การรับ-ส่งวิทยุสื่อสารผ่านเครือข่าย VPN โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
คณะทำงานนวัตกรรม 1. นายสมชาย ผิวรุ่งสุวรรณ นายช่างไฟฟ้าอาวุโส 1. นายสมชาย ผิวรุ่งสุวรรณ นายช่างไฟฟ้าอาวุโส 2. ส.อ.เชี่ยวชาญ โตโคกสูง นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน 3. นายณัฐวุฒิ แสงคำ นายช่างไฟฟ้าชำนาญงาน 4. นางสาวชุติมาศ สำแดงฤทธิ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ 5. นางสาวณัชชา ศรีทองสุข นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ความเป็นมา ตามหน้าที่ความรับผิดชอบของศูนย์สารสนเทศ มีหน้าที่ในการให้บริการทางการติดต่อสื่อสาร เช่น ระบบวิทยุ อินเตอร์เน็ต ออกแบบและพัฒนาระบบงาน ตลอดจนติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์สื่อสาร ประกอบกับนโยบายของอธิบดี ที่กล่าวถึงในที่ประชุมผู้บริหารกรมชลประทานหลายครั้ง ได้กล่าวถึงเรื่องการใช้วิทยุสื่อสารของสำนัก ศูนย์สารสนเทศจึงได้คิดที่จะนำเอาเครื่องมือวิทยุสื่อสารที่กรมมีใช้งานอยู่ เข้ามาประยุกต์ใช้กับระบบเครือข่าย VPN ณ ปัจจุบัน ซึ่งศูนย์สารสนเทศได้เริ่มดำเนินการนำระบบนี้เข้ามาใช้ตั้งแต่ประมาณปลายปี 2551 ซึ่งเป็นเครือข่ายอินทราเน็ตภายในกรมชลประทานครอบคลุมทั่วประเทศ - ศูนย์สารสนเทศ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการทางการติดต่อสื่อสาร เช่น ระบบวิทยุ อินเตอร์เน็ต ออกแบบและพัฒนาระบบงาน ตลอดจนติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์สื่อสาร ปี 2553 ได้ดำเนินการให้บริการระบบเครือข่าย VPN ซึ่งเป็นเครือข่ายอินทราเน็ตภายในกรมชลประทาน ครอบคลุมทั่วประเทศ
พื้นที่ให้บริการเครือข่าย VPN สำนักชลประทาน 17 สำนัก โครงการชลประทานจังหวัด 76 จังหวัด ศูนย์อุทกวิทยาฯ 8 ศูนย์ โครงการก่อสร้างฯ 14 โครงการ โครงการส่งน้ำฯ 144 โครงการ ปากเกร็ด (สวพ. สคก. ฝึกอบรม) 3 สำนัก ส่วนกลาง สามเสน ข้อมูลวันที่ 1 ก.ย.54
ระบบที่ใช้ในการทำงานวิจัยและศึกษา 1. ระบบคอมพิวเตอร์ จะเป็นตัวควบคุมการทำงานในระบบ 2. ระบบ VPN (Virtual Private Network ) เป็นระบบเครือข่ายที่จะเชื่อมต่อกันได้ภายในองค์กร 3. ระบบวิทยุสื่อสาร เป็นอุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยแผ่กระจายเป็นคลื่นวิทยุ ออกทางสายอากาศ โดยมีส่วนประกอบเป็น ภาครับ และภาคส่ง ในเครื่องเดียวกัน 4. ระบบอินเตอร์เฟส คือ ตัวแปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็น สัญญาณดิจิตอล
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นการตอบสนองประเด็นยุทธศาสตร์กรมชลประทาน การพัฒนาแหล่งน้ำ ในมิติด้านคุณภาพการให้บริการ และดำเนินการตามแผนกิจกรรมการจัดการความรู้ของศูนย์สารสนเทศในปี 2554 ที่มุ่งเน้นเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม 2. เพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในกรมชลประทาน เนื่องจากใช้วิทยุสื่อสารเครื่องเดียว (พูดครั้งเดียว) แต่สามารถกระจายข่าวให้ผู้รับทราบได้ยินพร้อมกันหลายคน 3. เพื่อพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในกรมชลประทาน 4. เพื่อประยุกต์ใช้การสื่อสารทางคลื่นวิทยุให้สามารถใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีด้านเครือข่าย
ประโยชน์ที่ได้รับ ใช้ในการสั่งการ/บริหารจัดการในภาวะฉุกเฉิน เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับอุปกรณ์ทางด้านวิทยุสื่อสาร และระบบเครือข่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถพูดได้ระยะทางไกลในท้องถิ่นห่างไกล (วิทยุปกติพูดได้ 3 – 5 กม.) เช่น สำนัก/โครงการชลประทานต่าง ๆ ที่ใช้เครือข่าย VPN และวิทยุสื่อสาร เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงานที่อยู่ห่างไกล เพื่อเตรียมความพร้อมให้บุคลากรและหน่วยงานในการใช้เครื่องมือสื่อสาร เมื่อเกิดภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดงบประมาณ (ลงทุนแค่ในการจัดทำวงจร Interface เพียง 240 บาท)
วิธีการดำเนินงาน ศึกษาระบบคลื่นวิทยุที่ใช้รับ-ส่งสื่อสาร ศึกษาวิธีการแปลงสัญญาณคลื่นวิทยุ จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อสร้างวงจร ค้นหาและทดลองโปรแกรม (Software) ที่ใช้แปลงสัญญาณคลื่นวิทยุ สร้างระบบสืบค้นข้อมูลการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย VPN ทดสอบโปรแกรม และวงจร แปลงสัญญาณวิทยุ ทดสอบส่งสัญญาณวิทยุผ่านเครือข่าย VPN
Software
เป็นโปรแกรมประเภท Peer to Peer (การสื่อสารแบบจุดต่อจุด) ที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายบนอินเตอร์เน็ต สามารถพูดคุยหรือประชุมออนไลน์ ส่งข้อความ (Message) รับส่งไฟล์ รวมไปถึงการติดต่อด้วย webcam ผ่านทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้นทางและปลายทางเป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์บ้าน มือถือ และ PDA หลักการทำงานของ Skype คล้ายๆ กับโปรแกรม MSN และ Yahoo messenger แตกต่างกันที่ โปรโตคอล และเทคนิคการส่งข้อมูล
Teamtalk เป็นโปรแกรมอีกตัวหนึ่งที่ครบองค์ประกอบในการติดต่อสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เช่น ภาพ วีดีโอ เสียง การรับและส่งไฟล์ สามารถทำ video conference
เหตุผลที่เลือกโปรแกรม Teamtalk เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการทำ video conference โดยเฉพาะ สามารถเพิ่มผู้ใช้งานต่อครั้งได้ไม่จำกัด แต่อาจเป็นผลทำให้สัญญาณไม่ชัดเจน (ลักษณะ 1:M) ส่วนโปรแกรม Skype จะใช้งานได้เพียง 5 สถานีพร้อมกันเท่านั้น ข้อดี คือ คุยเฉพาะบุคคลต่อบุคคลได้ดีกว่า (1:1)
Hardware Model Antenna
Demo
โปรแกรมสำหรับเครื่อง PC ที่ต่อกับวิทยุสื่อสาร
ทิศทางการพัฒนาระบบในอนาคต เตรียมขยายผล โดยเพิ่มพื้นที่การใช้วิทยุสื่อสาร และนำไปติดตั้งทุกหน่วยงาน แบ่งกลุ่มการติดต่อสื่อสารตามภารกิจงาน เตรียมฝึกอบรมให้ความรู้ โดยจัดทำเป็น COPs ด้านการใช้วิทยุสื่อสารกรมชลประทาน
ขอบคุณครับ !