การพัฒนางานวิจัยเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ส่วนประกอบตอนต้น ปก ชื่อเรื่องวิจัย ชื่อผู้วิจัย โรงเรียน ชื่อโครงการ เดือน ปี ที่วิจัยเสร็จ คำนำ ส่วนประกอบ ที่มาของรายงาน วัตถุประสงค์ของรายงาน วิจัย.
Advertisements

การเขียนบทความ.
วิชาหัวข้อเรื่องที่ทันสมัยทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 6 มกราคม 2555
การเขียนผลงานวิชาการ
การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
เทคนิคการอ่านรายงานการวิจัย
รศ. ดร. สมศักดิ์ คงเที่ยง
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
รายงานการวิจัย.
Research Problem ปัญหาการวิจัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระบวนการตีพิมพ์งานวิจัย ในวารสารวิชาการ
การทดลองและการเขียนรายงานผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์
Thesis รุ่น 1.
โครงงานทางวิทยาการคอมพิวเตอร์
โครงสร้างของการเขียนรายงานการวิจัย
การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
Seminar in computer Science
บทที่ 6 การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
การเขียนรายงานการทดลอง
การเตรียมเอกสาร สอบหัวข้อโครงงาน
การวางแผนและการดำเนินงาน
แนะนำวิทยากร.
Management Information Systems
การวิจัยสถาบัน ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร
วิธีการเขียนรายงานของปัญหาพิเศษ
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย
: หัวข้อและความสำคัญของปัญหา
: หัวข้อและประเด็นปัญหา
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด
งานเอกสารที่เกี่ยวกับการจัดการสัมมนา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
การเขียนรายงานการวิจัย (เชิงปริมาณ)
เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนรายงานการวิจัย
1 การอ่านตำรา การอ่านตำรา.
นักวิจัย กับ แนวทางการมีส่วนร่วมในการทำวิจัย
การเขียนรายงานการวิจัย
ปัญหาการวิจัย โดย ดร.วรรณะ บรรจง.
ฐานข้อมูล Science Direct
การประยุกต์ใช้คลังความรู้
การเขียนรายงานการวิจัย
ศ.ดร.สุมาลี สังข์ศรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แนวคิดในการทำวิจัย.
กระบวนการวิจัย Process of Research
กลวิธีการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา
บทที่ 7 การศึกษาและ การนำเสนอสารสนเทศ
การเขียนรายงาน.
การแบ่งหนังสือออกตามลักษณะการจัดทำและความเหมาะสมของผู้อ่านแต่ละกลุ่ม
นอกจากบรรณานุกรมดังกล่าวแล้ว ยังแบ่งบรรณานุกรมโดยแยกย่อยได้ เช่น
เทคนิคการรวบรวมข้อมูล
รศ. ดร. นิตยา เจรียงประเสริฐ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเขียนรายงานเพื่อนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์
ธวัชชัย เอี่ยมไพโรจน์
สารานุกรมการศึกษา (The Encyclopedia of Education) ให้ความหมายไว้ว่า คือ “การจัดการสืบค้นอย่างมีระบบเกี่ยวกับการศึกษาและผลผลิตที่ได้รับจากการศึกษา”
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การสอนแบบโครงงาน ขจิต ฝอยทอง คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัยที่ดี
สถิติเพื่อการวิจัย 1. สถิติเชิงบรรยาย 2. สถิติเชิงอ้างอิง.
การเขียนรายงานผลการวิจัย
3. หลักการวิจัย หลักการวิจัย : สำราญ สาราบรรณ์.
บทที่ 5 การเขียนรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
การอ่านผลงานวิจัย / เอกสารวิชาการ เพื่อการทำวรรณกรรม ปริทัศน์
แนวทางพัฒนางานประจำ สู่งานวิจัย
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
การสอนแบบอภิปราย และการสอนแบบนิรนัย
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การพัฒนางานวิจัยเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ โดย ดร. นฤมล รื่นไวย์ ศูนย์ความรู้ (www.klc.tistr.or.th) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (www.tistr.or.th)

Concept ของการทำงานวิจัย 1. เพื่อตอบโจทย์/แก้ปัญหา 2. เพื่อค้นหาความรู้ใหม่ 3. เพื่อยืนยันความรู้เดิม

Concept ของการทำงานวิจัย 4. เพื่อพิสูจน์ทฤษฎี หรือ ความ เชื่อ 5. เพื่อพิสูจน์สมมุติฐานที่ตั้งไว้ (จริง/ไม่จริง)

Concept ของการทำงานวิจัย Pure research Applied research

Concept ของการทำงานวิจัย รู้เพื่อรู้ เพื่อค้นหาทฤษฎี Pure research

Concept ของการทำงานวิจัย Applied research รู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ต่อยอด พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์

ประเภทของบทความ บทความเชิงสาระ (Formal articles) ใช้ภาษาทางการ และมีเนื้อหาในเชิง วิชาการ

ประเภทของบทความ บทความเชิงปกิณกะ (Informal หรือ Miscellany articles) ใช้ภาษาง่ายๆ สะดุดตา ดึงดูดความ สนใจให้ชวนอ่าน

ประเภทของบทความ บทความเชิงสาระ (บทความวิชาการ) เช่น บทความเชิงสาระ (บทความวิชาการ) เช่น บทความปริทัศน์ (Review articles) บทความวิจัย (Research articles)

ประเภทของบทความ บทสัมภาษณ์ (Interview articles) บทความกึ่งชีวประวัติ บทความปกิณกะ เช่น บทสัมภาษณ์ (Interview articles) บทความกึ่งชีวประวัติ

ประเภทของบทความ บทความแนะนำ วิธีการ (how-to) ต่างๆ บทความท่องเที่ยว บทความปกิณกะ เช่น บทความแนะนำ วิธีการ (how-to) ต่างๆ บทความท่องเที่ยว บทความให้แง่คิด แสดงความคิดเห็น ในเรื่องต่างๆ

วารสารวิชาการ วารสารที่ตีพิมพ์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการตรวจคุณภาพบทความโดยผู้รู้ใน สาขาวิชานั้นๆ (peer review periodical)

วารสารวิชาการ เป็นเวทีสำหรับการแนะนำผลการค้นคว้าใหม่ๆ หรือความเห็นทางวิชาการใหม่ๆ เพื่อรับการ ตรวจสอบและการวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ผู้รู้ ด้วยกัน

ประเภทของบทความในวารสารวิชาการ การวิจารณ์หนังสือ (Book review) บทความปริทัศน์ (Review article) งานวิจัยที่มีความเริ่มแรก เป็นต้นตำรับ ของ แท้ (Original research paper/scholarly article/academic article)

การวิจารณ์หนังสือ (Book review) วิเคราะห์เนื้อหา (content) รูปแบบ (style) และคุณค่าของหนังสือนั้นๆ (merit) เล่าถึงเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นๆ โดยสรุป

การวิจารณ์หนังสือ (Book review) ประเมินคุณค่าของหนังสือเล่มนั้น ตาม ความเห็นส่วนตัวของผู้วิจารณ์ นับเป็นการพัฒนาทักษะในการคิดเชิง วิเคราะห์

บทความปริทัศน์ (Review article) บทความที่แสดงสถานภาพปัจจุบันของ งานวิจัยในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง   นำเสนอความรู้ใหม่ ๆ ความเข้าใจใหม่ ๆ เกี่ยวกับวิทยาการที่ได้เปลี่ยนแปลงไป  ใน เรื่องนั้นๆ (state of the arts)

บทความปริทัศน์ (Review article)  มีการทบทวนวรรณกรรมทางวิชาการ (Literature review) ที่ได้พิมพ์เผยแพร่ มาแล้วในอดีตจนถึงปัจจุบัน  โดยการ รวบรวมสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่อง

บทความปริทัศน์ (Review article) นำวรรณกรรมทางวิชาการมาวิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบกันเพื่อให้เกิดความ กระจ่างในเรื่องนั้นยิ่งขึ้น

บทความปริทัศน์ (Review article) ให้รายชื่อเอกสารอ้างอิงไว้ด้วย เพื่อให้ ผู้อ่านสามารถค้นหาเพิ่มเติมด้วยตัวเอง ได้

บทความปริทัศน์ (Review article) การปริทัศน์วรรณกรรมทางวิชาการ จะทำให้ ทราบถึง การค้นพบใหม่ ๆ  ความคืบหน้าล่าสุดของ สาขาวิชานั้นๆ และการค้นพบใหม่ๆ ช่องว่างของงานวิจัย  

บทความปริทัศน์ (Review article) ประเด็นที่เป็นข้อถกเถียง/อภิปรายล่าสุดใน ปัจจุบัน แนวคิดในการทำวิจัยในอนาคต บุคคล (ผู้เขียน/นักวิจัย) ที่มีผลงานในด้าน นี้  ในสาขาวิชานั้น มีใครทำการวิจัยบ้าง

บทความปริทัศน์ (Review article) ผู้เขียนบทความปริทัศน์ต้องทำการ จัดระบบและจัดโครงสร้างในการเขียน และเรียบเรียงประโยค เพื่อให้การ ถ่ายทอดความคิด เชื่อมโยงกันภายใต้ หลักของเหตุผลในการสนับสนุน ความคิดนั้น   

บทความปริทัศน์ (Review article) ผู้เขียนบทความปริทัศน์ อาจมี เพียงคน เดียว หรือหลายคน ช่วยกันอ่านทบทวน วรรณกรรมทางวิชาการ หลายๆ เรื่อง ใน สาขาใดสาขาหนึ่ง เลือกเอาเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง แล้วทำ การสรุปสิ่งที่ค้นพบ หรือความก้าวหน้าล่าสุด ของสาขาวิชานั้นๆ

บทความปริทัศน์ (Review article) ผู้อ่าน อ่านบทความเดียว แล้วเข้าใจหรือรู้ เรื่องงานวิจัยในเรื่องนั้นๆ ผิดกับการอ่าน งานวิจัยโดยทั่วไป ที่อ่านแล้ว เข้าใจหรือรับรู้ เฉพาะเรื่องที่กำลังอ่านอยู่ ได้เพียงแนวคิด พื้นฐานของงานวิจัยนั้นๆ

รายงานการวิจัย (Original research paper/scholarly article) บทความวิชาการหรือบทความวิจัย จะเกี่ยวกับ งานวิจัย การศึกษาค้นคว้า หรือการทดลอง เรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นหลัก

รายงานการวิจัย (Original research paper/scholarly article) เขียนโดยนักวิจัย หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขา นั้นๆ หรือจากอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ส่วนประกอบหนึ่งของบทความวิจัย คือ เชิงอรรถ เอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม รูป ประกอบ ตาราง กราฟ

รายงานการวิจัย (Original research paper/scholarly article) บทความวิจัยหรือบทความ วิชาการ มักลงพิมพ์ใน วารสารวิชาการ ที่เรียกว่า Scholarly/Professional Journals

รายงานการวิจัย (Original research paper/scholarly article) วารสารประเภทนี้ จะมีเนื้อหาโดยรวมเกี่ยวกับ งานวิจัยเชิงลึก หรือเป็นการแสดงผลงานวิจัย ที่เป็นต้นตำรับ บทความที่นำมาตีพิมพ์มักผ่านการอ่านและ เห็นชอบมาแล้วจาก คณะผู้ทรงคุณวุฒิ

รายงานการวิจัย (Original research paper/scholarly article) บทความวิจัย หรือบทความวิชาการบางเรื่อง อาจตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัย หรือสมาคมวิชาชีพ สมาคมทางวิชาการต่างๆ

บทความปริทัศน์ VS. บทความวิจัย Review articles ≠ Peer reviewed journal

Peer Review Peer Review กระบวนการ ที่ผู้ผลิตวารสารวิชาการ ปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่า บทความที่ ตีพิมพ์ออกมานั้นเป็นบทความทาง วิชาการที่ดี มีคุณภาพ

Peer Review ผ่านการอ่านจากผู้ทรงความรู้ใน สาขานั้นๆ มีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง แก้ไข ทั้งในด้านของเนื้อหาหรือ ความเข้มข้นทางวิชาการ เพื่อให้ เหมาะสมกับการที่จะนำลงพิมพ์ใน วารสารนั้นๆ

การวิจารณ์หนังสือ ผ่านการอ่านจากผู้ทรงความรู้ใน สาขานั้นๆ มีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง แก้ไข ทั้งในด้านของเนื้อหาหรือ ความเข้มข้นทางวิชาการ เพื่อให้ เหมาะสมกับการที่จะนำลงพิมพ์ใน วารสารนั้นๆ

โครงสร้างของบทความวิจัย

ชื่อบทความ(Title) ชื่อบทความมักเป็นชื่อที่สรุปมาจาก งานวิจัยนั้นๆ และโดยทั่วไปมักมี คำศัพท์ทางวิชาการ (technical terms) อยู่ด้วย เพื่อให้ชัดเจน สำหรับผู้ที่ค้นหาบทความในเรื่องที่ เกี่ยวกับงานวิจัยด้านนั้นๆ

 ผู้เขียน (Author) หน้าแรก จะต้องมีการระบุชื่อผู้เขียน และ หน่วยงานสังกัดของผู้เขียน อาจจะใส่ไว้ติดกัน หรือใส่สังกัดของผู้เขียนไว้ ในลักษณะ เชิงอรรถ ตรงท้ายหน้าก็ได้

 ผู้เขียน (Author) ในส่วนหน่วยงานสังกัดของผู้เขียนนี้ ใส่ ไว้ เพื่อแสดงถึงบทบาททางวิชาการของ ผู้เขียนในแวดวงการวิจัยเรื่องนั้นๆ และ อาจใส่ที่ติดต่อหรือ email ของผู้เขียนไว้ ด้วย

ชื่อวารสาร ชื่อ บทความ ชื่อผู้แต่ง ที่ติดต่อผู้แต่ง Abstract

บทคัดย่อ (Abstract) บทคัดย่อ คือ การสรุปเนื้อหาสำคัญ หลักๆของบทความนั้นๆ ถ้าเป็น Abstract ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 250 คำ

บทคัดย่อ (Abstract) มักระบุถึงปัญหาหรือเหตุผลว่าทำไม ต้องมีการวิจัยศึกษา รวมทั้งเค้าโครง ในการทำการศึกษาวิจัย วิธีการ ทดลอง และสรุปผลการวิจัย

บทคัดย่อ (Abstract) เมื่ออ่านบทคัดย่อ ผู้อ่านจะทราบได้ ทันทีว่าเรื่องนั้นๆ ตรงกับข้อมูลที่ตน กำลังต้องการอยู่หรือไม่

เนื้อหา (Article Text) ตัวเนื้อหาของบทความจะแบ่ง ออกเป็นส่วนๆ ประกอบด้วย บทนำ (Introduction) ทบทวนงานวรรณกรรม(Literature review)

เนื้อหา (Article Text) เนื้อหาการวิจัย (Content) ผลการวิจัย (Results/Findings) สรุป (Conclusion)

เนื้อหา (Article Text) ส่วนต่างๆ ของบทความนี้ อาจแยกส่วนเห็นได้อย่าง ชัดเจน มีหัวข้อนำมาแต่ละส่วน หรืออาจไม่มีหัวข้อ แยกให้เห็นอย่างชัดเจนก็ได้

เนื้อหา (Article Text) 1. Introduction 1.1 Software technology maturation 1.2 Prior reflections on software engineering and related research 2. Questions, results and validation in software engineering 3. Research strategies

เนื้อหา (Article Text) ในส่วนของเนื้อหาบทความวิชาการจะเป็น เรื่องเทคนิคสูงมาก และเฉพาะผู้ที่คุ้นเคยกับ สาขาวิชานั้นๆ จึงจะอ่านได้อย่างรู้เรื่อง มีการนำคำศัพท์เฉพาะสาขาวิชา (jargon) มี การใช้ตัวย่อที่รู้กันเฉพาะสาขา (abbreviations) และมีศัพท์เทคนิค (technical terms) ต่างๆ เป็นต้น

บทนำ (Introduction) บทนำของบทความวิชาการ จะกล่าวถึง หัวข้อหรือปัญหาที่ผู้วิจัยเห็นว่ามี ความสำคัญจะต้องทำการวิจัย ระบุถึงแนวคิด วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย ในการวิจัย

บทนำ (Introduction) กล่าวถึงคำถามในการวิจัย ที่ผู้วิจัยต้องการ ศึกษาค้นคว้าเพื่อการตอบคำถามนั้นๆ หรือ การตั้ง hypothesis

บทนำ (Introduction) อาจประกอบด้วยการทบทวน งานวิจัยและผลการวิจัยที่ผ่านมา (literature review)หรืออาจจะแยก เป็นสัดส่วนต่างหากก็ได้

บทนำ (Introduction) ในส่วนของ Literature review ควร ประกอบด้วยส่วนที่กล่าวถึงข้อ โต้แย้งในทางทฤษฎี ในการวิจัย / ทดลอง หรือการออกแบบการ ทดลองของผู้วิจัยอื่นๆ ที่ดำเนินการ มาแล้ว

วิธีการทดลอง (Methods) ใช้วิธีการอะไร กล่าวถึงเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ รวมทั้งเทคนิคในการวิเคราะห์ หรือ วิจัย

วิธีการทดลอง (Methods) อธิบายว่าตัวอย่าง(samples) นั้นมี การจัดหา เก็บรวบรวมมาอย่างไร หรือ มีการเตรียมตัวอย่างอย่างไร

วิธีการทดลอง (Methods) ใช้วิธีการอะไรในการวัด วิเคราะห์ ใช้ วิธีการอะไรในการคำนวณ มีวิธีทาง สถิติอะไรบ้าง

ผลการวิจัย (Results/Findings) ได้ผลการวิจัยอะไรบ้าง เป็นเพียงการรายงานผล ไม่ใช่ การ ตีความ หรืออธิบายเพิ่มเติม เพราะส่วน นั้น จะเรียกว่า การวิจารณ์ผล (Discussion)

ผลการวิจัย (Results/Findings) รายงานผลเพื่อนำไปสู่การวิจารณ์ผลใน อีกส่วนหนึ่งของบทความต่อไป บางกรณีอาจอยู่รวมกัน รวมเรียกว่า Results and Discussion

ผลการวิจัย (Results/Findings) ยกตัวอย่างเช่น เราอาจสังเกตเห็น ความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัวแปร ที่มี ความเกี่ยวข้องกันในระหว่างการ วิเคราะห์ผล ให้ใส่สิ่งที่สังเกตพบนี้ไว้ในส่วนของการ รายงานผล

ผลการวิจัย (Results/Findings) มักรายงานผลในลักษณะ charts, graphs, equations, and statistical data ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย หรืออาจ มีภาพประกอบที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ด้วย

ผลการวิจัย (Results/Findings) มีคำอธิบายประกอบตาราง กราฟ หรือ รูปภาพสั้นๆ แต่ได้ใจความเพื่อให้ ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนขึ้นด้วย

ผลการวิจัย (Results/Findings) กรณีที่มีผลการวิจัยเชิงลบ ให้ นำมาเขียนไว้ด้วย พร้อมทั้งอธิบาย ว่านักวิจัยได้จัดการกับกรณีนั้นๆ อย่างไร

ผลการวิจัย (Results/Findings) การแสดงผลเช่นนี้ ถือเป็นความ เที่ยงตรงของวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ และอาจทำให้การ อภิปรายผลของนักวิจัย ดูมีคุณค่า สาระมากขึ้น

ผลการวิจัย (Results/Findings) กรณีบทความนั้นค่อนข้างยาว อาจแยก ส่วนของ Results กับ Discussion เป็น คนละส่วนกัน

ผลการวิจัย (Results/Findings) กรณีมีข้อมูลดิบมาก อาจมีวิธีจัดการ 2 วิธี คือ ประมวลและสรุปย่อ แล้วใส่ไว้ใน Results  แยกไปไว้ในส่วนของภาคผนวก appendix (โดยเฉพาะรายงานการ วิจัย)

การอภิปรายผล Discussion นำผลการวิจัยมาตีความและอภิปรายผล ให้คำอธิบายเพิ่มเติมถึงสาเหตุการเกิด หรือ ไม่เกิดของผลการวิจัยด้านต่างๆ

การอภิปรายผล Discussion จำไว้ว่า การไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (no significance) นั้นไม่เหมือนกับ การไม่ มีความแตกต่าง (no difference) และ จะต้องนำมาอธิบายให้เห็นถึงความ แตกต่างนั้น

การอภิปรายผล (Discussion) ในการอภิปรายผล นอกจากจะระบุว่า พบอะไรแล้ว อาจจะระบุสิ่งที่วิจัยและ ทดลองแล้ว ค้นไม่พบและมีวิธีการ จัดการอย่างไร และผลที่ได้รับนั้น มี คุณค่าอย่างไรในเชิงวิชาการ

สรุปผล (Conclusion) ส่วนสุดท้ายของบทความวิชาการ ได้แก่ สรุปผล ผู้เขียนจะสรุปย่อผลการวิจัย หรือ อาจเปรียบเทียบผลการวิจัยของตน กับงานวิจัยอื่นๆ ที่ได้มีการทำมาแล้ว

สรุปผล (Conclusion) หรือให้ข้อเสนอแนะ นักวิจัยรายอื่นๆ ว่าควรจะต่อยอดจากงานวิจัยนี้ อย่างไร ควรทำการศึกษาวิจัยอะไร เพิ่มเติม เป็นต้น

สรุปผล (Conclusion) การสรุปผล คือการตอบคำถาม ของงานวิจัย หรือสิ่งที่เราตั้ง สมมุติฐานไว้

สรุปผล (Conclusion) จากคำตอบที่ได้ โยงไปว่า เกี่ยวข้องกับความรู้ในสาขานั้นๆ อย่างไร นำส่วนสำคัญบางส่วนของ Discussion เข้ามาผนวกไว้ด้วย

เอกสารอ้างอิง(References) บทความวิชาการจำเป็นต้องมี เอกสารอ้างอิง ในส่วนเนื้อหา ต้องมีการอ้างถึง (citation) งานวิจัยที่ผ่านมา ทฤษฎีที่ เกี่ยวข้อง รูปแบบการวิจัยที่นำมาใช้ วิธีการหรือมาตรฐานการวิเคราะห์

เอกสารอ้างอิง(References)

เอกสารอ้างอิง(References) รูปแบบของเอกสารอ้างอิง จะต้อง เป็นไปตามที่วารสารแต่ละฉบับกำหนด ไว้ เช่น ระบบตัวเลข ระบบ Harvard เป็นต้น ศึกษารูปแบบเอกสารอ้างอิงของแต่ละ แบบ เพื่อจัดทำให้สอดคล้อง และไม่ เป็นการหลงลืม หรือเสียเวลา

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ อ่านวารสารบทความวิจัยในสาขาให้มาก ดูจากหลายๆ เล่ม หลายๆ แนว

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ หมั่นพัฒนาทักษะในการเขียน โดยศึกษา จากประเภทของบทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารแต่ละเล่ม สไตล์การเขียนของ วารสารแต่ละเล่มอาจแตกต่างกัน

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ ลงมือฝึกเขียน อาจทดลองเขียนบทความ เพื่อส่งเข้าประชุม Conference ก่อนก็ได้

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ หัดทำ Literature review  ใช้ทักษะการอ่าน แบบ skim and scan  นำมาเรียบเรียงสรุป เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ทั้ง ผลการวิจัยที่สอดคล้อง ไปในทำนองเดียวกัน และที่ ค้านกัน  แสดงความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับงานวิจัยของ เรา

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ หัดทำ Literature review  ใช้รายงานการวิจัย/ทฤษฎี/เอกสารอ้างอิงจาก หลายๆ แหล่ง  เอกสารที่นำมา review ควรมีความน่าเชื่อถือใน เชิงวิชาการ (ดูจากผู้แต่งก็ได้)  พยายามหารายงานการวิจัยที่เป็นฉบับล่าสุด  รวบรวมมาให้ได้มากที่สุด

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ เขียนให้เป็นแบบมืออาชีพ เช่น  อ้างอิง (citation) เมื่อถึงจุดที่ควร อ้าง  รายการเอกสารอ้างอิง (References/Bibliography) เรียบร้อย เป็นไปตาม format และ ครบถ้วนตามที่อ้างไว้ในเนื้อหา

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ เขียนแบบมืออาชีพ เช่น  มีการนำเสนอ Literature review ที่ ดี เป็นตรรก มีความต่อเนื่อง และเชื่อมโยง กับงานวิจัยที่เราทำอยู่  วิธีการวิจัยเหมาะสม มีการนำเสนอ อย่างเป็นขั้นตอน

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ เขียนแบบมืออาชีพ เช่น  รายงานผลการวิจัยมีความชัดเจน  การวิจารณ์ผล หนักแน่น ผู้อ่านเชื่อ ในสิ่งที่เราวิจารณ์ หรือคาดการณ์ในการให้ ความเห็น

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ เขียนแบบมืออาชีพ เช่น  สรุปผลได้กระชับ  Abstract เขียนได้น่าสนใจและ ครอบคลุมงานวิจัย ในแบบย่อๆ  ตั้งชื่อเรื่องได้เหมาะสม ดึงดูดความ สนใจของคนในวงการ

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ พยายามเขียนให้ดีแต่ครั้งแรกที่ส่งพิมพ์ ถ้าเขียนไม่ดีอาจทำให้ผู้ทรงคุณวุฒิเบื่อ หน่ายที่จะอ่าน ทำให้เกิดการปฏิเสธ ซ้ำซาก

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ ก่อนส่งบทความไปตีพิมพ์ ควรให้ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องหรือรู้จักช่วย อ่านก่อน เช่น อาจารย์ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ สร้างแรงจูงใจให้ตัวเองในการสละเวลา ให้กับการเขียน สำรวจให้มั่นใจว่า บทความของเรา นำเสนอความรู้หรือการค้นพบใหม่ๆ ที่ แตกต่างไปจากของคนอื่นจริงๆ

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ เข้าหลักสูตรการฝึกอบรมการเขียน บทความทางวิชาการ เข้าร่วมการประชุมทางวิชาการในสาขา ของเรา และหาโอกาสพูดคุยกับ บุคคล ที่เป็นที่ยอมรับในวงการ เช่น อาจารย์ นักวิจัย บรรณาธิการ/ผู้แทนสำนักพิมพ์

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ ก่อนส่งบทความ สำรวจให้มั่นใจว่า บทความที่เราเขียนเป็นไปตามสไตล์ การนำเสนอ และเงื่อนไข/กฎเกณฑ์ใน การยื่นเสนอ (submission) ตามที่ วารสารหรือสำนักพิมพ์กำหนดไว้

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ ถ้าบทความถูกปฏิเสธการพิมพ์ (rejection) ให้ติดต่อบรรณาธิการเพื่อ ขอทราบถึง comments ของ ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อการนำไปปรับปรุง แก้ไขต้นฉบับ และส่งไปใหม่ พร้อม จดหมายชี้แจงการปรับปรุงแก้ไข

Tips ในการทำให้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ ทำความคุ้นเคยกับคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่พิจารณาบทความ (peer/referee) ถ้าเป็นไปได้

Thank you for your attention Questions??????