงานของพนักงานแต่ละคน โดยให้อยู่ระดับข้อศอกหรือต่ำกว่าเล็กน้อย
ควรจัดความสูงของการทำงานให้อยู่ระดับศอก หรือต่ำกว่าเล็กน้อยโดยให้ขึ้นอยู่กับงานที่ยืนทำ

92 จุดตรวจสอบข้อ 57: ปรับระดับความสูงการทำงานของพนักงานแต่ละคน โดยให้อยู่ระดับข้อศอกหรือต่ำกว่าเล็กน้อย
สำหรับงานที่นั่งทำ ความสูงของพื้นผิวงานควรอยู่ในระดับประมาณข้อศอก

93 จุดตรวจสอบข้อ 58: ให้แน่ใจว่าพนักงานที่มีรูปร่างเล็กสามารถเข้าถึงแผงควบคุมและวัสดุสิ่งของ ในลักษณะท่าทางของร่างกายเป็นธรรมชาติ ภาพที่ 58 ก ควรใช้ยกพื้นสำหรับพนักงานที่มีรูปร่างเล็กยืนทำงาน เพื่อให้แน่ใจว่าความสูงของงานจะอยู่ในระดับที่เหมาะสม คือประมาณข้อศอก

94 ภาพที่ 58 ข หลีกเลี่ยงการเอื้อมถึงได้ยากลำบาก
จุดตรวจสอบข้อ 58: ให้แน่ใจว่าพนักงานที่มีรูปร่างเล็กสามารถเข้าถึงแผงควบคุมและวัสดุสิ่งของ ในลักษณะท่าทางของร่างกายเป็นธรรมชาติ ภาพที่ 58 ข หลีกเลี่ยงการเอื้อมถึงได้ยากลำบาก

95 จุดตรวจสอบข้อ 59: ให้แน่ใจว่าพนักงานที่มีรูปร่างใหญ่ที่สุด มีที่ว่างพอสำหรับการเคลื่อนไหวขาและลำตัว
ภาพที่ 59 ควรแน่ใจว่าเนื้อที่ว่างที่บริเวณทางเดินและสถานที่พนักงานปฏิบัติงานมีมากพอสำหรับพนักงานที่มีรูปร่างใหญ่ รวมถึงที่ว่างสำหรับเข่าและเท้า

96 ระยะเอื้อมที่เหมาะสมสำหรับคนที่นั่งและยืนทำงาน
จุดตรวจสอบข้อ 60: จัดวางวัสดุและอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้งานบ่อย ให้อยู่ในระยะที่สามารถหยิบจับได้ง่ายในตำแหน่งการทำงานปกติ ระยะเอื้อมที่เหมาะสมสำหรับคนที่นั่งและยืนทำงาน

97 การจัดวางวัสดุสิ่งของและอุปกรณ์เครื่องมือให้อยู่ในระยะที่หยิบจับได้
จุดตรวจสอบข้อ 60: จัดวางวัสดุและอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้งานบ่อย ให้อยู่ในระยะที่สามารถหยิบจับได้ง่ายในตำแหน่งการทำงานปกติ การจัดวางวัสดุสิ่งของและอุปกรณ์เครื่องมือให้อยู่ในระยะที่หยิบจับได้

98 จุดตรวจสอบข้อ 61: จัดให้มีพื้นที่หน้างานเอนกประสงค์ที่มั่นคงแข็งแรงในสถานีงานแต่ละแห่ง
ภาพที่ 61 ในสถานีงานแต่ละแห่ง ควรจัดให้มีพื้นที่หน้างานเอนกประสงค์ที่มั่นคงแข็งแรง

99 จุดตรวจสอบข้อ 62: จัดเตรียมสถานที่ให้พนักงานนั่งทำงานสำหรับงานที่ต้องการความถูกต้องแม่นยำ หรืองานตรวจสอบรายละเอียดของชิ้นงาน และสถานที่ให้พนักงานยืนทำงานสำหรับงานที่พนักงานเคลื่อนไหวบ่อยและงานที่ต้องออกแรงมาก ภาพที่ 62 ก งานที่ต้องการความถูกต้องแม่นยำสูง ควรเป็นงานที่นั่งทำ

100 จุดตรวจสอบข้อ 62: จัดเตรียมสถานที่ให้พนักงานนั่งทำงานสำหรับงานที่ต้องการความถูกต้องแม่นยำ หรืองานตรวจสอบรายละเอียดของชิ้นงาน และสถานที่ให้พนักงานยืนทำงานสำหรับงานที่พนักงานเคลื่อนไหวบ่อยและงานที่ต้องออกแรงมาก ภาพที่ 62 ข งานที่ต้องมีการเคลื่อนไหวบ่อยและเป็นงานที่ต้องออกแรงมาก ควรเป็นงานที่ยืนทำ

101 จุดตรวจสอบข้อ 63: จงแน่ใจว่า พนักงานสามารถยืนทำงานได้ด้วยอิริยาบถท่าทางที่เป็นธรรมชาติ โดยให้น้ำหนักลงที่เท้าทั้งสองข้าง และให้งานที่ทำอยู่ทางด้านหน้าและใกล้ลำตัว ภาพที่ 63 ก ปฏิบัติงานโดยให้เนื้องานอยู่ทางด้านหน้าลำตัวในระดับข้อศอกหรือต่ำกว่าเล็กน้อย หากจำเป็นอาจใช้อุปกรณ์ช่วยยกและเอียงชิ้นงาน

102 จุดตรวจสอบข้อ 63: จงแน่ใจว่า พนักงานสามารถยืนทำงานได้ด้วยอิริยาบถท่าทางที่เป็นธรรมชาติ โดยให้น้ำหนักลงที่เท้าทั้งสองข้าง และให้งานที่ทำอยู่ทางด้านหน้าและใกล้ลำตัว ภาพที่ 63 ข หากต้องทำงานทั้งสองด้านของชิ้นงาน ควรออกแบบให้พนักงานสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ หรือให้ชิ้นงานสามารถหมุนหันได้ เพื่อให้งานสามารถปฏิบัติได้ทางด้านหน้าของลำตัว

103 จุดตรวจสอบข้อ 64: ควรให้พนักงานสามารถยืนและนั่งทำงานสลับกัน ให้มากที่สุด
ภาพที่ 64 ก การจัดให้พนักงานได้มีโอกาสนั่งและยืนทำงานสลับกันในการทำงานอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันบนโต๊ะทำงาน ซึ่งในการนั่งทำงาน ควรจัดให้มีเก้าอี้ที่สามารถปรับระดับที่นั่งให้สูงพร้อมที่วางพักเท้า

104 จุดตรวจสอบข้อ 64: ควรให้พนักงานสามารถยืนและนั่งทำงานสลับกัน ให้มากที่สุด
ภาพที่ 64 ข ควรจัดให้พนักงานสามารถนั่งและยืนทำงานสลับกันได้ตามความเหมาะสม

105 จุดตรวจสอบข้อ 65: จัดให้มีเก้าอี้หรือที่นั่ง เพื่อให้พนักงานที่ยืนทำงานได้มีโอกาสได้นั่งเป็นครั้งคราว ให้มีเก้าอี้เพื่อให้พนักงานที่ยืนทำงานได้มีโอกาสนั่ง

106 จุดตรวจสอบข้อ 65: จัดให้มีเก้าอี้หรือที่นั่ง เพื่อให้พนักงานที่ยืนทำงานได้มีโอกาสได้นั่งเป็นครั้งคราว ให้พนักงานที่ยืนทำงาน ได้มีโอกาสได้นั่งทำงานเป็นครั้งคราว

107 จุดตรวจสอบข้อ 65: จัดให้มีเก้าอี้หรือที่นั่ง เพื่อให้พนักงานที่ยืนทำงานได้มีโอกาสได้นั่งเป็นครั้งคราว จัดเก้าอี้นั่งให้เหมาะสมให้เหมาะสมกับลักษณะงาน สำหรับพนักงานที่ยืนทำงาน

108 จุดตรวจสอบข้อ 66: จัดให้มีเก้าอี้อย่างดีที่สามารถปรับระดับได้พร้อมพนักพิงหลัง สำหรับพนักงานที่นั่งทำงาน พนักงานที่นั่งทำงาน ควรจัดให้มีเก้าอี้ที่ปรับระดับได้พร้อมพนักพิงหลัง

109 จุดตรวจสอบข้อ 67: จัดให้มีพื้นหน้างานที่ปรับระดับได้ เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้กับชิ้นงานไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ภาพที่ 67 ควรจัดให้มีพื้นหน้างานที่สามารถปรับระดับให้เหมาะสำหรับความสูงของพนักงานแต่ละคน

110 (i) และ (ii) ดวงไฟที่อยู่สูง จะทำให้แสงสว่างกระจายตัวได้ดี
จุดตรวจสอบข้อ 76: จัดแสงสว่างให้มีอย่างเพียงพอ เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบายตลอดเวลาการทำงาน ก่อน ปรับปรุง หลัง ปรับปรุง (i) (ii) (i) และ (ii) ดวงไฟที่อยู่สูง จะทำให้แสงสว่างกระจายตัวได้ดี

111 ใช้การระบายอากาศเฉพาะที่ เพื่อป้องกันรังสีความร้อนและมลพิษ
จุดตรวจสอบข้อ 82: ป้องกันสถานที่ทำงานจากความร้อนที่สูงมาก ใช้การระบายอากาศเฉพาะที่ เพื่อป้องกันรังสีความร้อนและมลพิษ

112 ใช้ฉากดูดกั้นความร้อน เพื่อปิดกั้นรังสีความร้อน
จุดตรวจสอบข้อ 82: ป้องกันสถานที่ทำงานจากความร้อนที่สูงมาก ใช้ฉากดูดกั้นความร้อน เพื่อปิดกั้นรังสีความร้อน

113 จุดตรวจสอบข้อ 109: ให้ปรึกษาหารือร่วมกับพนักงานในการปรับปรุงการจัดช่วงเวลาการทำงาน
จัดให้มีการประชุมหารือและรับฟังพนักงานก่อนนำการจัดช่วงเวลาการทำงานใหม่มาใช้

114 จุดตรวจสอบข้อ 121: นำระบบการสับเปลี่ยนหมุนเวียนการทำงาน เพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานซ้ำซาก และทำงานหน้าคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง (i) และ (ii) เป็นการรวมการทำงานคอมพิวเตอร์กับงานอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานที่ยาวนาน

115 จุดตรวจสอบข้อ 122: จัดให้มีช่วงพักสั้นๆ และบ่อยครั้ง เมื่อทำงานกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง
จัดให้มีช่วงพักสั้นๆ และบ่อยๆ ในระหว่างการทำงานกับคอมพิวเตอร์ที่ยาวนาน

116 จุดตรวจสอบข้อ 122: จัดให้มีช่วงพักสั้นๆ และบ่อยครั้ง เมื่อทำงานกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง
รวมการหยุดพักกับการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นการผ่อนคลาย


ดาวน์โหลด ppt เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google