ทิศทางหลักกรมควบคุมโรค ปี 2553 ทิศทางหลักกรมควบคุมโรค ปี 2553 นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติราชการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2553 ของกรมควบคุมโรค วันที่ 3 - 4 สิงหาคม 2552 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ การนำองค์กรปี 53
การนำองค์กร สืบเนื่องจากทิศทางการพัฒนาระบบราชการไทยและการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 รวมทั้งการประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ นำสู่การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการทำงานของหน่วยงานภาครัฐไปสู่มาตรฐานสากล โดยแนวคิดหลักต้องการที่จะเห็นหน่วยงานภาครัฐ นำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ / มีความรับผิดชอบต่อสังคม / ให้ความสำคัญกับประชาชนผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย / ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว / ส่งเสริมการพัฒนาตนเอง และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง / ตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศอย่างแท้จริง / และทำงานโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์เป็นสำคัญ เพื่อให้การบริหารจัดการของหน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรคมีทิศทาง เชิงกลยุทธ์ที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันและบูรณาการร่วมกัน ผู้บริหารทุกระดับต้องรับรู้วิสัยทัศน์ พันธกิจ ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างค่านิยม ตลอดจนจัดทำกลยุทธ์ ระบบและวิธีการต่างๆ เพื่อให้บรรลุความคาดหวังขององค์กรที่กำหนดเป็นเป้าประสงค์ และตัวชี้วัดระยะสั้น ระยะยาว กระตุ้นให้มีนวัตกรรม สร้างความรู้ ความสามารถให้บุคลากร ตลอดจนกำหนดให้มีระบบการติดตามประเมินผลเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การนำองค์กรปี 53
วิสัยทัศน์ เป็นผู้นำด้านวิชาการ เทคโนโลยีการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และภัยสุขภาพของประเทศ และระดับนานาชาติ วิสัยทัศน์กรมควบคุมโรคกำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2547 มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านวิชาการ เทคโนโลยีฯ ในระดับประเทศและนานาชาติ ปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมทำให้กรมฯ ต้องมีภารกิจเพิ่มมากขึ้น เช่น การระบาดของโรคในพื้นที่ซึ่งอาจไม่ใช่ภารกิจหลักของกรมฯ โดยตรง แต่จะต้องแสดงบทบาทด้านวิชาการให้เป็นที่ยอมรับ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีเรื่องโรคอุบัติใหม่ อุทกภัย วาตภัย ที่ทำให้เกิดโรคระบาดต้องมีการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน แนวโน้มของปัญหาเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภาคีพันธมิตร ได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งในการพัฒนาองค์กรเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่อัตรากำลังของบุคลากรและงบประมาณของกรมฯ มีแนวโน้มลดน้อยลง ในช่วงปลายปี 2552 นี้ กรมฯ จึงจำเป็นต้องมีการทบทวนวิสัยทัศน์คู่ขนานไปกับการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการปี 2553 ซึ่งถึงรอบระยะเวลาที่ต้องดำเนินการแล้ว สำหรับทิศทางหลักๆ ของกรมฯ ไม่น่าจะปรับมากนัก แต่จะมีการทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมถึงรับฟังความคาดหวังของกลุ่มผู้ใช้ผลผลิตของกรมฯ เพื่อจะนำมาปรับปรุงกระบวนการสร้างผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า สามารถดึงหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่างๆ เข้ามาร่วมดำเนินงานมุ่งสู่เป้าหมายผลลัพธ์ในการลดโรคและสร้างพฤติกรรมสุขภาพให้กับประชาชน โดยรักษาสถานภาพและความได้เปรียบในเชิงวิชาการของกรมฯ ไว้ให้ได้ ที่มา : ประชุมเชิงปฏิบัติการบูรณาการแผนปฏิบัติการปี 2548 เมื่อวันที่ 18 – 20 มีนาคม 2547 ณ โรงแรมเดอะแกรนด์ กรุงเทพฯ และประชุมผู้บริหารกรมฯ เพื่อเห็นชอบทิศทางการดำเนินงานกรมฯ สำหรับจัดทำกรอบแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2553 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 และ วันที่ 22 พฤษภาคม 2552 การนำองค์กรปี 53 3 3
พันธกิจ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ พัฒนาคุณภาพมาตรฐานทางวิชาการและมาตรการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ พัฒนาการบริหารจัดการแลกเปลี่ยนวิชาการเชิงคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายทอดมาตรฐาน มาตรการ เทคโนโลยีการ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ พัฒนาระบบฐานข้อมูล ข่าวกรองโรค การจัดการความรู้ และกลไก ความร่วมมือ ความเข้มแข็งของเครือข่ายเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและ ภัยสุขภาพ เพื่อเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ประเมินสถานการณ์โรค / ความเสี่ยงภัยสุขภาพเชิงรุก และประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรฐาน เป้าหมายการให้บริการรวมทั้งกำกับคุณภาพ กลยุทธ์การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่มีลำดับภาระโรคสูง เพื่อให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าวได้ กรมควบคุมโรคได้กำหนดพันธกิจสำคัญสำหรับเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์บทบาท หน้าที่ และกำหนดวิธีดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ภายในกรมฯ โดยแยกพันธกิจเป็น 4 ด้าน ดังนี้ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ พัฒนาคุณภาพมาตรฐานทางวิชาการและมาตรการดำเนินงาน พัฒนาการบริหารจัดการแลกเปลี่ยนวิชาการเชิงคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายทอดมาตรฐาน มาตรการ เทคโนโลยี พัฒนาระบบฐานข้อมูล ข่าวกรองโรค การจัดการความรู้ และกลไก ความร่วมมือ ความเข้มแข็งของเครือข่ายเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค เพื่อเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ประเมินสถานการณ์โรค / ความเสี่ยงภัยสุขภาพเชิงรุก และประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรฐาน รวมทั้งกำกับคุณภาพ ที่มา : ประชุมคณะกรรมการผู้บริหารกลยุทธ์ฯ (Forum) พิจารณากรอบวงเงินคำของบประมาณ 2552 ภายใต้โครงสร้างแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2551 - 2554) เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2551 ณ ห้องประชุมกองการเจ้าหน้าที่ และประชุมผู้บริหารกรมฯ เพื่อเห็นชอบทิศทางการดำเนินงานกรมฯ สำหรับจัดทำกรอบแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2553 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 และวันที่ 22 พฤษภาคม 2552 การนำองค์กรปี 53 4 4
ค่านิยม กรมควบคุมโรค ปี 2552 - 2555 SMART PLUS S : Service Mind M : Mastery A : Accountability / Transparency R : Relationship T : Teamwork A : Achievement Motivation I : Integrity ประสิทธิภาพการพัฒนาภาคีเครือข่ายและคุณภาพการบริหารจัดการ (Efficiency of Partnership Development and Improvement of Quality Management) ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญประการหนึ่งขององค์กร คือ การที่บุคลากร ทุกระดับ ยึดมั่นในค่านิยมองค์กรชุดเดียวกันเป็นพื้นฐานกำหนดพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่องค์กรคาดหวัง กรมฯ ได้สร้างค่านิยม คือ SMART ให้บุคลากรถือเป็นหลักในการปฏิบัติ เมื่อปี 2551 ต่อมาได้นำมาผสมผสานกับการพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรตามแนวทางของ ก.พ. เรียกรวมกันว่า SMART PLUS ประกอบด้วย - บริการที่ดี - ทำงานอย่างมืออาชีพ - ความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และรับผิดชอบ - การมีน้ำใจ - ความร่วมแรงร่วมใจ ทำงานเป็นทีม - การมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และ - การมีจริยธรรม ทั้งนี้ พฤติกรรมตามค่านิยมดังกล่าว ต้องมุ่งสู่การพัฒนาประสิทธิภาพของการบริหารจัดการเครือข่าย รวมถึงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ ซึ่งจะทำให้องค์กรยั่งยืน มีเสถียรภาพของ Brand และ Position ให้เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันและอนาคต ที่มา : ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาพฤติกรรมการปฏิบัติงานข้าราชการ เมื่อวันที่ 3 - 4 ธันวาคม 2550 ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี และประชุมคณะกรรมการผู้บริหารกลยุทธ์ฯ (Forum) ผู้บริหารกรมฯ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2551 และวันที่ 22 พฤษภาคม 2552 การนำองค์กรปี 53
นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี (Organizational Governance) กรมควบคุมโรค SMART PLUS 1.ด้านรัฐ สังคมและสิ่งแวดล้อม *สร้างกลไกหรือนวัตกรรมเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และภัยสุขภาพในระดับมาตรฐานสากล 2.ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย *สร้างกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.ด้านองค์การ *จัดระบบบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในที่ดี 4.ด้านผู้ปฏิบัติงาน *ทีมงานมืออาชีพ *พัฒนาจิตสำนึกในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม R T A S A M เพื่อแสดงความมุ่งมั่นต่อการบริหารราชการตามหลักธรรมาภิบาล กรมควบคุมโรคได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี (Organizational Governance) และแนวทางปฏิบัติ 4 ด้าน ซึ่งสามารถนำมาผสมผสานกับค่านิยมองค์กรได้ดังนี้ 1.ด้านรัฐ สังคมและสิ่งแวดล้อม *สร้างกลไกหรือนวัตกรรมเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และภัยสุขภาพในระดับมาตรฐานสากล 2.ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย *สร้างกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.ด้านองค์การ *จัดระบบบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในที่ดี 4.ด้านผู้ปฏิบัติงาน *พัฒนาทีมงานมืออาชีพ *พัฒนาจิตสำนึกในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม I การนำองค์กรปี 53
ประเด็นยุทธศาสตร์กรมควบคุมโรค เสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงและภาระโรค พัฒนาข่าวกรอง การป้องกัน ควบคุมโรค และเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน พัฒนาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่กรมควบคุมโรคต้องมุ่งเน้นและพัฒนา ได้แก่ การเสริมสร้างโครงสร้าง ระบบกลไก และความสามารถของเครือข่ายในการ เฝ้าระวัง กำกับและประเมินผล เพื่อสนับสนุนมาตรการลดปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง และภาระโรค การพัฒนาระบบข่าวกรองและการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค รวมถึงการเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายอย่างเป็นระบบ มีการซ้อมแผน เตรียมพร้อมเรื่องยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา การดูแล พร้อมรองรับปัญหาภัยพิบัติหรือโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้น การพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ให้มีศักยภาพในการวิเคราะห์ มองภาพอนาคตทั้งโอกาสและภัยคุกคาม มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถเอาชนะปัญหาและอุปสรรคในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และทำงานร่วมกับคนอื่นให้ส่งผลต่อเป้าหมายการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและสุขภาพ ที่มา : ปรับปรุงตามมติคณะกรรมการอำนวยการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ กรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2552 และอยู่ระหว่างการจัดทำคำอธิบายเพิ่มเติม การนำองค์กรปี 53
เป้าประสงค์หรือเป้าหมายการให้บริการกรมควบคุมโรค หน่วยงานและเครือข่ายมีระบบข่าวกรองและศักยภาพในการ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ รวมทั้งเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข หน่วยงานและเครือข่ายมีระบบเฝ้าระวัง ปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการจัดการป้องกันลดปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ หน่วยงานมีผู้เชี่ยวชาญและศักยภาพในการประเมินผลสถานการณ์ ความเสี่ยงจากโรคและภัยสุขภาพและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายได้ (มีขึ้นเพื่อรองรับงบ Mega Projects โครงการลงทุนด้านสุขภาพ) เป้าประสงค์หรือเป้าหมายการให้บริการกรมควบคุมโรค กำหนดไว้ดังนี้ หน่วยงานและเครือข่ายมีระบบข่าวกรองและศักยภาพในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ รวมทั้งเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข หน่วยงานและเครือข่ายมีระบบเฝ้าระวัง ปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการจัดการป้องกันลดปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ หน่วยงานมีผู้เชี่ยวชาญและศักยภาพในการประเมินผลสถานการณ์ ความเสี่ยงจากโรคและภัยสุขภาพและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายได้ ที่มา : ประชุมผู้บริหารกรมฯ เพื่อเห็นชอบทิศทางการดำเนินงานกรมฯ สำหรับจัดทำกรอบแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2553 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค การนำองค์กรปี 53
การทบทวนผลการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกรมควบคุมโรค และหน่วยงาน ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของ กรมควบคุมโรค และหน่วยงาน การทบทวนผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณให้คุ้มค่าตามภารกิจหลักของกรมควบคุมโรคมีความจำเป็นต้องดำเนินการอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบระดับความสำเร็จของกรมฯ และนำไปปรับปรุงกระบวนการทำงาน การบริหารจัดการ ให้สอดคล้อง ทันสถานการณ์ แบบ Rolling Plan ตาม ตัวชี้วัดแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกรมควบคุมโรค และหน่วยงาน ตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการของกรมควบคุมโรค และหน่วยงาน โดยทบทวนให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ทั้งมิติประสิทธิผล ประสิทธิภาพ คุณภาพ และ มิติการพัฒนาองค์กร การนำองค์กรปี 53
มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค รับผิดชอบในอาชีพ พัฒนาตนเอง สร้างมนุษยสัมพันธ์ เป็นเลิศทางวิชาการป้องกันและควบคุมโรค กรมควบคุมโรคได้กำหนดมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อปลูกจิตสำนึกให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ รักษามาตรฐานแห่งความดีงาม ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ โดยให้มีความรับผิดชอบในอาชีพ พัฒนาตนเอง สร้างมนุษยสัมพันธ์ และเป็นเลิศทางวิชาการป้องกันและควบคุมโรค กรมควบคุมโรคมุ่งเน้นให้บุคลากรเป็นคนเก่ง คนดี ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ช่วยเหลือผู้อื่น และองค์กร รวมถึงสังคมในขอบเขตที่สามารถดำเนินการได้โดยไม่กรทบงานหลัก เนื่องจากหากบุคลากรของกรมเป็นคนเก่งที่ปราศจากจิตสำนึก ไม่โปร่งใส จะเกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์ที่กรมสั่งสมมายาวนาน รวมถึงระบบและกลไกที่กรมฯ กำลังพัฒนาให้ทันกับสถานการณ์ที่เป็นพลวัตรในปัจจุบัน ที่มา : ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง มาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2549 การนำองค์กรปี 53
เป้าหมายการให้บริการกระทรวงและตัวชี้วัด ข้อ 5. ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถลดภาระโรค ภัยคุกคามและความรุนแรงด้านสุขภาพได้ ตัวชี้วัดเป้าหมายการให้บริการกระทรวงฯ หน่วยนับ เป้าหมาย 52-55 52 53 54 55 1) อัตราการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มวัยรุ่น ร้อยละ 42 43 44 2) อัตราตายโรคหลอดเลือดสมองลดลง 2 3) อัตราการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ 0.76 4) อัตราการได้รับการตรวจประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงานของแรงงานนอกระบบ 20 30 40 5) อัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค (success rate) 85 90 6) อัตราป่วยไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี 7) อัตราป่วยโรคอาหารเป็นพิษ ต่อประชากรแสนคน 213 209 205 เป้าประสงค์ หรือเป้าหมายการให้บริการของกรมฯ ได้เชื่อมโยงสู่การบรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายการให้บริการกระทรวง คือ ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถลดภาระโรค ภัยคุกคามและความรุนแรงด้านสุขภาพได้ โดยมีตัวชี้วัดในการลดอัตราป่วยของ 5 โรคสำคัญ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง เอดส์ วัณโรค ไข้เลือดออก อาหารเป็นพิษ และการเพิ่มขึ้นของพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย ตลอดจนอัตราการประเมินความเสี่ยงในกลุ่มแรงงานนอกระบบที่เพิ่มขึ้น การนำองค์กรปี 53 11
เป้าหมายการให้บริการกรมควบคุมโรคและตัวชี้วัด เป้าหมายการให้บริการกรมฯ หน่วยนับ เป้าหมาย 52-55 52 53 54 55 1. หน่วยงานและเครือข่ายมีระบบเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดการ ป้องกัน ลดปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ตัวชี้วัด: - ร้อยละของหน่วยงานและเครือข่ายเป้าหมายมีการดำเนินงานเฝ้าระวัง จัดการ ป้องกัน ลดปัญหาจากปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพได้ตามแนวทาง/ มาตรฐานที่กรมกำหนด ร้อยละ 50 60 70 80 2. หน่วยงานและเครือข่ายมีระบบข่าวกรองและศักยภาพในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ รวมทั้งเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข - ร้อยละของหน่วยงานและเครือข่ายเป้าหมายสามารถให้บริการตามแนวทาง/มาตรฐานที่กรมควบคุมโรคกำหนด 82 86 87 การนำองค์กรปี 53
Highlight ปีงบประมาณ พ.ศ.2553 1. โครงการตามพระราชดำริ 2. สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย 3. การป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (เฉพาะประเด็น) 4. การลดโรคที่เป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ - เอดส์ - วัณโรค - ไข้เลือดออก - อาหารเป็นพิษ 5. การลดโรคที่เป็นปัญหาสำคัญระดับพื้นที่ 6. การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข 7. การบังคับใช้กฎหมายควบคุมแอลกอฮอล์และยาสูบ 8. การพัฒนาองค์กร ปี 2553 ยังคงให้ความสำคัญกับโครงการต่างๆ ดังนี้ 1.โครงการตามพระราชดำริ 2.สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย 3.การป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (เฉพาะประเด็น) เช่น มาบตาพุด แรงงานนอกระบบ 4.การลดโรคที่เป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ ได้แก่ เอดส์ วัณโรค ไข้เลือดออก และ อาหารเป็นพิษ ซึ่งกำหนดเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญระดับกระทรวง 5.การลดโรคที่เป็นปัญหาสำคัญระดับพื้นที่ 6.การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข 7.การบังคับใช้กฎหมายควบคุมแอลกอฮอล์และยาสูบ 8.การพัฒนาองค์กร ครอบคลุมทั้งการพัฒนาสำนักงานป้องกันควบคุมโรคสู่ความ เป็นเลิศ การนำองค์กรปี 53 13 13
THANK YOU การนำองค์กรปี 53