บทที่ 5 โสตศิลป์ : สุนทรียภาพในดนตรี
ความหมายของดนตรี ดนตรีคือ เสียงที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ และมี แบบแผนโครงสร้าง เป็นรูปแบบของกิจกรรมเชิงศิลปะ ของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมา ในด้านระดับเสียง ( ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน ) จังหวะ และคุณภาพเสียง ( ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียงความดังค่อย ) ดนตรีนั้นสามารถใช้ในด้านศิลปะหรือสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่างๆ
ที่มาของดนตรี คาดกันว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์ ในสมัยนั้นต้องอาศัยอยู่ในถ้ำ โดยยังไม่รู้ว่า ความสว่างและความมืดนั้น คือกลางวันและกลางคืน ยังไม่รู้ว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นเพื่อเอาใจเทพเจ้าเขาจึงทำการวิงวอน ด้วยการเต้น การร้อง และรำ
ที่มาของดนตรี (ต่อ) เมื่อคนในยุคดังกล่าวต้องการ แสงแดด ลมหรือฝน เขาก็จะเรียกชนเผ่าของตน มาชุมนุมกันแล้วเต้นรำ บูชา พระอาทิตย์ บูชาลม หรือบูชาฝน ขณะที่เวลาผ่านไปหลายทศวรรษเขาก็ยังใช้การแสดงเหล่านี้ เสมือนเป็นการวอนขอต่อเทพเจ้า และกลายมาเป็น งานฉลองในศาสนาต่างๆ เช่น งานฉลองวันอิสเท่อร์ วันคริสต์มาส และพิธีการแห่ นางแมวขอฝนของไทยภาคอีสาน
ที่มาของดนตรี (ต่อ) นี่คือวิถีที่ดนตรี การเต้นรำ กวีนิพนธ์ จิตรกรรม และละครได้เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่สืบเนื่องมาจาก การที่คนโบราณใช้เจรจาต่อพระเจ้า
กิจกรรม สร้างเครื่องดนตรีจากสิ่งใกล้ตัว เช่น เมล็ดพืชต่างๆ หรือหิน บรรจุในกระป๋อง หรือวัสดุเหลือใช้ ตามความคิดสร้างสรรค์ ที่สามารถเป็น เครื่องดีด สี ตี กระทบหรือเป่าได้
อ้างอิง ประเสริฐ ศิลรัตน์. วิรุณ ตั้งเจริญ. ความเข้าใจในศิลปะ, กรุงเทพฯ: O.S.พริ้นติ้งเฮ้า, 2525 วิรุณ ตั้งเจริญ. สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต, กรุงเทพฯ: อีแอนด์ไอคิว, 2545