งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วัตถุประสงค์ในการตราพระราชกฤษฎีกานี้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วัตถุประสงค์ในการตราพระราชกฤษฎีกานี้"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วัตถุประสงค์ในการตราพระราชกฤษฎีกานี้
ความหมาย การตราพระราชกฤษฎีกา วัตถุประสงค์ในการตราพระราชกฤษฎีกานี้

2 ความหมาย บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด

3 การตราพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องจะอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดนั้นๆ เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา โดยร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้อง เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว จะต้องนำร่างพระราชกฤษฎีกา ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกานั้นๆ นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จากนั้นจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้ต่อไป

4 วัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดประเภท ตำแหน่งและการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการครู ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยหรือข้าราชการครูในสถาบันการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ข้าราชการทหารและข้าราชการตำรวจ

5 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๑๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ “ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการพลเรือนตำรวจประเภทใด ตำแหน่งใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา”

6 การตราพระราชกฤษฎีกานี้
คือ คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ จะพิจารณาเป็นคราๆไป โดยพิจารณาให้เกิดความเหมาะสม เป็นธรรม ได้มาตรฐานและไม่เหลื่อมล้ำกันในเรื่องของเงินประจำตำแหน่ง อาศัยกับสภาพปัจจุบันในเรื่องของการ ครองชีพในประเทศที่มีอัตราสูงขึ้นจึงต้องปรับ และแก้ไข พระราชกฤษฎีกา ตามความเหมาะสม

7 สรุปเนื้อหา ตามมาตรา - ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง ประเภทบริหารระดับสูง ,ระดับกลาง,วช. *วช. สามารถแยกประเภทได้อีก 3 ประเภท 1. ตำแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพ องค์กรตามกฎหมายรับรองการประกอบวิชาชีพ (มี ๑๓ ประเภท) 2. ตำแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพ เป็นงานที่ขาดแคลนกำลังคนในภาคราชการ (มี ๖ ประเภท) 3. ตำแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพ เป็นงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีลักษณะในเชิงวิจัยและพัฒนา (มี ๗ ประเภท)

8 การตราพระราชกฤษฎีกานี้
คือ คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ จะพิจารณาเป็นคราๆไป โดยพิจารณาให้เกิดความเหมาะสม เป็นธรรม ได้มาตรฐานและไม่เหลื่อมล้ำกันในเรื่องของเงินประจำตำแหน่ง อาศัยกับสภาพปัจจุบันในเรื่องของการ ครองชีพในประเทศที่มีอัตราสูงขึ้นจึงต้องปรับ และแก้ไข พระราชกฤษฎีกา ตามความเหมาะสม


ดาวน์โหลด ppt วัตถุประสงค์ในการตราพระราชกฤษฎีกานี้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google