ปุ๋ยหมักชีวภาพ Effective Microorganisms http://202.143.154.189/blog/userfiles/image/pui.jpg ปุ๋ยหมักชีวภาพ Effective Microorganisms นาย เพิ่มพูน เชาวนพูนผล 550510425 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาธรณีและอัญมณีวิทยา
ปุ๋ยหมักชีวภาพคืออะไร ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำเอนไซม์ ช่วยในการปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช ข้อมูล:http://www.ku.ac.th/e-magazine/march47/agri/puy.html รูป1:http://202.143.137.98/chonnabot/UserFiles/Image/lib/1263296420_34861263296420_3486.jpg
ความสำคัญของปุ๋ยหมักธรรมชาติ ด้านการเกษตร 1. ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด - ด่าง ในดินและน้ำ 2. ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น 3. ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นธาตุอาหารแก่พืช พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 4. ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชให้สมบูรณ์ แข็งแรงตามธรรมชาติ ต้านทานโรคและแมลง 5. ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช ทำให้ผลผลิตสูง และคุณภาพของผลผลิตดีขึ้น 6. ช่วยให้ผลผลิตคงทน เก็บรักษาไว้ได้นาน ความสำคัญของปุ๋ยหมักธรรมชาติ ด้านการเกษตร ด้านปศุสัตว์ ด้านการประมง ด้านสิ่งแวดล้อม http://my1.dek-d.com/monnarek/diary/?id=2707
ความสำคัญของปุ๋ยหมักธรรมชาติ ด้านปศุสัตว์ 1. ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มสัตว์ ไก่ สุกร ได้ภายใน 24 ชม. 2. ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 - 2 สัปดาห์ 3. ช่วยป้องกันโรคอหิวาห์และโรคระบาดต่างๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะ และอื่นๆได้ 4. ช่วยกำจัดแมลงวัน ด้วยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวัน ไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน 5. ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรค ให้ผลผลิตสูง และอัตราการรอดสูง ความสำคัญของปุ๋ยหมักธรรมชาติ ด้านการเกษตร ด้านปศุสัตว์ ด้านการประมง ด้านสิ่งแวดล้อม http://my1.dek-d.com/monnarek/diary/?id=2707
ความสำคัญของปุ๋ยหมักธรรมชาติ ด้านการประมง 1. ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้ 2. ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ 3. ช่วยรักษาโรคแผลต่างๆในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้ 4. ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมัก ใช้กับพืชต่างๆ ได้ดี ความสำคัญของปุ๋ยหมักธรรมชาติ ด้านการเกษตร ด้านปศุสัตว์ ด้านการประมง ด้านสิ่งแวดล้อม http://my1.dek-d.com/monnarek/diary/?id=2707
ความสำคัญของปุ๋ยหมักธรรมชาติ ด้านสิ่งแวดล้อม 1. ช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถาน-ประกอบการทั่วไป 2. ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่างๆ 3. ปรับสภาพของเสีย เช่น เศษอาหารจากครัวเรือนให้เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงสัตว์ และการเพาะ-ปลูกพืช 4. กำจัดขยะด้วยการย่อยสลายให้มีจำนวนลดน้อยลง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 5. ช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดชื่น และมีสภาพดีขึ้น ความสำคัญของปุ๋ยหมักธรรมชาติ ด้านการเกษตร ด้านปศุสัตว์ ด้านการประมง ด้านสิ่งแวดล้อม http://my1.dek-d.com/monnarek/diary/?id=2707
ปุ๋ยหมักชีวภาพในสูตรต่างๆ https://sites.google.com/site/banrainarao/knowledge/biofer_11
สูตรที่ 1 คุณสมยศ รักษาวงศ์ ส่วนผสม : ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง 1 ส่วน กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน วิธีผสม : ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกันทิ้งไว้ 7 วัน (น้ำหมักจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมัก มีสีน้ำตาลอ่อน และกลิ่นบูดแสดงว่าใส่น้ำตาลไม่พอให้เพิ่มกากน้ำตาลลงไปอีก กลิ่นบูดจะค่อยๆ หายไปหมักต่อไปเรื่อยๆ) ตวงน้ำหมักใส่ขวดหรือภาชนะเก็บในที่มืด ในห้องธรรมดาจะเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี
สูตรที่ 1 คุณสมยศ รักษาวงศ์ การประยุกต์ใช้กับพืชการเกษตร ข้าว ในพื้นที่นาข้าว 1 ไร่ ใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) 200 ก.ก. ผักสวนครัว ไม้ผลและไม้ยืนต้น การแก้ปัญหาวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี การปศุสัตว์
สูตรที่ 2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี 1. น้ำหมักชีวภาพจากปลา ส่วนผสม : เนื้อปลา น้ำกรดเข้มข้น 3% กากน้ำตาล 20% และหัวเชื้อจุลินทรีย์ วิธีทำ : นำมาผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 1 เดือน นำมากรองกากมาทำปุ๋ย และน้ำไปฉีดพ่น 2. น้ำหมักชีวภาพจากเศษซากพืช ส่วนผสม : เศษพืช 3 ส่วน น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล 1 ส่วน วิธีทำ : นำส่วนผสมรวมกันหมักทิ้งไว้นาน 3 เดือน
สูตรที่ 2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี 3. น้ำหมักสมุนไพร 3.1 พืชผักสวนครัว ส่วนผสม : เมล็ดสะเดา 2 ก.ก หัวข่าแก่ 1 ก.ก. ตะไคร้หอม 1 ก.ก. และน้ำหมักชีวภาพ 10 ลิตร วิธีทำ : นำส่วนผสมมาผสมรวมกัน 3.2 สวนไม้ผล ส่วนผสม : เมล็ดสะเดา 2 ก.ก หัวข่าแก่ 1 ก.ก. ตะไคร้หอม 1 ก.ก. และน้ำหมักชีวภาพ 20 ลิตร วิธีทำ : นำมาผสมรวมกันทั้งหมดทิ้งไว้ 1 คืน แล้วใช้ผ้ากรองมาใช้ประโยชน์