Asynchronous Transfer Mode
เทคโนโลยีเครือข่าย ATM ATM ย่อมาจาก Asynchronous Transfer Mode ซึ่งไม่ใช่ตู้ ATM ที่เรารู้จัก โดยที่ ATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้งานที่มีลักษณะข้อมูลหลายรูปแบบ เช่น ภาพ เสียง ข้อมูล ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ และต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมาก ATM ถูกพัฒนามาจากเครือข่าย Packet-Switching ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่า Packet ที่มีขนาดเล็กและคงที่แล้วจะส่งแต่ละ Packet ออกไป แล้วนำมาประกอบกันเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้งที่ปลายทาง
ลักษณะการทำงานของ ATM ATM ถูกพัฒนามาสำหรับงานที่ต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมาก ๆ ตั้งแต่ 2Mbps ไปจนถึง 622Mbps เครือข่าย ATM ถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยเล็ก ๆ เรียกว่า ”cell” มีขนาด 53 byte ประกอบด้วยส่วนข้อมูลขนาด 48 byte และส่วนหัวขนาด 5 byte Swith ATM จะทำหน้าที่ในการมัลติเพล็กซ์ และจัดการส่งข้อมูลนั้นตามที่กำหนดไว้ในส่วนหัวไปสู่ปลายทางเมื่อข้อมูลของผู้ใช้เข้ามา ข้อมูลจะถูกแบ่งย่อยเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 48 byte และเติมส่วนหัวเข้าไปอีก 5 byte แล้วจึงส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆของเครือข่าย ATM ซึ่งระบุไว้โดยส่วนหัวเมื่อถึงปลายทางแล้วจะเอาส่วนหัวออก แล้วประกอบกันเป็นข้อมูลชิ้นใหญ่
ข้อดีของ ATM ข้อเสียของ ATM ATM จัดเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง การนำเอาเครือข่าย ATM ไปใช้งานจำเป็นต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐาน เรื่องโพรโตคอล ที่พึ่งพาการใช้งาน Software ที่ใช้งานเป็นอย่างมาก เสียค่าใช้จ่ายสูงในการดำเนินงาน เพราะ ATM จัดเป็นระบบที่แพงมาก ถ้าหากผู้ใช้ไม่มีความจำเป็นมาก การใช้ระบบอื่นๆที่มีราคาถูกกว่าน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่า 1. ATM ถูกพัฒนาให้เป็นมาตรฐานกลางของการสื่อสารทั่วโลก 2. ATM ถูกพัฒนาเพื่อการส่งข้อมูลสำหรับทั้งเครือข่ายภายในระยะใกล้ (LAN)และระยะไกล(WAN) 3. ATM ถูกพัฒนาให้ใช้กับข้อมูลทุกรูปแบบทั้งเสียง ข้อมูลและVDO 4. ATM สามารถส่งข้อมูลโดยมีการรับประกันคุณภาพการส่งทำให้สามารถเลือกคุณภาพตามระดับที่เหมาะสมกับความสำคัญและรูปแบบข้อมูล
การประยุกต์ใช้งานเครือข่าย ATM 1. VOD (ระบบวีดีโอตามสั่ง) ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเลือกดูรายการที่ตน สนใจเวลาใดก็ได้ ไม่ขึ้นกับผู้อื่นและไม่ต้องรอตารางเวลา 2.VDO Teleconference (การประชุมทางไกล) ออกแบบมาเพื่อกลุ่มคนที่อยู่ต่างสถานที่ สามารถติดต่อกันได้ทั้งภาพและเสียงโดยผ่านทางจอภาพ 3.Tele-Education (การศึกษาทางไกล) เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่คนละสถานที่มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวช่วยในการสื่อสารทางไกลนักเรียนได้ยินเสียงเท่านั้น แต่ไม่สามารถเห็นอากัปกิริยาของผู้สอน
การประยุกต์อย่างสร้างสรรค์ การทำข้อสอบทางไกล เช่น การทำข้อสอบ O-NET A-NET โดยสามารถทำข้อสอบได้ที่โรงเรียนของตน และไม่จำเป็นต้องมีกรรมการคุมภายในห้องสอบ เพียงแต่มีมีการติดตั้งวงจรปิดผ่านระบบ WAN ไว้ที่ห้องสอบเพื่อให้กรรมการคุมสอบที่อยู่นย์สอบมองเห็นการทุจริตได้ จะทำได้ไหม ทำได้รึเปล่า ถ้าทำด้ายเราแถมเข็ม ATM ส่วนตัวแทนกระเป๋าสตางค์