เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
องค์ประกอบของสำนักงานสมัยใหม่
Advertisements

การพัฒนาระบบฐานข้อมูล
ชี้แจงการสัมมนากลุ่มย่อย
คุณค่าของอินเตอร์เน็ต
นางสาวมะลิวรรณ ระหูภา
คลิก เข้าสู่การเรียนรู้
วิชา การจัดการข้อมูล (Data Management) 3(2-2-5) บทที่ 3
เอชไอวีควบคุมได้ เอดส์รักษาได้ เราอยู่ด้วยกันได้
ข้อควรคำนึงในการสร้างเครือข่าย
กองทุนพัฒนาไฟฟ้ากับ การพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า
กุลภัทรา สิโรดม 20 กรกฎาคม 2554
เศรษฐกิจพอเพียง.
พระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
การกระทำความผิดเกี่ยวกับพรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
บทที่ 9 นวัตกรรมและเทคโนโลยี สารสนเทศในอนาคต
การค้ามนุษย์ การค้ามนุษย์ สภาพปัญหา ผลกระทบ แนวทางการแก้ไขปัญหา.
การค้ามนุษย์.
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สรุปสาระสำคัญโดยสังเขปของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
บทบาทการบริหารงานสำนักงาน 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา สพท.ชย.2
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา สพท.ชย.2
การวางแผนและ การจัดทำ IT Audit
การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน
การนำนโยบายจรรยาบรรณ ลงสู่การปฏิบัติในระดับคณะ/หน่วยงาน
ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความโปร่งใส ในกระบวนงานกระบวนการพัฒนาและคุ้มครองพิทักษ์สิทธิเยาวชน (การเสริมสร้างความเข้มแข็งสภาเด็กและเยาวชน) ของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก.
ภารกิจและนโยบาย 6 ยุทธศาสตร์ 35 กลยุทธ์ ของ ส.อ.ศ. บัญญัติ สมสุพรรณ
การบริหารความเสี่ยง ประเภทความเสี่ยง ความเสี่ยง (RISK)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 66 บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม.
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรมการศึกษา ดร
การจัดการ องค์กร อาชญากรรม สัตว์ป่าและพืช ป่า กลุ่ม 4.
ความหมาย ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ใบความรู้ เรื่อง สื่อสารสนเทศในแบบต่างๆ
วัยรุ่นกับปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
คุณธรรมและจริยธรรม สำหรับ วิทยาการคอมพิวเตอร์
จากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ กฎหมาย กฎหมาย คือ ข้อบังคับ ของรัฐซึ่งกำหนดความ ประพฤติของพลเมืองไว้ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับการ ลงโทษ โดยเจ้า พนักงานของรัฐ.
การบริหารงานจังหวัดลพบุรีแบบ บูรณาการ กพร.- TRIS 18/05/2549.
สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายสาธารณะกับการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เงื่อนไขการรับฟ้องและ ในคดีปกครองด้าน สิ่งแวดล้อม
: information security (ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ)
กฎหมาย คอมพิวเตอร์ สำหรับ ผู้บริหาร พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน.
บทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การใช้งานบน Internet.
หน่วยที่ 7 จริยธรรมและความปลอดภัย
บทบาทของ สารสนเทศ จัดทำโดย น. ส อมรรัตน์ เม่งบุตร 002.
เรื่อง คุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ วิชา คอมพิวเตอร์ จัดทำโดย
กรอบแนวคิด หลักการ กฎหมาย คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการ สาธารณสุข เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ ภาค ประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค.
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส 33101
จริยธรรม และ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ. ศ. ๒๕๕๐.
แผนการจัดการเรียนรู้ที่
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหา
ระบบสารสนเทศทางการตลาดและความสำคัญ
ประสบการณ์การบริหาร มหาวิทยาลัย ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารมหาวิทยาลัย โครงสร้าง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ รูปแบบการบริหารและขอบเขต อำนาจ.
บทที่ 3 กฎหมายและจริยธรรมที่ เกี่ยวข้อง รายวิชา การจัดการความปลอดภัยในระบบ คอมพิวเตอร์ อาจารย์พลอยพรรณ สอนสุวิทย์
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑
เทคโนโลยีสารสนเทศ.
บทที่ 9 ซอฟต์แวร์ประยุกต์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
วิสัยทัศน์การพัฒนาตำบล
การประชุมสมัชชาคุ้มครอง ผู้บริโภคสื่อ วันที่ ๒๖ – ๒๗ เมษายน พ. ศ. ๒๕๕๓.
การใช้ Green ICT ในองค์กร แบบพอเพียง
พฤติกรรมผู้ซื้อองค์การ
1. ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ 2. ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไป ได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง 3. ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต.
จัดทำโดย ด. ช. ต่อสักดิ์ ถาน้อย ม.1/4 เลขที่ 9 ด. ญ. ศิวัชญา ศรีทองวัน ม.1/4 เลขที่ 8 ส่ง อาจารย์ อรอุมา พงค์ธัญญะดิลก โรงเรียน จักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน.
ประเด็น ( ปัญหา ) ที่เกี่ยวข้องกับ ความผิด (Liability) ประเด็น ( ปัญหา ) ที่เกี่ยวกับ คุณภาพของระบบ : คุณภาพข้อมูลและ ความผิดพลาดจากระบบ (Data quality.
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา 310101 9 ปัญหาสังคม จากเทคโนโลยีสารสนเทศ จริยธรรม และกฎหมาย

เนื้อหา ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา การใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหา การใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหา ศึกษากรณีตัวอย่างเกี่ยวกับอาชญากรรมและ กฎหมายไอที

ปัญหาสังคมที่เกิดจาก เทคโนโลยีสารสนเทศ มุมมอง

1.1 เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์ - การใช้โทรศัพท์มือถือ - การใช้โทรศัพท์มือถือ ไม่ต้องจดจำหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่ต้องการติดต่อด้วย - การซื้อสินค้า จากเดิมต้องไปด้วยตนเองที่ร้านค้า ก็เปลี่ยนเป็นสั่งซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ต - การติดต่อสื่อสารกัน จากเดิมที่อยู่ในรูปของ จดหมาย เปลี่ยนเป็นใช้ E-mail - การค้นหาข้อมูล จากห้องสมุด ก็เปลี่ยนเป็นค้นหาจากอินเทอร์เน็ต - การจดบันทึกในสมุด เปลี่ยนเป็นใช้โปรแกรมเวิร์ด

1.2 เทคโนโลยีสารสนเทศและสังคม มีผลกระทบซึ่งกันและกัน สังคมมีผลต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแรงผลักดันจากสังคมให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น - เนื่องจากสถานภาพทางเศรษฐกิจ ทำให้มีการออกแบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ งาน ได้ในขณะเดียวกัน เพื่อทำให้ประหยัดทรัพยากร - จากกระแสความต้องการการสื่อสารที่รวดเร็วทั่วถึง ได้ผลักดันให้เกิดโทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ตขึ้น

1.2 เทคโนโลยีสารสนเทศและสังคม มีผลกระทบซึ่งกันและกัน (ต่อ) เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อสังคม เช่น - เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดรูปแบบสังคมแบบใหม่ ที่มีการพบปะพูดคุยในเรื่องที่มีความสนใจร่วมกัน ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต - การติดต่อสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ต อาจจะทำให้เกิดการล่อลวงกัน จนเกิดเป็นคดีต่าง ๆ - การเข้าถึงข้อมูลและกระจายข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ง่ายเกินไป มีผลต่อบางคนหรือกลุ่มบุคคล ที่ไม่ควรที่จะได้รับข้อมูลเหล่านั้น เช่น ภาพที่ไม่เหมาะสม

1.3 เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลไกในการดำรงชีวิต - การติดต่อสื่อสารต้องพึ่งพาโทรศัพท์มือถือ การอยู่ในที่อับสัญญาณ ทำให้เกิดอาการหงุดหงิด - การค้นหาข้อมูลต้องใช้อินเทอร์เน็ต - คอมพิวเตอร์ถูกฝังอยู่ในอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน

1.3 เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลไกในการดำเนินชีวิต (ต่อ) - การใช้ GPS ในรถยนต์ - การใช้บัตรประจำตัวประชาชนไฮเทค บรรจุไมโครชิปขนาดเล็กเท่าปลายนิ้วก้อย แต่บรรจุข้อมูลส่วนตัวแน่น จะมีผลกระทบต่อบุคคลในอนาคตได้ - อ่านตัวอย่างในหนังสือ หน้า 9-4

สรุปปัญหาสังคมที่เกิดจาก เทคโนโลยีสารสนเทศ - ปัญหาเด็กติดเกมส์ - ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ - ปัญหาสังคมเสื่อมโทรม ล่อลวง ล่วงละเมิดทางเพศ - ปัญหาอาชญากรรมต่อชีวิต - ปัญหาอาชญากรรมต่อข้อมูล - ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น คุกกี้ การ นำภาพบุคคลมาตกแต่งดัดแปลงเพื่อให้เกิดการ เข้าใจผิด

ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ แนวทางในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสังคม ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

2.1. ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethics) การสร้างภูมิคุ้มกัน - ระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น - ตั้งใจทำกิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ - ศึกษาว่ากิจกรรมประเภทใดเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ และกิจกรรมประเภทใดสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นได้

2.2. สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง - พึงรำลึกอยู่เสมอว่า ในสังคมของเราทุกวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควร - หากผู้ใช้เทคโนโลยีในทางที่ไม่ดี ก็ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ดี ไม่เป็นที่พึงปรารถนา ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้ - ไม่ลุ่มหลงต่อกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดจนมากเกินไป

2.3. การควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี กรอบประเพณีและวัฒนธรรม - วัฒนธรรมที่ดีสามารถควบคุมและแก้ปัญหาสังคมได้ เช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น - ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้อื่นพึงให้เกียรติแหล่งข้อมูล ด้วยการอ้างอิงถึง (citation) เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์

2.4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน ผู้รับผิดชอบพึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และหาทางป้องกันภัยอันตรายเหล่านั้น เช่น - การติดตั้งระบบเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่ เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน - การให้ความรู้เรื่องภัยอันตรายจากอินเทอร์เน็ต ต่อสังคม - การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภัยอันตรายที่มากับ เทคโนโลยีสารสนเทศ - การค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติม

2.5. การเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการ ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ - มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้ เช่น มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ISO/IEC 17799) - มีการกำหนดเรื่องความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับ - บุคลากร - ด้านกายภาพขององค์กร - สิ่งแวดล้อมขององค์กร - มีการควบคุมการเข้าถึง และการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย ฯลฯ

2.6. การบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย ปัญหาสังคมที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อรุนแรง ไม่สามารถแก้ด้วยวิธีอื่น ต้องออกเป็นกฎหมายบังคับ และมีบทลงโทษ เช่น - การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางลิขสิทธิ์ (Copyright) - การใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา - การป้องกันข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน

ประเด็นพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.1 ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และทฤษฎีเรื่องจริยธรรม ตัวอย่างข้อถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เกี่ยวกับ ค่านิยม จุดยืน และสิทธิที่บุคคลพึงได้รับ - การใช้วงจรปิด - การใช้คุกกี้ในอินเทอร์เน็ต ต่อสิทธิในเรื่องความเป็นส่วนตัวของมนุษย์ - การห้ามเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของเด็ก - การใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ต่อเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา

3.2 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรม และการเมือง เทคโนโลยีสารสนเทศที่สร้างขึ้น มีการเมืองหรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแอบแฝงหรือไม่ ตัวอย่างเช่น - การสร้างภาพของพระเอกหรือผู้ร้ายในภาพยนตร์ - การเกิดของกระแสโอเพ่นซอร์สเพื่อคานอำนาจกับ ซอฟต์แวร์ให้สิทธิการใช้ - ข้อจำกัดสิทธิทางบุคคล เช่น เครื่องเอทีเอ็ม ไม่สามารถใช้งานได้กับคนตาบอด หรือคนพิการที่อยู่บนรถเข็น หรือคนที่มีปัญหาในการจำ

3.3 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรม และความเป็นมนุษย์ - Cyberspace, Internet, World Wide Web เป็นการโต้ตอบกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคนกันคน หรือคนกับคอมพิวเตอร์ เป็นสภาวะที่เรียกว่า Virtuality - ก่อให้เกิดการรวมกลุ่ม หรือมีการสร้างสังคมของผู้สนใจหรือมีแรงปรารถนา (passion) คล้ายคลึงกัน เรียกว่า โลกเสมือนจริง (Virtual community)

3.3 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรม และความเป็นมนุษย์ (ต่อ) - โลกเสมือนจริง แยกกลุ่มตามความสนใจเป็น - ชุมชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (Cyber Community) - การศึกษาแบบเสมือนจริง (Virtual Education) - การมีมิตรภาพแบบเสมือนจริง (Virtual Friendships) - องค์กรแบบเสมือนจริง (Virtual Organizations) - โลกเสมือนจริงอาจจะนำไปสู่การถูกลวงได้ ตัวอย่างเช่น - คนไม่สวยอาจถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นคนสวย - คนอ้วนอาจถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นคนหุ่นดี มีอันจะกิน

การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคม ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

การแก้ปัญหาสังคมโดยทั่วไป แนวคิด - เสริมสร้างจริยธรรมในหมู่สมาชิก เป็นวิธีที่ถูกต้องและยั่งยืนที่สุด - สร้างกลไกในรูปแบบวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม - ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ จนถึงเป็นกฎหมายใช้บังคับ มีบทลงโทษ เป็นหนทางสุดท้าย

การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคม ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (1) กรณีของเทคโนโลยีสารสนเทศ - การเกิดของอินเทอร์เน็ตทำให้รูปแบบของปัญหาสังคม มีความหลากหลายและยุ่งยากมากขึ้น - จำเป็นที่ต้องมีกลไกในรูปของกฎหมายเทคโนโลยี สารสนเทศไว้ใช้บังคับ - ในประเทศไทยได้มีการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ที่ระบุว่า “รัฐจะต้อง ... พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบ สาธารณูปโภคตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ”

การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคม ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (2) มูลเหตุ - ประเทศต่างใหญ่ประกาศนโยบายและใช้กฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปแล้ว - บรรดาองค์กรระหว่างประเทศต่างเข้ามาจัดประชุมเจรจา เพื่อจัดทำนโยบายและตัวบท กฎหมายด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศต่างๆ - ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องจัดทำ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นโครงสร้าง พื้นฐานในการพัฒนาประเทศ

การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคม ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) การดำเนินการ - ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นแกนกลางใน การพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน โดยมีกรอบสาระของกฎหมายในเรื่องต่างๆ ดังนี้

การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคม ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (4) กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายโทรคมนาคม กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเทอร์เน็ต กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์

กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 หมวด1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หมวด2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมวด3 ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หมวด4 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ หมวด5 คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ บทกำหนดโทษ http://www.clt.or.th/Departments/The office of the director/LAWE_COMMERCE.html http://www.cs.buu.ac.th/~wichai/101course/law/law2544.doc

กำหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มี ๓๐ มาตรา หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าทีhttp://www.cs.buu.ac.th/~wichai/101course/law/law2550.pdf พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ฉบับการ์ตูน) http://www.cs.buu.ac.th/~310101/download/LawCartoon.pdf

กรณีศึกษาอาชญากรรมและกฎหมายไอที

กรณีศึกษาอาชญากรรมและกฎหมายไอที (1) กรณีที่ 1 : นายจ้างเปิด e-mail ลูกจ้างอ่านได้หรือไม่? กรณีที่ 2 : Copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมา ใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณี หรือเปล่า? กรณีที่ 3 : หมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ตกับความรับผิด ทางแพ่งหรือไม่? กรณีที่ 4 : ทำ Hyperlink ยังไงไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์? กรณีที่ 5 : โหลดโปรแกรมหรือเพลงทางอินเทอร์เน็ตผิด กฎหมายหรือเปล่า?

กรณีที่ 1 : นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา เปิด e-mail ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอ่านได้หรือไม่? - ถ้าองค์กรนั้นๆ มีการกำหนด User name และ Password ให้กับคนในองค์กร นายจ้าง หรือผู้บังคับบัญชาสามารถเปิดอ่าน e-mail ของลูกจ้างได้ รวมทั้งสามารถดูแฟ้มข้อมูลต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ เพราะเป็น e-mail สำหรับการปฏิบัติงาน - แต่หากเป็น e-mail อื่นที่ไม่ใช่ขององค์กร จะไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดอ่าน - หากนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาละเมิดสิทธิ์ ลูกจ้างสามารถฟ้องร้องนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งได้

กรณีที่ 2 : การ Copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณีหรือเปล่า? - หากนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ผิดกฎหมาย - หากนำไปใช้เพื่อการค้าอาจถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาได้ - ยกเว้นสำหรับกรณีเพื่อการศึกษา โดยต้องมีการอ้างอิงและขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์

กรณีที่ 3 การหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่? - การหมิ่นประมาทบุคคลผ่านทางอินเทอร์เน็ต ฟ้องร้องได้ทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง - การหมิ่นประมาททางแพ่ง หมายถึง การบอกกล่าวข้อความอันเป็นเท็จและทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง หรือการทำมาหาเลี้ยงชีพของคนอื่น - ส่วนใหญ่คดีหมิ่นประมาทจะฟ้องร้องกันเป็นคดีแพ่ง และเรียกค่าเสียหายกันมากๆ เพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบ - ในประเทศไทย เรื่องศาลที่จะฟ้องคดี - ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตหรือศาลที่เป็นที่เกิดของเหตุในการฟ้องคดี - การหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาหนังสือพิมพ์ ฝ่ายผู้เสียหาย อาจถือว่าความผิดเกิดขึ้นทั่วประเทศ

กรณีที่ 4 : การทำ Hyperlink ยังไงไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์? - มีโอกาสละเมิดลิขสิทธิ์ หากมีการมองว่าเป็นการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ - แต่ถ้าการเชื่อมโยงนั้นเป็นการเชื่อมโยงต่อไปยังหน้าแรกของเว็บผู้อื่นก็สามารถทำได้ แต่ควรขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ให้เรียบร้อย - หากเป็นการเชื่อมโยงลึกลงไปถึงเนื้อหาส่วนอื่นของเว็บผู้อื่นจะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ - ในกรณีที่ไม่ต้องการให้ใครนำเว็บของเราไปเชื่อมโยงอาจจะระบุไว้ที่เว็บเลยว่า ไม่อนุญาตจะทำให้ผู้ที่เข้ามาเชื่อมโยง - หากยังมีการละเมิดสิทธิ์ก็จะมีความผิดโดยไม่ต้องตีความ

กรณีที่ 5 : โหลดโปรแกรมหรือเพลงทางอินเทอร์เน็ต ผิดกฎหมายหรือเปล่า? - การ Download โปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตมาใช้งานแบบถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ก็ต่อเมื่อโปรแกรมที่ผู้ใช้ Download มาใช้นั้น ถูกระบุว่าเป็นประเภท Freeware, Shareware - สำหรับการโหลดเพลงทางอินเทอร์เน็ต สามารถทำได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากได้รับอนุญาต - แต่โดยทั่วไปแล้วค่ายเพลงมักจะไม่อนุญาต ยกเว้นจะทำเพื่อการค้า

จบการนำเสนอ คำถาม??