การตบ (Spike) การตบ (Spike) เป็นทักษะที่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจในการแข่งขัน เป็นทักษะที่จูงใจให้เด็กๆ อยากเล่นวอลเลย์บอลมากที่สุด สำหรับเนื้อหาในตอนนี้เป็นภาพรวมในด้านต่างๆ เรื่องการตบเพื่อให้ผู้ฝึกสอนหรือนักกีฬาได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการฝึกซ้อมต่อไป โครงสร้างกระบวนการตบ มีการะบวนการขั้นตอนดังนี้ การเคลื่อนที่เข้าตบ (Approach) การเตรียมกระโดด (take-off) และกระโดด (jump) การเคลื่อนไหวของแขนและลักษณะการตบ การลงสู่พื้น (landing) และเคลื่อนที่เพื่อเล่นบอลลูกต่อไป
ท่าทางสำหรับการกระโดด ในการกระโดดให้ได้สูงนั้นต้องใช้พลังและการทำงานที่ประสานกันของกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นการจัดตำแหน่งของร่างกายให้ดีก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน หากผู้เล่นจัดตำแหน่งร่างกายไม่ดี งอตัวมุมของลำตัวมากหรือน้อยเกินไปก็อาจจะทำให้กระโดดได้ไม่สูง (ดูภาพประกอบ)
ขั้นตอนการสอนทักษะการตบ ขั้นตอนที่ 1 การเหวี่ยงแขนในการตบ วิธีการเหวี่ยงแขนและตำแหน่งตบบอล
จุดสำคัญในการสอน : เหวี่ยง แขนอย่างรวดเร็วไปด้านหลัง ข้อศอกอยู่ระดับใบหู ตีบอลขณะบอลลอยอยู่เหนือศีรษะขณะที่บอลลอยอยู่สูงสุด ขณะสัมผัสบอลหักข้อมือลง ไม่แกว่งข้อศอก ขั้นตอนที่ 2 กระโดดจับลูกบอล ฝึกท่าทางจังหวะการกระโดดตบบอล
จุดสำคัญในการสอน : การก้าวเท้า 2 ก้าว ผู้เล่นถนัดขวาก้าวเท้าขวาก่อน มุมของลำตัวขณะจะเริ่มกระโดดเพื่อให้กระโดดสูงที่สุด ขั้นตอนที่ 3 การหยอด จุดสำคัญในการสอน : สัมผัสบอลด้วยปลายนิ้ว ไม่ใช้ฝ่ามือ ใช้การบิดข้อมือบังคับทิศทางลูกบอล ระวังการเล่นบอล 2 จังหวะ
ขั้นตอนที่ 4 การตบบอล โยนลูกบอลเหนือตาข่ายแล้วกระโดดตบ จุดสำคัญในการสอน : ท่าทางและจังหวะในการเคลื่อนที่ขณะกำลังกระโดด ขณะลอยตัว ขณะตบลูกบอล และการลงสู่พื้น
ขั้นตอนที่ 5 ตบบอลแนวตรงและแนวทแยง จุดสำคัญในการสอน : สังเกตการณ์เซตของตัวเซต และการเข้าตบบอลให้ถูกจังหวะ
ในการสอน : โยน ศอก เหวี่ยงแขนกลับข้ามหัวไหล่ ขั้นตอนที่ 7 ตบบอลเปลี่ยนทิศทางโดยการเปลี่ยนมุมการกระโดด ขั้นตอนที่ 7 ตบบอลเปลี่ยนทิศทางโดยการเปลี่ยนมุมการกระโดด จุดสำคัญจุดสำคัญในการสอน : โยนบอลไม่สูงเกินไป เหวี่ยงแขนไปด้านหลังงอศอก เหวี่ยงแขนกลับข้ามหัวไหล่ ในการสอน : โยน ศอก เหวี่ยงแขนกลับข้ามหัวไหล่
การบังคับทิศทางการตบ การบังคับทิศทางการตบบอลเพื่อให้ลูกบอลพุ่งไปยังทิศทางที่ต้องการนั้น มี 2 วิธี คืออาจใช้วิธีการตบโดยสัมผัสบอล ณ ตำแหน่งต่างๆ ของลูกบอล เช่น ซ้าย กลาง หรือขวา ส่วนอีกวิธีหนึ่งเป็นการบังคับทิศทางการตบด้วยทิศทางการเข้าตบบอล มีวิธีการ 3 แบบดังนี้ 1. การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงในแนวตรง การเคลื่อนที่เข้าตบบอลในแนวตรงเพื่อให้ทิศทางลูกบอลพุ่งตรงไปข้างหน้า (ดูภาพประกอบ) การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงในแนวทแยงมุม การเคลื่อนที่เข้าตบบอลในแนวทแยงมุมเพื่อให้ลูกบอลพุ่งไปตามแนวทแยงของฝั่งคู่ต่อสู้ (ดูภาพประกอบ)
2. เคลื่อนที่แนวเส้นโค้ง เป็นการเคลื่อนที่ในลักษณะแนวโค้งเพื่อตบบอลทแยงมุม
3. เคลื่อนที่แนวตรงแต่เปลี่ยนเท้าขณะกำลังกระโดด 3. เคลื่อนที่แนวตรงแต่เปลี่ยนเท้าขณะกำลังกระโดด การเคลื่อนที่เข้าตบบอลในแนวตรงแต่ในจังหวะสุดท้ายก่อนกระโดดจะวางเท้าทแยงมุม เมื่อกระโดดลอยตัวอยู่บนอากาศลำตัวจะทแยงมุมกับตาข่าย (ดูภาพประกอบ) A วิธีการก้าวเท้าเพื่อกระโดดตบ B วิธีการก้าวเท้าแต่เปลี่ยนทิศทางขณะจะทำการกระโดด
การตบเบาหรือหยอด มีหลายครั้งที่เราจะเห็นว่าในการแข่งขันวอลเลย์บอลนั้น วิธีการเคาะบอลหรือหยอด มีประสิทธิภาพในการโจมตีคู่ต่อสู้มากกว่าการตบบอลหนัก ทุกๆ ทีมต้องมีจุดอ่อนที่ผู้เล่นสามารถใช้การหยอดโจมตีได้ ดังนั้นการฝึกวิธีการหยอดก็เป็นเรื่องจำเป็นเพราะสามารถนำไปใช้ในการแข่งขันจริงได้ (ดูภาพประกอบ)
เทคนิคการตบเมื่อคู่ต่อสู้สกัดกั้นได้ดี เมื่อคู่แข่งเป็นผู้เล่นที่มีความสูง มีการสกัดกั้นที่ดี ผู้เล่นตัวตบต้องพยายามเล่นบอลโดยไม่ให้เสียคะแนนจากการสกัดกั้น โดยอาจจะใช้วิธีการตบบอลดังนี้ การตบบอลให้สัมผัสแนวสกัดกั้นออก หรือที่เรียกกันว่า “ตบทัชบอล” (ดูภาพประกอบ) การเคาะบอลเบาๆ กระทบแนวสกัดกั้นเพื่อให้บอลกระดอนกลับมาให้เพื่อนร่วมทีมสามารถนำมาเล่นได้อีกครั้ง เรียกว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากการสกัดกั้นของคู่ต่อสู้
การตบบอลเร็ว (Quick spike) การตบบอลเร็วเป็นเทคนิคการตบที่อาจทำให้ผู้สกัดกั้นไม่สามารถสกัดกั้นได้ทัน การตบบอลเร็วจะใช้ได้ดีสำหรับทีมที่มีการฝึกซ้อมกันมาเป็นอย่างดี โดยรูปแบบตำแหน่งการตบบอลเร็วพื้นฐานหลักๆ มีอยู่ 4 แบบ บอล A หน้า (Quick A) บอลเร็วด้านหน้าใกล้ตัวเซต บอล X หน้า (Quick B) บอลเร็วด้านหน้าห่างตัวเซต บอล A หลัง (Quick C) บอลเร็วด้านหลังใกล้ตัวเซต บอล X หลัง (Quick D) บอลเร็วด้านหลังห่างตัวเซต