บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมาย
กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่กำหนดขึ้น เพื่อกำหนดความประพฤติของพลเมือง ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามมีความผิด และถูกลงโทษ การบังคับนี้ใช้กับพลเมืองทุกคน ไม่จำกัด อายุ เพศ ชั้น วรรณะ สัญชาติ และกฎหมายจะใช้บังคับตลอดไปจนกว่าจะประกาศยกเลิก
ลักษณะของกฎหมาย ต้องมาจากรัฎฐาธิปัตย์ ต้องเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้โดยทั่วไปแก่ทุกคนในประเทศนั้นๆ ต้องใช้ได้ตลอดไป ประชาชนจะต้องปฏิบัติตาม ต้องมีสภาพบังคับ
ที่มาของกฎหมาย บทบัญญัติแห่งกฎหมาย จารีตประเพณี ศาสนา ความเห็นของนักปราชญ์กฎหมาย คำพิพากษาของศาล
ประเภทของกฎหมาย กฎหมายเอกชน กฎหมายมหาชน กฎหมายระหว่างประเทศ
ประวัติความเป็นมาของกฎหมายไทย กฎหมายสมัยกรุงสุโขทัย - พ่อขุนรามคำแหงยึดหลักคัมภีร์พระธรรมศาสตร์กับคติไทยน่านเจ้า - จารึกกฎหมายบนศิลาจารึกเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย - กฎหมายกำหนดสิทธิเสรีภาพของบุคคล และหน้าที่ของพลเมือง
กฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยา - ได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของพระมโนสาราจารย์ - กฎหมายที่บัญญัติขึ้นมีการเก็บไว้ที่ต่างๆ ห้องเครื่อง พระมหากษัตริย์ทรงอ่าน หอหลวง ขุนนาง ข้าราชการอ่านหรือคัดลอก ศาลหลวง ผู้พิพาษาตุลาการอ่านและนำมาตัดสิน
กฎหมายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ - ร.1 สะสางกฎหมายใหม่ เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ได้แก่ ตราราชสีห์ สมุยนายก (มหาดไทย) ตราคชสีห์ สมุหกลาโหม ตราบัวแก้ว ขุนคลัง (ต่างประเทศ) - ร.5 จัดระบบกฎหมายใหม่ ตั้งกระทรวงยุติธรรมและจัดระบบศาลแบบตะวันตก