การปฏิสนธิ-ท้อง9เดือน
เมื่อไข่ตกจากรังแล้ว ก็จะเคลื่อนตัวไปตามเยื่อบุท่อรังไข่ซึ่งมีขนช่วยพัดโบกไปจนถึงตำแหน่งที่จะพบกับอสุจิ เมื่อถึงจุดสุดยอดในขณะมีเพศสัมพันธ์ ฝ่ายชายจะหลั่งน้ำอสุจิ ซึ่งมีสเปิร์มถึง 200 - 400 ล้านตัวเข้าสู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง
เมื่อฝ่ายชายหลั่งน้ำอสุจิเข้าสู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง แม้ว่าอาจเข้าไม่ได้เต็มจำนวน แต่ยังมีส่วนที่ว่ายผ่าน มูกบริเวณช่องคลอดซึ่งหลั่งจากปากมดลูก ซึ่งช่วงนี้จะบาง และยืดหยุ่นได้ดีในช่วงไข่ตก เข้าสู่โพรงมดลูก และ ผ่านไปยังท่อนำไข่และปีกมดลูก โดยปกติอสุจิจะเดิน ทางด้วยอัตราเร็ว 2 - 3 มล. ต่อนาทีแต่จะเคลื่อนที่ช้าลง ในช่องคลอดที่มีสภาพเป็นกรด และว่ายเร็วขึ้นเมื่อ ผ่านจากปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูกที่มีความเป็นด่าง ซึ่งกว่าอสุจิจะผ่านพ้นเข้าไปในท่อรังไข่ได้นั้น จำนวน อสุจิ 200 - 400 ล้านตัวในขณะหลั่งจะเหลือรอดได้เพียง ไม่กี่ร้อยตัวที่มีโอกาสไปผสมกับไข่
หลังไข่เกิดการปฏิสนธิ เซลล์จะมีการแบ่งตัวทวีคูณ ในเวลาอันรวดเร็ว จาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 จาก 8 เป็น 16 ฯลฯ การแบ่งตัวจะเกิดอย่างต่อ เนื่องในขณะที่ไข่ที่ผสมแล้ว (Embryo - ตัวอ่อน) เคลื่อน ตัวอย่างช้าๆ และภายในเวลา 7 วันจะเคลื่อนไปถึง ตำแหน่งที่จะฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูก ตอนนี้ไข่ที่ผสม แล้วจะมีลักษณะเป็นลูกกลมประกอบด้วยเซลล์ประมาณ 100 เซลล์
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาจแบ่งออกได้เป็น ๓ ระยะด้วยกัน คือ ๑. ระยะไข่ตก (Ovulation) ได้แก่ ระยะ ๒ สัปดาห์แรก ปกติเดือนหนึ่งจะมีไข่ตกเพียง ๑ ฟอง โดยประมาณช่วงกลางของรอบเดือน (วันที่ ๑๒-๑๖) ไข่จะเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในท่อนำไข่ (ส่วนโป่ง) ถ้ามีการร่วมเพศในระยะนั้น อสุจิตัวหนึ่งจากจำนวนหลายล้านตัว จะเข้าผสมกับไข่ แล้วมีการแบ่งตัวแบบทวีคูณจาก ๑ เป็น ๒ จาก ๔ เป็น ๘ จาก ๘ เป็น ๑๖ เป็นต้น เมื่อมีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้น จะโตเป็นก้อนดูคล้ายผลน้อยหน่า ระยะนี้เรียกว่า ระยะมอรูลาร์ (morular)
๒. ระยะคัพภะ (Embryo) ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ที่ ๓-๗ หรือ ๘ เป็นระยะที่มีการสร้างอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย (organogenesis) เช่น หัวใจ ตา หู ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ แขน ขา เป็นต้น ระยะนี้เป็นระยะที่มีอันตรายมากที่สุด สำหรับการติดเชื้อหรือการกินยาบางอย่าง เพราะอาจทำให้เด็กที่เกิดมานั้นพิการได้
๓. ระยะตัวอ่อน (Fetus) ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ ๗ หรือ ๘-๔๐ เป็นระยะของการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ที่เริ่มสร้างขึ้นในระยะคัพภะ เพื่อที่จะให้ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์เมื่อตัวอ่อนคลอดมาเป็นทารก เช่น ระบบประสาท ระบบหายใจ และระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
ด.ช.กฦธน บุญจารุทัศน์ ม.1/3 เลขที่ 1 สมาชิกกลุ่ม ด.ช.กฦธน บุญจารุทัศน์ ม.1/3 เลขที่ 1 ด.ญ.ธนกาญจน์ นันทิยานุรักษ์ ม.1/3 เลขที่ 9 ด.ช.พีรวัส ลิขสิทธิ์พันธุ์ ม.1/3 เลขที่ 25 ด.ญ.ภัสสราธรณ์ ธัญญดำรง ม.1/3 เลขที่ 29 ด.ญ.ฑัตภ์จิรา ภาสุรวณิช ม.1/3 เลขที่ 46 ด.ช.พิสิฐพงศ์ เอกวรากร ม.1/3 เลขที่ 52