จัดทำโดย นายอัมรินทร์ วงษ์พันธุ์ ภาควิชา การจัดการพลังงาน รหัส 47400907
Atmospheric Effects on Incoming Solar Radiation By Mr.Amarin Wongphan
ปฏิกิริยาในชั้นบรรยากาศต่อรังสีอาทิตย์ที่เข้ามาสู่โลก ขบวนการในชั้นบรรยากาศที่ช่วยลดรังสีอาทิตย์ที่ทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่ผิวโลก โดยชั้นบรรยากาศของโลก จะมีผลทำให้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของคลื่นแสงในด้านทิศทาง ความเข้ม ตลอดจน ความยาว และ ความถี่ช่วงคลื่น เนื่องจากชั้นบรรยากาศ ประกอบไปด้วย ฝุ่น ละออง ไอน้ำ และก๊าซต่างๆ โดยมี 3 ขบวนการดังนี้ 1) การกระเจิงของแสง ( Scattering ) 2) การดูดกลืนของแสง ( Absorbtion) 3) การสะท้อนพลังงาน ( Reflection )
ปฏิกิริยาในชั้นบรรยากาศต่อรังสีอาทิตย์ที่เข้ามาสู่โลก
การกระเจิง ( Scattering) เกิดขึ้นในขณะที่รังสีอาทิตย์ส่องผ่านชั้นบรรยากาศโดยตกกระทบกับอนุภาคเล็กๆและโมเลกุลของก๊าซต่างๆที่แพร่กระจายในทุกทิศทาง โดยการกระทบไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความยาวคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งแยกไว้ 3 ประเภท คือ 1.1. Rayleigh Scatter 1.2. Mie Scatter 1.3. Nonselective Scatter
การการดูดกลืนของแสง(Absorbtion) การดูดกลืน ทำให้เกิด การสูญเสียพลังงาน การดูดกลืนพลังงาน จะเกิดขึ้นที่ความยาวช่วงคลื่นบางช่วง โดยเฉพาะ ก๊าซ ที่มีความสามารถ ดูดกลืนเป็นพิเศษ คือ 2.1 ก๊าซออกซิเจนและโอโซน 2.2 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.3 ไอน้ำส่วนใหญ่กระจายตัว อยู่ ในชั้น โทรโพสเฟียร์ (Troposphere)
การสะท้อนพลังงาน ( Reflection ) เป็นขบวนการที่เกิดเมื่อรังสีอาทิตย์ที่เข้ามาสู่โลกชนกับอนุภาคของโมเลกุลในชั้นบรรยากาศแล้วทำให้รังสีอาทิตย์มีทิศทาง 180 องศา กับทิศทางรังสีที่เข้ามาทำให้สูญเสียรังสีที่เข้ามา 100 % ออกสู่อวกาศ การสะท้อนทั้งหมดเกิดที่เมฆโดยอนุภาคต่างๆของๆเหลวและเกร็ดน้ำแข็งในเมฆ การสะท้อนเกิดประมาณ 40 – 90 %
รูปภาพดังต่อไปนี้สัดส่วนการสะท้อนของรังสีอาทิตย์ที่เข้ามา ปี1987 [1]
การสะท้อนพลังงาน ( Reflection )
Referent 1. www.deqp.go.th 2. www.physicalgeography.net