เศรษฐกิจพอเพียง
เมนูหลัก 6. ประการที่ สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง 5.หลักการและแนวทางสำคัญ 6. ประการที่ สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง 5.หลักการและแนวทางสำคัญ 1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4.การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 2.ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง 3.ความสำคัญของทฤษฎีใหม่
1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต และ ปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน การ พัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนิน ไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวหน้าต่อ การเปลี่ยนแปลงของโลก
2. ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ให้ มีความพอเพียงกับตัวเอง อยู่ได้โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเอง และผู้อื่น ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อนมี ความพอกินพอใช้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ย่อมสามารถ สร้างความ เจริญก้าวหน้าและฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศได้
3.ความสำคัญของทฤษฎีใหม่ 1. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน 2. มีการคำนวณโดยใช้หลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้ พอเพียงต่อการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมตลอดปี 3. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบสำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยมีถึง ๓ ขั้นตอน
4.การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยร่วมปฏิบัติในสิ่งง่ายดังนี้ 1.ยึดหลักประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในทุกด้าน ลดลง 2.ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลน ในการดำรงชีพ 3.ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ที่รุนแรงและไม่ถูกต้อง 4.ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ โดยขวนขวายหา ความรู้ ให้เกิดรายได้เพิ่มพูนจนถึงขั้นพอเพียง 5.ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วร้ายให้หมดสิ้นไป
5.หลักการและแนวทางสำคัญ 1. เป็นระบบการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเลี้ยง ตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน 2. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้น จึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำนาประมาณ ๕ ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกิน ตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมี อิสรภาพ 3. ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้ง ช่วงได้อย่างพอเพียง
6. ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง 1.พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป 2.พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยา เคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) 3.พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มี เช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด