โครงสร้างสังคมไทย โครงสร้างสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่มีบรรทัดฐานของสังคมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้คนมาอยู่รวมกันเป็นสังคม อย่างสันติสุข
ลักษณะของสังคมไทย 1. เป็นสังคมเกษตรกรรม 2. มีการศึกษาตํ่า 3. มีความรักความผูกพันในถิ่นกำเนิด 4. ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี 5. มีนิสัยพึ่งพาอาศัยกัน ให้ความสำคัญกับระบบอุปถัมภ์ 6. เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ลักษณะของสังคมเมือง 1. มีความหนาแน่นของประชากรมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเป็นแบบทุติยภูมิ 3. มีระดับการศึกษาสูง 4. มีอาชีพหลากหลาย และรายได้สูง 5. มีมาตรฐานการครองชีพสูง 6. มีการแข่งขันกันสูง 7. มีความตื่นตัวทางการเมืองสูง 8. มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเร็ว
ลักษณะของสังคมชนบท 1. มีอาชีพทางการเกษตรกรรมมาก 2. มีการพึ่งพาธรรมชาติมาก 3. ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี 4. มีความสัมพันธ์กันแบบปฐมภูมิ 5. มีชีวิตความเป็นอยู่คล้ายๆ กัน
ลักษณะของสิ่งที่เป็นปัญหาสังคม 1. เป็นสภาวการณ์ที่สมาชิกในสังคมไม่พึงปรารถนา 2. มีผลกระทบต่อคนเป็นจำนวนมาก 3. มีความต้องการที่จะปรับปรุงแก้ไข
ตัวอย่างที่เป็นปัญหาสังคมไทย ได้แก่ ปัญหาความยากจน ปัญหาการกระจายรายได้ ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ปัญหายาเสพติดให้โทษ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาโรคเอดส์
ให้นักศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างสังคมไทย สังคมเมือง ความแตกต่าง สังคมชนบท ครอบครัว ประชากร ความสัมพันธ์ การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม อาชีพ คุณภาพชีวิต การคมนาคม
การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสังคมไทย 1. ค่านิยมเรื่องวัตถุนิยม 2. โครงสร้างสังคมจะเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทไปเป็นสังคมเมืองมากขึ้น 3. ความสัมพันธ์ในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป คนในครอบครัวไม่มีเวลาให้กัน 4. สังคมไทยต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีที่ทันสมัย และรับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น 5. สังคมเกษตรกรรมจะลดน้อยลง
6. ความไม่เท่าเทียมภายในสังคมมีมากขึ้น 7. คนไทยจะเกิดความตื่นตัวและเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น เนื่องจากอิทธิพลของสื่อ 8. ปัญหาการขยายตัวของเมือง 9. สถาบันการศึกษาจะเป็นในลักษณะผลิตคนเพื่อเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมมากขึ้น 10. ปัญหาทางสังคมจะหลากหลายและรุนแรงขึ้นกับคนทุกเพศทุกวัย อันเป็นผลเนื่องจากความเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม