งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ซากดึกดำบรรพ์ .

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ซากดึกดำบรรพ์ ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ซากดึกดำบรรพ์ 

2 ซากดึกดำบรรพ์  ซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น  เมื่อตายซากจะถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นหินตะกอน ซากดึกดำบรรพ์สามารถพบได้ตามชั้นหินตะกอนเป็นส่วนใหญ่ เพราะหินตะกอนเป็นหินที่สามารถเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ได้ดีกว่าหินชนิดอื่น นอกจากนั้นยังอาจพบซากดึกดำบรรพ์ในหินภูเขาไฟบางชนิด เกิดจากการทับถมของเถ้าถ่านภูเขาไฟ เพราะ เป็นบริเวณที่มีความพรุนและมีซิลิกา(SiO2)มาก ส่วนหินอัคนีและหินแปรมักไม่ค่อยพบซากดึกดำบรรพ์ เนื่องจากหินอัคนีเกิดจากแมกมาที่ร้อนมาก และหินแปรเกิดจากการแปรสภาพเนื่องจากความร้อนสูง ทำให้ซากดึกดำบรรพ์ที่ฝังตัวในหินอัคนีและหินแปรถูกทำลาย ซากดึกดำบรรพ์ที่พบมากที่สุด เป็นซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเลเพราะเมื่อสัตว์ทะเลตายซากจะจมลงสู่ก้นทะเล โคลนและตะกอนเม็ดละเอียดในน้ำทับถมและสะสมอยู่ตอนบนตะกอนละเอียดเหล่านี้จะทำให้ซากของสัตว์ทะเลเสียหายน้อยมาก

3 ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี(index fossil)
ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี คือ ซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกใช้เป็นตัวกำหนดและระบุระยะเวลาทางธรณีวิทยา เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ บอกอายุได้แน่นอน เนื่องจากมีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและ รูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์

4 ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ดัชนี
แอมโมไนทต์ เป็นสัตว์ทะเลจัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา (Mollusca) กลุ่มเดียวกับปลาหมึกปัจจุบัน เปลือกขดเป็นวง ส่วนใหญ่ลอยอยู่บนผิวน้ำ ทำให้สามารถพบได้ทั้งบริเวณทะเลตื้นและลึก พบมากในมหายุคมีโซโซอิก และสูญพันธ์เมื่อสิ้นสุดยุคครีเทเซียส ไทรโลไบต์  เป็นสิ่งมีชีวิตในยุคแคมเบรียมและยุคออร์โดวิเชียน มาสูญพันธุ์ในยุคเพอร์เมียน การพบซากดึกดำบรรพ์ ไทโลไบต์ในหินทรายแดงที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล

5 แบรคิโอพอต จากแหล่งเขาถ่าน อ. สวี จ
แบรคิโอพอต จากแหล่งเขาถ่าน อ.สวี จ.ชุมพร  เป็นสัตว์ทะเลมีลักษณะคล้ายหอยกาบคู่ เช่น หอยแครง แต่ต่างกันที่เปลือกทั้ง ๒ ฝา ที่มีขนาดไม่เท่ากัน แต่ฝาเดียวกันจะมีลักษณะด้านซ้าย และด้านขวาสมมาตรกัน พบแพร่หลายมากในมหายุคพาลีโอโซอิก ฟิวซูลินิด อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ อายุประมาณ 290 ล้านปี เป็นสัตว์ทะเลเซลล์เดียว มีลักษณะรูปร่างยาว หัวท้ายแหลม รูปร่างและขนาดคล้ายเม็ดข้าวสารทำให้คนทั่วไปคิดว่าเป็นข้าวสารหิน จึงนิยมเรียกว่า คตข้าวสาร พบมากในยุคคาร์บอนิเฟอรัสและเพอร์เมียน และได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปลายยุคเพอร์เมียน

6 แกรปโตไลต์ เป็นสัตว์ทะเลที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ ซากดึกดำบรรพ์ ที่พบส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายรอยพิมพ์บางๆ อยู่บนหินดินดานสีดำหรือมีรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ แกรปโตไลต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนี เนื่องจากพบมากในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนต้น ยุคออร์โดวิเชียนถึงดีโวเนียน พบที่แหล่งบ้านป่าเสม็ด อ.ละงู จ.สตูล ไครนอยด์ พบในหิน แอนดีไซต์ ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟที่เขาชนโถ จ.เพชรบูรณ์ อายุประมาณ 250 ล้านปี ไครนอยด์เป็นสัตว์ทะเล มีรูปร่างคล้ายต้นไม้บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่าพลับพลึงทะเลแพร่หลายในมหายุคพาลีโอโซอิก

7 สโตรมาโตไลต์ เป็นเนินตะกอนที่เกิดจากการสะสมตัวพอกขึ้นมาเป็นชิ้นๆ โดยแบคทีเรียจำพวกไซยาโนแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดในโลก สโตรมาโตรไลต์พบเป็นซากดึกดำบรรพ์มาตั้งแต่ 3,500 ล้านปีก่อน โดยพบในทวีปแอฟริกา และออสเตรเลีย

8 ปัจจัยสำคัญ 2 ประการที่ช่วยให้ซากสิ่งมีชีวิตเกิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ คือ
กระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์ ปัจจัยสำคัญ 2 ประการที่ช่วยให้ซากสิ่งมีชีวิตเกิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ คือ โครงร่างส่วนที่เป็นของแข็งของสิ่งมีชีวิต พืชและสัตว์เมื่อตายไปแล้วจะผุพังเน่าเปื่อยเร็วมาก แต่เปลือกแข็งของพืชและสัตว์เหล่านี้ เช่น ฟัน เปลือกนอก และเนื้อไม้ จะคงสภาพอยู่ได้และกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ไปในที่สุด กระบวนการเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ กระบวนการเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ที่แตกต่างกัน จะทำให้ซากดึกดำบรรพ์มีสภาพและความสมบูรณ์ของซากแตกต่างกัน

9 3. หินถูกดันขึ้นไปมาและถูกกัดเซาะ
กระบวนการกลายเป็นหิน (petrifaction) ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่เกิดโดยกระบวนการนี้ มักเกิดกับส่วนที่แข็ง เช่น กระดูก เปลือกหอย ไม้ ฯลฯ เป็นกระบวนที่เกิดจากสารละลายในน้ำใต้ดินที่มีแร่ธาตุ ซิลิกา แคลเซียมคาร์บอเนต ออกไซด์ของเหล็ก ซัลไฟด์ของเหล็ก ฯลฯ แทรกซึมเข้าไปตกผลึกในช่องว่างภายในเซลล์แทนที่เนื้อเยื่อหรือผนังเซลล์ของพืช สัตว์ ทำให้เซลล์ของซากอินทรีย์แข็งตัว รวมทั้งคงรูปร่างและโครงสร้างเดิมไว้ได้ 4. ซากดึกดำบรรพ์โผล่ขึ้นสู่ชั้นผิวโลก 1. สัตว์หรือพืชตายลงจมลงสู่ก้นทะเลและส่วนที่เหลือจะค่อยๆถูกฝังลงในชั้นของตะกอน 2. ตะกอนชั้นล่างๆได้กลายเป็นหินและส่วนที่เหลืออยู่จะแข็งตัวกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ 3. หินถูกดันขึ้นไปมาและถูกกัดเซาะ

10 ในประเทศไทย มีซากดึกดำบรรพ์
ไม้กลายเป็นหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด พบอยู่ในยุคเพอร์เมียน มีอายุประมาณ – 0.7 ล้านปีก่อน เป็นไม้สกุลปาล์ม พบในเขต อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินฯ ตั้งอยู่ที่บ้านโกรกเดือนห้า อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นพิพิธภัณฑ์ 1 ใน 7 ของโลก

11 กระบวนกลั่นระเหยหรือกระบวนการเกิดแผ่นซากคาร์บอน (distillation หรือ carboni -zation)
เกิดกับซากดึกดำบรรพ์พืชหรือสัตว์เล็ก ๆ ในลักษณะที่มีตะกอนเนื้อละเอียดมาปิดทับ เมื่อเวลาผ่านไปและความดันที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ส่วนประกอบที่เป็นน้ำหรือไฮโดรเจน ออกซิเจนและไนโตรเจนถูกขับออกไป จนกระทั่งเหลือแต่เพียงธาตุคาร์บอนอิสระ ซึ่งจะเกิดเป็นคราบคาร์บอนสีดำรูปสำเนาของสัตว์และพืชต่าง ๆ ซากสัตว์ที่มักพบและเกิดโดยกระบวนการนี้ ได้แก่ ซากแกรปโตไลต์ (graptolite) อาร์โทรปอดส์ (arthropods) ปลา เป็นต้น หากคราบคาร์บอนดังกล่าวหลุดหายไป ร่องรอยที่ยังเหลืออยู่ในชั้นหินหรือตะกอนเนื้อละเอียด จะเรียกว่า รอยพิมพ์ (impression) ซากฟอสซิลปลาที่เกล็ดแปรสภาพเป็นคาร์บอนสีดำมัน ซึ่งเกิดจากกระบวนการ คาร์บอนไนเซชัน (carbonization)

12 กระบวนการแช่แข็ง (refrigeration)
พบในเขตอากาศหนาวใกล้ขั้วโลกหรือเขตหิมะแถบภูเขาสูง ซากสัตว์จะถูกแช่เย็นจนแข็งไปทั้งตัว โดยที่ยังคงมีเนื้อเยื่อต่าง ๆ เหมือนเนื้อสัตว์ที่ถูกแช่แข็ง แม้กระทั่งอาหารที่อยู่ในกระเพาะก็ยังมีสภาพที่สด แมมมอธ เพศเมียวัย 1 เดือน ที่คาดว่าน่าจะมีชีวิตอยู่เมื่อกว่า 40,000 ปีก่อนถูกแช่แข็งในไซบีเรีย ฟอสซิลอายุ 67 ล้านปีของงูใหญ่ที่กำลังกัดกินไข่ไดโนเสาร์เป็นอาหาร ถูกแช่แข็งข้ามกาลเวลามาจนถึงปัจจุบันขุดพบในประเทศอินเดีย

13 แมงมุมที่ติดอยู่ในยางสนที่แข็งเป็นอัมพัน ซึ่งมีอายุประมาณ 40 ล้านปี
กระบวนการดองคงสภาพ (preservation) กระบวนการดองคงสภาพ เช่น การดองในบ่อที่มีการสะสมเน่าเปื่อยของถ่านพีต (peat) การดองในน้ำมันดิน (tar) หรือยางมะตอย (asphalt) จนเกิดเป็นสารเคมีที่ป้องกันการเน่าเปื่อยได้ ซากพืช – สัตว์ที่ตกลงไปในยางสนที่แข็งตัวเป็นอำพัน (amber) ซากที่เกิดโดยวิธีนี้ จะรักษารายละเอียดได้ดีมาก เช่น ซากของแมลงต่าง ๆ แมงมุมที่ติดอยู่ในยางสนที่แข็งเป็นอัมพัน ซึ่งมีอายุประมาณ 40 ล้านปี  ซีลาแคนท์ ดองทั้งตัวเป็นปลาโบราณ ที่มีรายงานการพบเห็นว่ายังมีชีวิตอยู่ในยุคปัจจุบันนี้ ละอองเกสรของดอกกล้วยไม้ดึกดำบรรพ์ติดอยู่บนหลังฟอสซิลผึ้งโบราณ ถือเป็นบรรพบุรุษกล้วยไม้อายุประมาณ ล้านปีก่อน

14 กระบวนการเกิดมัมมี่ (mummification)
เป็นการเกิดโดยธรรมชาติจากการแห้งของซากทีละน้อย พบได้ในที่อุณหภูมิสูงและแห้ง แถบทะเลทรายหรือบริเวณอื่น ๆ ฟอสซิลฝูงวาฬ กลางทะเลทราย อายุประมาณ 2 ล้านปีก่อน  ประเทศชิลี Mummified baboon ร่างมนุษย์ถูกเก็บไว้ด้วยเถ้าภูเขาไฟ

15 การเกิดร่องรอยซากดึกดำบรรพ์ (fossil traces)
เป็นการเกิดร่องรอยอันมีที่มาจากซากดึกดำบรรพ์ ไม่ใช่เป็นตัวซากดึกดำบรรพ์โดยตรง มีหลายรูปแบบ ดังนี้ 1. แบบหล่อ (mold) หรือรอยพิมพ์ (impression)  (ส่วนเว้า)  เกิดจากซากส่วนที่แข็งถูกทับถมโดยตะกอนและเกิดเป็นรอยพิมพ์ของส่วนที่แข็งอยู่ในหิน เป็นซากดึกดำบรรพ์ของ เสื่อทะเล (Bryozoa)  สภาพแบบ Mold พบในชั้นหินในยุคดีโวเนียน  อายุ ล้านปี  ไทรโลไบต์จัดเป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีในยุคไซลูเรียน – ยุคดีโวเนียน หอยกาบ (Bivalve)   สภาพแบบ Mold เป็นซากดึกดำบรรพ์ ยุคคาร์บอนิเฟอรัส   อายุ ล้านปี  แบบหล่อ ด้านนอกของหอย

16 2. รูปหล่อหรือรูปพิมพ์ (cast)  (ส่วนนูน) เมื่อซากส่วนที่แข็งถูกทับถมในตะกอน และเกิดเป็นแบบหล่อแล้ว ต่อมาส่วนที่แข็งถูกชะล้างออกไปจนเกิดเป็นช่องว่าง แล้วช่องว่างถูกแทนที่ด้วยแร่หรือหินอื่นๆเรียกร่องรอยเหล่านี้ว่ารูปหล่อ ซากดึกดำบรรพ์ของหอยตะเกียง (Brachiopod)  สภาพแบบ Mold   เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีในยุคดีโวเนียน  อายุ ล้านปี ไทรโลไบต์จัดเป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีในยุคไซลูเรียน – ยุคดีโวเนียน

17 3.รอยเท้าและรอยลาก (tracks and trails) เป็นร่องรอยของรอยเท้า รอยลาก รอยคืบคลาน หรือรอยของส่วนร่างกายสัตว์ที่ปรากฏอยู่ในตะกอนหรือหินแข็ง เช่น รอยเท้าไดโนเสาร์ รอยของกระพรุนทะเล เป็นต้น  รอยเท้าไดโนเสาร์ภูหลวง เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ซากฟอสซิลรอยเท้าของเมกาเธอเรียม สัตว์ในตระกูลช้างชนิดหนึ่ง จากยุคน้ำแข็ง พบที่เมืองกัวมินิ เอาร์เจนตินา สูญพันธุ์ไปประมาณ 10,000 ปีก่อน รอยเท้าไดโนเสาร์ ภูแฝก ต. ภูแล่นช้าง  กิ่งอำเภอนาคู จ. กาฬสินธุ์

18 4. คอโปรไลต์ (coprolites) เป็นซากสิ่งขับถ่ายของสัตว์ในสมัยบรรพกาล เป็นประโยชน์ในการบอกนิสัยการกินของสัตว์ รวมทั้งอาจทำให้ทราบรูปร่างและขนาดของรูทวารหนักของสัตว์ชนิดนั้น ๆ ได้ ฟอสซิลมูลของไดโนเสาร์ชนิดหนึ่ง ฟอสซิลอุจจาระมนุษย์อยู่ในถ้ำเพสลีย์ที่โอเรกอนที่แสดงว่ามนุษย์อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือมากว่า 14,000 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้เข้าใจกันว่ามนุษย์อยู่ที่นี่มาแค่ 13,000 ปีเท่านั้น ฟอสซิลอึหมาป่าสีน้ำตาลช็อกโกแลตม้วน เป็นก้อนกลมขุดขึ้นมาจากชายฝั่งทะเลเนเธอร์แลนด์ มีอายุย้อนไปถึงยุคไพลโตซีนตอนปลาย หรือ 12, ,000 ปีมาแล้ว

19 5. แกสโตรไลต์ (gastrolites) เป็นก้อนกรวดก้อนหินที่มีความมัน เรียกว่า หินกิซซาร์ด (Gizzard stone) มีอายุอยู่ในมหายุคมีโซโซอิก สัตว์เลื้อยคลานดังกล่าวกินเข้าไปเพื่อช่วยในการย่อยอาหารแล้วถ่ายออกมา

20 6. ร่องรอยอื่นๆ  (feeding burrow) เช่น รอยรูที่เกิดจากตัวหนอน หอย หรือสัตว์อื่นๆ เจาะพื้นที่อยู่อาศัย รอยเขี้ยวหรือฟันแทะที่ปรากฏอยู่บนชิ้นกระดูก เป็นต้น ซากฟอสซิลที่มีร่องรอยสิ่งมีชีวิตคล้ายหนอนอยู่ในอุกกาบาจ บริเวณขั้วโลกใต้ ไซบีเรีย และอลาสก้า โดยเขาเรียกร่องรอยสิ่งมีชีวิตนี้ว่า “ฟอสซิลหนอนต่างดาว” โดยโครงสร้างคล้ายคลึงเชื้อโรคแบคทีเรียตระกูล cyanobacteria ร่องรอยของหนอน (worm) พบบนหินทรายที่ประเทศออสเตรเลีย คาดว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดราว 1.2 พันล้านปี ซึ่งอยู่ในช่วงมหายุคพรีแคมเบรียน ร่องรอยรูหนอนชอนไช

21 ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในประเทศไทย
ส่วนมากอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในชั้นหินทราย หินทรายแป้ง พบในยุคไทรแอสสิกตอนปลายถึงยุคครีเตเชียส ตอนกลางอายุ 200 – 100 ล้านปีที่ผ่านมา ไดโนเสาร์ชนิดแรกที่พบคือ สยามโมซอรัส สุธีธรนี

22 ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่
เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดกินพืชขนาดใหญ่เดิน 4 ขา คอยาว หางยาว อายุประมาณ 130 ล้านปี ความยาวประมาณ เมตร พบฟอสซิลครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยตั้งชื่อเพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดดาฯ สยามบรมราชกุมารี

23 สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส
สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส : เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่เดินด้วย 2 ขาหลัง ส่วน 2 ขาหน้า มีขนาดเล็ก ในยุคครีเทเซียสตอนต้น ประมาณ ล้านปี ความยาวประมาณ 6.5 เมตร นับว่าเป็นบรรพบุรุษของ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ ที่พบในอเมริกาเหนือ

24 กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส
เป็นไดโนเสาร์กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเดินและวิ่งด้วย 2 ขาหลัง มีรูปร่างคล้ายนกกระจอกเทศและปราดเปรียว ขนาดลำตัวยาวประมาณ 1-2 เมตร คอเรียว เล็กยาว ปากเป็นจะงอย ไร้ฟัน ถูกค้นพบในชั้นหินหมวดหินเสาขัว ที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อายุประมาณ 130 ล้านปี

25 อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ
เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ เดิน 4 ขา คอยาว หางยาว อายุยุคไทรแอสซิกตอนปลายประมาณ 209 ล้านปี ความยาวประมาณ เมตร ขุดค้นพบฟอสซิลที่จังหวัดชัยภูมิ โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ นายปรีชา อรรถวิภัชน์ อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี

26 ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ
  ค้นพบซากไดโนเสาร์กินพืชพันธุ์ใหม่ของโลกถือได้ว่าเป็นพันธุ์ใหม่ของโลกที่มีการค้นพบและมีการตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่เมืองนครราชสีมาซึ่งเป็นแหล่งที่พบ กับชื่อชนิดเพื่อเป็นเกียรติแก่วีรสตรีผู้นำที่กล้าหาญของชาวเมืองโคราช คือ ท่านท้าวสุรนารี รวมเป็นชื่อสกุลและชนิดใหม่ของโลกว่า "ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ"  (25 พ.ย.54) จะเห็นว่าแหล่งซากไดโนเสาร์ของ ประเทศไทยส่วนมากจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในชั้นหินทราย หินทรายแป้ง ซึ่งเป็นหินอยู่ในยุคไทรแอสสิก ตอนปลายถึงยุคครีเตเชียสตอนกลาง หรือตั้งแต่ ล้านปีที่ผ่านมา

27 ประเภทของการจัดลำดับชั้นหิน
ประโยชน์ของการศึกษาซากดึกดำบรรพ์และลำดับชั้นหิน 1.ทำให้ทราบว่าหลังจากเมื่อโลกได้กำเนิดขึ้นมา เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว นับจากนั้นมาสิ่งมีชีวิตเซลล์ เดียวแรกเริ่มเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 3,000 ล้านปีมาแล้ว และได้มีวิวัฒนาการซับซ้อนสูงมาจนถึงมนุษย์ปัจจุบัน  2. ทำให้ทราบถึงและเป็นหลักฐานในการศึกษาสภาพแวดล้อมลักษณะการสะสมตัวของชั้นหิน สภาวะอากาศสมัยบรรพกาล สภาพภูมิประเทศสมัยโบราณในขณะที่สัตว์เหล่านั้นยังมีชีวิตอยู่ คือ บอกเล่าถึงธรณีประวัติของโลก  เช่น  ธรณีวิทยาบริเวณภูเขาด้านตะวันตกของจังหวัดลำปางพบหินหลายชนิด ได้แก่ หินทราย หินทรายแป้ง หินกรวดมน และหินปูน ซึ่งเกิดสลับกัน 2 ช่วง โดยมีหินทราย หินกรวดมนสีแดงปิดทับอยู่บนสุด และพบซากดึกดำบรรพ์ได้แก่ หอยกาบคู่ และหอยงวงช้าง (แอมโมนอยด์) สะสมอยู่ในชั้นหินจากลักษณะของหินและซากดึกดำบรรพ์ แสดงลำปางเดิมเคยเป็นทะเล  ต่อจากนั้นเปลือกโลกนี้มีการเคลื่อนที่ ทำให้พื้นที่นี้ยกตัวสูงขึ้นดังที่พบเห็นในปัจจุบัน 3. เป็นข้อมูลเพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์เปรียบเทียบระหว่างชั้นหินในพื้นที่ต่างๆ กัน เช่น ถ้าพบซากดึกดำบรรพ์กลุ่มเดียวกันและเป็นชนิด (Species) เดียวกัน แน่นอน แสดงว่าในชั้นหินที่พบซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าวนั้น แม้ว่าอยู่ที่ต่างกัน แต่เกิดการสะสมตัวเป็นชั้นตะกอนในแอ่งสะสมตัวในช่วงเวลาเดียวกัน


ดาวน์โหลด ppt ซากดึกดำบรรพ์ .

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google