อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อารยธรรมอินเดียเริ่มจากอารยธรรม โบราณ 4,500 ปีมาแล้วและเข้าสู่การก่อตัว ของอารยธรรมสำคัญของโลกแห่งหนึ่ง คือ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ คืออารยธรรมที่คลุมพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย รวมพื้นที่ตั้งแต่ปากแม่น้ำสินธุ จดเขตบาลูจิสถาน รวมบริเวณที่เป็นรัฐราชสถานและรัฐคุชราต เขตอารยธรรมนี้มีอายุราว 2,500 ปีก่อนคริสต์กาล เมืองโบราณที่ขุดค้นพบมีความสำคัญยิ่ง ทำให้ได้ค้นพบโบราณวัตถุหลายอย่าง เช่น แผ่นตราประทับ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ รูปปั้นคนและสัตว์ ตัวซากเมืองทำให้พบว่ามีควาเจริญทางสถาปัตยกรรม มีประสาทป้อมคล้ายกับอาโครโปลิสของกรีก เมืองโบราณนี้คือ โมเฮนโจดาโร และ ฮารัปปา เป็นเมืองขนาดใหญ่กว่าเมืองอื่นๆ ที่ขุดได้ทั้งหมด 70 กว่าแห่ง
ช่วงเวลาทางโบราณคดีของอารยธรรมนี้อยู่ระหว่างยุคหินใหม่กับยุคทองแดงสันนิษฐานว่าผู้คนมีอารยธรรมสูง เนื่องจากมีตัวอักษรใช้ด้วย แต่ตัวอักษรนี้ยังไม่มีใครอ่านออกไม่มีใครรู้ว่าเจ้าของอารยธรรมนี้คือชนกลุ่มใด แต่หลักฐานโครงกระดูกมนุษย์ที่ขุดได้ทำให้ทราบว่ามีลักษณะของเผ่าพันธุ์เมดิเตอร์เรเนียนและโปรโตออสตราลอยด์ ซึ่งตรงกับลักษณะของคนพื้นเมืองอินเดียที่ชาวอารยันเรียกว่าพวก ฑราวิท (หรือ คราวิเดียน) และเอามาเป็นทาสของพวกอารยัน จึงถูกเรียกว่า ทัสยุ (ทาส)
รูปปั้นสตรี ไม่สวมเสื้อผ้า แต่มีเครื่องประดับที่คอและแขน ทำด้วยทองแดง 2000 ปี ก่อน ค.ศ. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
รูปปั้นบุรุษไว้หนวดเครา จากอารยธรรมโมเฮนโจดาโร
อารยธรรมนี้เสื่อมลงในราว 1,500 ปีก่อนคริสต์กาล สาเหตุใหญ่น่าจะมาจากภัยน้ำท่วมและการรุกรานจากภายนอก เนื่องจากประวัติศาสตร์ของชนชาติอารยเริ่มต้นในช่วง 1,500 ปี ก่อนคริสต์กาล จึงน่าเป็นไปได้ว่าพวกอารยคือผู้รุกราน อารยธรรมสินธุ