รูปแบบและแนวคิดสารสนเทศกับระบบการศึกษา
รูปแบบและแนวคิด สารสนเทศกับการศึกษา โมเดลซิงโครนัส เป็นการเรียนการสอนที่มีการนัดเวลา นัดสถานที่ นัดตัวบุคคลเพื่อให้เกิดการเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน รูปแบบนี้ยังเป็นสิ่งจำเป็นในวัยเยาว์ เด็กนักเรียนจะต้องเข้าโรงเรียนเพื่อเรียนแบบซิงโครนัส
รูปแบบและแนวคิด สารสนเทศกับการศึกษา (ต่อ) โมเดลอะซิงโครนัส เป็นการสร้างกิจกรรมแบบ 24 x 7 หมายถึงกิจกรรมการเรียนการสอนได้ 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วันในสัปดาห์ ระบบการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ไม่จำเป็นต้องนัดแนะเวลาและสถานที่แต่ให้ ตัวกลางคือเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนช่วยในการดำเนินกิจกรรม ระบบอะซิงโครนัส เช่น การเรียนการสอนผ่านเว็บ e-book
ไอที กับการพัฒนาการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศกับมหาวิทยาลัย การพัฒนาเครือข่ายของมหาวิทยาลัย การสร้างโฮมเพจรายวิชา การออนไลน์ระบบห้องสมุด การสร้างโมเดลการเรียนรู้แบบอะซิงโครนัส การเรียนการสอนทางไกล โครงการดิจิตอลไลบรารี การสร้างทรัพยากรการศึกษาภายในแบบ ftp
เทคโนโลยีสารสนเทศกับมหาวิทยาลัย (ต่อ) การขยายขอบเขตการคำนวณและงานวิจัย ระบบการค้นหาทรัพยากรบนเครือข่าย การลดค่าใช้จ่ายด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย การใช้ระบบการกระจายเสียง วิทยุ ทีวีบนเครือข่าย ระบบวีดีโอออนดีมานต์ การบริการข้อมูลกับนิสิตและสมาชิก
การพัฒนาเครือข่ายของมหาวิทยาลัย เพื่อการเรียนการสอน โดยเน้นเชื่อมโยงทุกวิทยาเขตเข้าด้วยกัน และใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งข้อมูลการเรียนรู้ ข้อมูลการบริการ ข้อมูลนิสิต
การสร้างโฮมเพจรายวิชา เพื่อให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จัดทำโฮมเพจรายวิชา เป็นที่เก็บทรัพยากรการสอน และการเรียนรู้ เป็นที่ติดต่อสื่อสารกับนักศึกษา การรับส่งการบ้าน การให้ข้อมูล ตลอดจนเอกสารคำสอนต่างๆ
การออนไลน์ระบบห้องสมุด ค้นหาข้อมูล ดูรายชื่อรายการ ตลอดจนค้นหาเอกสารและหนังสือของห้องสมุดกลางของมหาวิทยาลัย
การสร้างโมเดลการเรียนรู้แบบอะซิงโครนัส การเรียนการสอนแบบ any time any where และ any person
การเรียนการสอนทางไกล การเรียนการสอนข้ามวิทยาเขต สามารถเปิดการเชื่อมโยงแบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์แบบสองทิศทางไปยังวิทยาเขตต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
โครงการดิจิตอลไลบรารี ใช้ระบบห้องสมุดและการสร้างหนังสือแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ประโยชน์ในเรื่องการเป็นห้องสมุดในอนาคตที่จะมีข้อมูลและหนังสือ
การสร้างทรัพยากรการศึกษาภายในแบบ ftp เป็นการสร้างระบบเก็บข้อมูลเพื่อเป็นรากฐานบริการข้อมูล ซอฟต์แวร์ เอกสาร สิ่งพิมพ์ในรูปแบบเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการบริการการเรียนการสอนและการบริการ
การขยายขอบเขตการคำนวณและงานวิจัย โดยพัฒนาระบบการคำนวณแบบขนาน โดยใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจำนวนมากมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นคลัสเตอร์ บริการการคำนวณร่วมกันแบบขนาน
ระบบการค้นหาทรัพยากรบนเครือข่าย เน้นการใช้ระบบ search engine เพื่อค้นหาข้อมูลข่าวสาร เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ประโยชน์
การลดค่าใช้จ่ายด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย ระบบที่ทำให้มีการสื่อสารระหว่างบุคคลระหว่างนิสิต อาจารย์ ข้าราชการ ระบบยังรวมการเชื่อมโยงทั้ง Voice และ Data สามารถประชุมทางไกลการสร้างคุณค่าเพิ่มในเรื่องการสื่อสาร และส่งอีเมล์
การใช้ระบบการกระจายเสียง วิทยุ ทีวีบนเครือข่าย มหาวิทยาลัยสามารถตั้งสถานีโทรทัศน์และวิทยุของตนเองด้วยต้นทุนที่ต่ำ มีการจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ หรือการถ่ายทอดสดในเหตุการณ์สำคัญบนเครือข่าย
ระบบวีดีโอออนดีมานต์ เมื่อมีการเรียนการสอนทางไกลเกิดขึ้น จะมีการบันทึกการเรียนการสอนเป็นวีดีโอ สามารถนำเอาข้อมูลวีดีโอทั้งหมดรวมทั้งแผ่นใสเพาเวอร์พอยต์นำเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ให้นิสิตเรียกใช้ได้ภายหลังเกิดเป็นการเรียนแบบอัธยาศัยเกิดขึ้น
การบริการข้อมูลกับนิสิตและสมาชิก ลงทะเบียนผ่านเครือข่าย การเรียกดูผลการเรียน การสอบถามข้อมูลเกี่ยวข้องกับนิสิต และผู้เกี่ยวข้อง