เครือข่ายคอมพิวเตอร์ บทที่3 การสื่อสารข้อมูลและ เครือข่ายคอมพิวเตอร์
3.1 พัฒนาการของการติดต่อสื่อสาร
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลได้แก่ ผู้ส่ง(sender) ผู้รับ(receiver) ข่าวสาร (message) ตัวกลาง(media) และโพรโทคอล(protocol) ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันในการสื่อสาร ตัวอย่างในการสื่อสารข้อมูล เช่นการพูดคุยสื่อสารกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอนในชีวิตประจำวัน ผู้ส่งคือผู้สอน ผู้รับคือนักเรียน ข่าวสารคือสิ่งที่ผู้สอนบรรยาย ตัวกลางคืออากาศหรืออาจเป็นกระดานดำ โพรโทคอลคือภาษาที่ใช้
ในอดีตมนุษย์ใช้ภาษามือในการสื่อสาร ต่อมามีการใช้ภาษาในการสื่อสารและวาดภาพเพื่อบันทึกเรื่องราว ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้มีการพัฒนาให้ก้าวหน้ามากขึ้นทำให้การสื่อสารในปัจจุบันสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น เช่น โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต
การพัฒนาของการสื่อสาร พัฒนาการของการสื่อสาร ช่วงเวลา พัฒนาการของการสื่อสาร สมัยโบราณ การส่งข้อความระยะไกลต้องอาศัยคนนำสาร สัญญาณควันไฟ หรือนกพิราบสื่อสาร พ.ศ.2379 เซมมัวล์ มอร์ส คิดค้นรหัสมอร์ส ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง พ.ศ.2419 อเล็กซานเดอร์ เกรแฮมเบล ประดิษฐ์โทรศัพท์เพื่อการสื่อสารด้วยเสียงผ่านสายตัวนำ พ.ศ.2444 กูกลิโกโม มาร์โคนี ทดลองส่งรหัสมอร์สด้วยคลื่นวิทยุเพื่อการสื่อสารได้สำเร็จ พ.ศ.2501 สหรัฐอเมริกาส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารขึ้นสู่อวกาศ
พัฒนาการของการสื่อสาร ช่วงเวลา พัฒนาการของการสื่อสาร พ.ศ.2512 อินเทอร์เน็ต พ.ศ.2513 การสื่อสารระหว่างเครื่องปลายทางที่อยู่ห่างไกลเข้ามายังคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเพื่อประมวลผล พ.ศ.2516 การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์นะยะใกล้เพื่อทำงานร่วมกัน เช่น ระบบอีเทอร์เน็ต โทเค็นริง พ.ศ.2522 ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ เริ่มมีใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ.2530 การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย
รหัสมอส
3.2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3.2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในอดีตการสื่อสารข้อมูลจะใช้เครื่องปลายทาง (terminal) ที่อยู่ห่างไกล ส่งข้อมูลเข้ามายังคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเพื่อทำการประมวลผลข้อมูล ต่อมามีการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์ใช้งานในลักษณะเครื่องเดียว (stand alone) และสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น และเมื่อมีความต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้ทรัพยากรร่วมกันจึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันโดยเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นการนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อโดยผ่านตัวกลางในการสื่อสาร เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันและใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (resource sharing) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อทำงานร่วมกัน
เราสามารถสร้างระบบเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภทได้ หน่วยงานที่ต้องการลดต้นทุน อาจใช้ไมโครคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายโดยให้ไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลและใช้โปรแกรมต่าง ๆ ร่วมกันได้ ซึ่งทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน หน่วยงานสามารถขยายเครือข่ายการใช้คอมพิวเตอร์ขยายความจุข้อมูลของเครื่องบริการไฟล์ให้เหมาะกับขนาดของหน่วยงานได้ในอนาคต
บทบาทสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีต่อองค์กร เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญต่อองค์กรดังนี้ 1.ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและสามารถทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ได้พร้อมกัน 2.ส่งเสริมการใช้งานข้อมูลร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลกำไร 3.สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้คุ้มค่า เช่น แบ่งกันใช้ไฟล์ข้อมูล ใช้เครื่องพิมพ์ ทำให้ลดต้นทุน เพราะสามารถพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับหน่วยงานได้