โครงงานสุขศึกษาและพลศึกษาเรื่อง ปปัญจธรรม3และการกระทำของวัยรุ่น เสนอ อาจารย์ ทัศนีย์ ไชยเจริญ อาจารย์ ศราวุธ ไชยเจริญ โดย ด.ช.ภาณุพงศ์ รักเชื้อ
ปปัญจธรรม 3 ก่อนที่เราจะพิจารณาว่าต้นทางของเส้นทาง การปฏิบัติธรรมอยู่ที่ตรงไหน ผู้เขียนขอเสนอให้เพื่อนนักปฏิบัติขจัดสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 3 ประการ เรียกว่า ปปัญจธรรม อันเป็นกิเลสเครื่องเนิ่นช้า เป็นตัวการทำให้คิด ปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่ายๆ และเปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริง กิเลส 3 ประการนี้ ได้แก่
1.มานะ คือความถือตัวว่าเรารู้ดีแล้ว เราเก่งแล้ว หรือผู้แสดงธรรมท่านอื่นก็รู้พอๆ กันกับเรา หรือเรามันโง่เขลาเบาปัญญาไม่มีทางที่จะเรียนรู้ธรรมได้เลย
ทิฏฐิ คือการมีความเชื่อมั่นหรือปักใจเชื่อในแนวทางปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีอยู่เดิม คิดว่าแนวทางของเราที่ทำอยู่นี้เท่านั้นถูกต้อง แนวทางอื่นๆ ไม่ถูกต้อง ความรู้สึกอย่างนี้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างมาก พอได้ฟังสิ่งใดที่ขัดแย้งหรือแตกต่างจากความเชื่อเดิมก็เกิดโทสะเสียแล้ว
ตัณหา ตัณหา คือความอยาก ในที่นี้หมายถึงความอยากที่จะปฏิบัติธรรม และความอยากที่จะบรรลุธรรม เมื่อมีความอยากก็เกิดการกระทำตาม อำนาจของความอยากต่างๆ นานา ตรงกับคำสอน ของพระพุทธเจ้าที่ว่า "ตัณหาเป็นผู้สร้างภพ" คือสร้างความปรุงแต่งหรือการงานทางใจที่เรียกว่า "กรรมภพ' ขึ้นมา
มานะต่อการกระทำของวัยรุ่น วัยรุ่นส่วนใหญ่มักคิดว่าเราเก่งแล้วข้าเก่งที่สุดแม้บิดามารดาเตือนก็ไม่ฟัง เพราะคิดว่าเราเก่งแล้วจึงทำให้เกิดบาปขึ้นโดยไม่รู้ตัวและไม่สามารถเรียนรู้เรื่องใดๆได้อีก
ทิฏฐิต่อการกระทำของวัยรุ่น วัยรุ่นถ้าเชื่อในสิ่งใดแล้วก็จะเชื่อในเส้นทางนั้นตลอดแม้จะมีสิ่งอื่นเข้ามาใหม่ก็อยากนักที่จะเปลี่ยนใจเขาได้
ตัณหาต่อการกระทำของวัยรุ่น วัยรุ่นอยากได้สิ่งใดก็จะพยายามทำสิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะถูกหรือผิดเพื่อให้ได้สิ่งนั้น
คำคม ชีวิตก็เหมือนนาฬิกาไม่มีวันถอยหลังกลับ
อ้างอิง http://board.palungjit.com/f4/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81-%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-3-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-183649.html