SOPA
จัดทำโดย นางสาวมัทนา ทุนรวม รหัสนิสิต 52011711227 สาขา ENV นางสาวฑิฆัมพร โตอ่อน รหัสนิสิต 52010918243 สาขา Ac นางสาววิมลจันทร์ นักร้อง รหัสนิสิต 53010911167 สาขา MK นางสาวรุ่งระวี สนมศรี รหัสนิสิต 53011215051 สาขา ICT
SOPA/PIPA คือ ? SOPA (Stop Online Piracy Act) และ PIPA (Protect Intellectual Property Act) คือกฎหมายป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ และกฎหมายป้องกันทรัพย์สินทางปัญญา โดยกฎหมายเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อทำการปราบปรามการเผยแพร่คอนเทนต์ที่ผิดลิขสิทธิ์ของเว็บไซต์ต่างประเทศซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจบังคับคดีของสหรัฐอเมริกา พูดง่ายๆ คือหากเว็บไซต์ต่างประเทศนำเนื้อหาหรือคอนเทนต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของสหรัฐมาเผยแพร่จะถูกสั่งบล็อก และเซ็นเซอร์ (Censor) เว็บไซต์ห้ามให้เผยแพร่บนโลกออนไลน์
ประท้วงทำไม? ผู้ประท้วงเชื่อว่า SOPA และ PIPA นั้นมีการร่างโดยใช้คำที่คลุมเครือ รวมทั้งการมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ซึ่งนำไปสู่การเซ็นเซอร์ที่ไม่เป็นธรรมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ปิดกั้นการสร้างนวัตกรรมออนไลน์ใหม่ๆ รวมทั้งการใช้ SOPA/PIPA เป็นเครื่องมือโจมตีเว็บไซต์ต่างๆ ที่ไม่รู้เท่าทันและกลายเป็นเหยื่อของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สนับสนุนร่างกฏหมาย SOPA / PIPA กลับมองว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวนั้น เป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลความจริงหรือหลักฐานที่มารองรับแต่อย่างใด
ผลกระทบจาก…SOPA Google และ Wikipedia ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายนี้ตั้งแต่แรกแล้ว เนื่องจากมีผลกระทบต่อผลการค้นหาจากเครื่องมือค้นหา และการโฆษณา ต่างๆ เช่น Affiliate Program ของ Amazon หรือ Adsense, Adwords ของ Google โดยผู้ประท้วงทั้งหลายต่างเชื่อว่า SOPA/PIPA มีร่างกฎหมายที่ไม่ชัดเจน ไม่เป็นธรรม และเป็นการปิดกั้นความคิดเห็นที่เสรี และการต่อยอดทางความคิด และการสร้างนวัตกรรมออนไลน์ใหม่ๆ รวมไปถึงการใช้ SOPA/PIPA เป็นเครื่องมือในการโจมตีคู่แข่งทางธุรกิจ ที่ไม่รู้เท่าทัน
แม้เรื่องเหล่านี้จะเป็นเรื่องไกลตัวไปบ้างแต่ก็แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลหลายๆแห่งกำลังพยายามปิดกั้นเสรีภาพทางอินเตอร์เน็ทลงแม้ปากจะอ้างว่าปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา แต่กฎหมายที่ออกมามันพยายามปิดกั้นข้อมูลข่าวสารเพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านี้เป็นของฟรีแบบในปัจจุบันเสียมากกว่า
ผลของกฎหมายที่เกิดขึ้นจะส่งผลกับไทยหรือไม่? ต้องเข้าใจกันก่อนว่ากฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในสหรัฐอเมริกา กล่าวคือเป็นการควบคุมการเข้าถึงคอนเทนต์ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในอเมริกานั่นเอง ตัวเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์แต่ตั้งอยู่นอกประเทศอเมริกาก็ยังคงมีอยู่เพียงแต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ผ่านเครือข่ายในประเทศเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ผลบังคับดังกล่าวจึงไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับผู้ใช้งานในประเทศไทย
ยกตัวอย่างเช่น…. หาก SOPA มีผลบังคับใช้ในสหรัฐฯ ศาลจะสามารถสั่งห้ามทุกเว็บไซต์คบค้าหากินกับเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งครอบคลุมถึงบรรดาเครือข่ายโฆษณาออนไลน์หรือเครือข่ายชำระเงินออนไลน์ เช่น เพย์แพล (PayPal) โดยบริการค้นหาข้อมูลออนไลน์ (search engine) อย่าง Google หรือเว็บท่าต่างๆจะถูกสั่งห้ามเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์เหล่านั้น บริษัทต่างๆ จะต้องรับผิดชอบทางกฏหมายสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้ใช้โพสต์ เว็บไซต์อย่าง Facebook, YouTube, Twitter, Wikipedia หรือเว็บไหนก็ตามที่เปิดให้ผู้ใช้เข้ามาสร้างเนื้อหาเองได้ก็จะไม่รอดพ้นจากกฏหมายตัวนี้ที่สำคัญศาลจะสามารถสั่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้สะกัดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์นั้นได้ นั่นหมายความว่า บางเว็บอาจจะต้องปิดตัวลง
จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ