โครงงาน เรื่อง “บทบาทตัวละครงิ้ว” จัดทำโดย 1. ด.ช. บุญทรัพย์ เกิดเกียรติกุล ชั้น ม. 3/1 เลขที่ 5 2. ด.ญ. ปานฉัตร สุทธิวิสุทธิ์ ชั้น ม.3/1 เลขที่ 11 3. ด.ญ. วรวรรณ วิลาวัลย์ ชั้น ม.3/1 เลขที่ 17
ที่มาของโครงงาน งิ้ว หรือ อุปรากรจีน (จีน: 戏曲/戲曲; พินอิน: xìqǔ ; อังกฤษ: Chinese opera) เป็นการแสดงที่ผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์ต่างๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดงงิ้วด้วย เดิมประเทศจีนมีงิ้วราว 300 กว่าประเภท ส่วนใหญ่จะเป็นงิ้วท้องถิ่น ส่วนงิ้วระดับประเทศ เช่น งิ้วปักกิ่ง, งิ้วเส้าซิง, งิ้วเหอหนัน และงิ้วกวางตุ้ง โดยงิ้วปักกิ่งเป็นงิ้วที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คณะผู้จัดทำ มีความสงสัยว่า ตัวละครใดแสดงบทบาทใด มีหลักการสังเกตอย่างไร การใช้สีบนใบหน้า และสีเครื่องกายสัมพันธ์กันอย่างไร คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้น
บทบาทของผู้แสดงงิ้วมี 4-6 บทบาท คือ 1. 生 (shēng) เป็นบทบาทการแสดงของผู้ชาย ที่ผู้แสดงจะต้องฝึก 3 ชนิดด้วยกันคือ 老生 (lǎoshēng) 小生 (xiǎoshēng) คือ พระเอกบุ๋น คือตัวละครชายที่แสดงบทบาทเป็นชายวัยกลางคนจนถึงคนแก่ อาจติดหนวดเครา สีหนวดเคราแสดงถึงอายุที่มากขึ้นตามลำดับ คือ ดำ เทา และ ขาว เน้นหนักที่การร้องเป็นหลัก แสดงเป็นชายหนุ่ม พระเอกของเรื่อง ไม่ติดหนวดเครา แสดงถึงวัยเริ่มแตกเนื้อหนุ่มแต่ยังไม่มีหนวดเครารุงรัง ท่าทางสุภาพอ่อนน้อม เวลาร้องจะมีเสียงรัวเพื่อแสดงว่าเป็นคนหนุ่ม
武生 (wǔshēng) 娃娃生 (wá wa shēng) 红生 (hóngshēng) พระเอกบู๊ คือตัวละครชายที่รับบทนักรบหรือผู้มีวิทยายุทธ์ เน้นที่บทบาทการต่อสู้ เป็นพวกแสดงท่าทางโลดโผนหรือกายกรรม หกคะเมนตีลังกา เช่นพวกแสดงเป็นลิง เฮ่งเจีย เป็นต้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ บู๊แบบชุดรบ (มีธง) กับบู๊ทั่วไป พระเอกเด็ก คือ บทนาจา พระเอกที่มีใบหน้าสีแดง คือ บทกวนอู
2. 旦 (dàn)เป็นบทบาทการแสดงของผู้หญิง ซึ่งมี ๖ บทด้วยกันคือ 青衣旦 (qīngyīdàn) นางเอกแท้ เป็นบทแสดงหญิงเพียบพร้อมตามคุณสมบัติแบบที่คนโบราณกำหนด คือมีกิริยามารยาทเรียบร้อย เป็นกุลสตรีแบบผู้หญิงจีน ที่มีความจงรักภักดี เหนียมอายและนิ่มนวล ตัวละครที่รับบทนี้ มีทั้งตัวละครที่รับบทโศก และบทหญิงสูงศักดิ์ เน้นการร้องเป็นสำคัญ 老旦 (lǎodàn) 武旦 (wǔdàn) แสดงเป็นผู้หญิงมีอายุหรือหญิงแก่ มีทั้งบทบู๊และบุ๋น โดยแบ่งไปตามลักษณะบทบาท ฐานะ และอายุ เครื่องแต่งกายแบบเรียบง่าย ไม่แต่งหน้า การพูดหรือร้องใช้เสียงธรรมดาและน้ำเสียงต่ำกว่าตัวแสดงบทอื่นๆ คือตัวละครหญิงที่รับบทนักรบหรือผู้มีวิทยายุทธ์ เน้นที่บทบาทการต่อสู้ เป็นบทบาทโลดโผนเช่นเดียวกับอู่เซิง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ บู๊แบบชุดรบ (มีธง) กับบู๊ทั่วไป
花旦 (huādàn) 闺门旦 (guīméndàn) 彩旦 (cǎidàn) นางเอกสาวที่มีฐานะทางสังคมต่ำกว่าชิงอี้ แสดงออกทางเจ้ามารยาของวัยสาว เน้นการร้องและการแสดงพร้อมกัน บทนี้ยังรวมไปถึงคนใช้คนสนิทของนางเอก ที่คอยรับใช้ติดตามตัวคุณหนูตลอดเวลา 闺门旦 (guīméndàn) เป็นเด็กสาวในสังคมชั้นสูงที่จะเป็นชิงอี้ในอนาคต 彩旦 (cǎidàn) บทสาวใช้ ในที่นี้หมายถึงตัวตลกหญิง
3. 净 (jìng)บทหน้าลาย เป็นการระบายสีบนใบหน้าเป็นรูปหน้ากากที่แตกต่างกันไปตามบทตัวละครแต่ละตัว ซึ่งมีหน้ากากเฉพาะตน เช่น กวนอู เล่าปี่ โจโฉ เป็นต้น มีทั้งฝ่ายดีและเลว แบ่งได้เป็น บุ๋นและบู๊
4. 丑 (chǒu) แสดงบทตัวตลกด้วยคำพูด โดยเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมาล้อเลียนหรือเล่นตลก แล้วพูดเป็นสำเนียงคนท้องถิ่น ตัวตลกชายจำง่ายด้วยการเอาสีขาวป้ายจมูกและขอบตา แต่บางครั้งทาหน้าแบบนี้อาจแสดงเป็นตัววายร้ายก็ได้ ส่วนตัวตลกหญิงแต่งหน้าทาสีแดง แล้วทาคิ้วสีดำ แบ่งออกเป็นบุ๋นและบู๊เช่นกัน
อ้างอิง แหล่งที่มาภาพ : ent.ifeng.com, citygf.com, lishaochunjinianguan.net, guangongcn.org , xijucn.com, xijucn.com, fishbloodsoup.tumblr.com, qing.weibo.com, nipic.com , mask9.com hongdou.gxnews.com.cn, tupian.hudong.com fenlei.hudong.com, showchina.org dzh.mop.com, tuku.meili.cn แหล่งที่มาข้อมูล : http://chinese-kaixins.blogspot.com/2009/10/blog-post_7213.html