ประวัติผู้แต่งโชติ แพร่พันธุ์ โชติ แพร่พันธุ์ เจ้าของนามปากกา “ยาขอบ”ที่คนไทยรู้จักทั่วประเทศ ซึ่งในวงการหนังสือพิมพ์เมืองไทยสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที 2 หรือหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 มีคำกล่าวกันว่า มี“3 ทหารเสือ” ที่มีผลงานและชื่อเสียงโด่งดังติดอันดับสูงสุด เสมือนดาวจรัสแสงของบรรณพิภพอยู่ 3คน นั่นคือ นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นพี่เอื้อยใหญ่, นายมาลัย ชูพินิจ เป็นพี่กลาง และนายโชติแพร่พันธุ์หรือ”ยาขอบ”คือน้องนุชคนสุดท้องในช่วงเจริญวัยมารดาของนายโชติแพร่พันธุ์ได้นำมาฝากเป็นเด็กในบ้านพระยาบริหารนครินทร์ ซึ่งที่บ้านเจ้าคุณผู้นี้ นายโชตมีโอกาสได้อ่านวรรณกรรมชั้นดีหลายเรื่อง เช่น ขุนช้างขุนแผน, สามก๊ก, รามเกียรติ์, อิเหนา ซึ่งได้กลายเป็นพื้นฐานในการเขียนหนังสือในกาลต่อมา
ประวัติโดยย่อ พ.ศ.2472 นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ เจ้าของหนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ เล็งเห็นแววนักเขียนเอกของเพื่อนผู้นี้ จึงขอร้องแกมบังคับให้เขียนเรื่องตลกขบขันส่งมาลงเป็นประจำ และตั้งนามปากกาให้ด้วยว่า “ยาขอบ” เลียนแบบมาจากชี่อ “ W.W.JACOB ” นักเขียนเรื่องตลกชื่อดังชาวอังกฤษ “ยาขอบ” นามปากกาของนายโชติ แพร่พันธุ์ นอกจากเขียนเรื่องต่างๆลงในหนังสือพิมพ์หลายฉบับแล้ว ยังมีผลงานการประพันธ์มากมายหลายสิบเรื่อง ที่รวมเล่มไว้ด้วย นิยายเลื่องชื่อของท่านคือ “ยอดขุนพล” ต่อด้วย “ผู้ชนะสิบทิศ” และสามก๊กฉบับวณิพ
เจ้าบุเรงนองพระเจ้าบุเรงนอง พม่าเรียกบะยินเนาว์ (Bayinnaung ) ในบทนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงฯ ตั้งสมญานาม พระเจ้าบุเรงนองว่า The Conqueror of Ten Direction ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ เป็นเรื่องราวชีวิตของชายผู้หนึ่ง ที่ชื่อ "จะเด็ด"