รายงาน เรื่อง สุ่ม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จัดทำโดย 1.นางสาวกนกวรรณ ธีรฐิติธรรม เลขที่ 15 2.นางสาวภัทราวริน เขียวหนู เลขที่ 25 3.นางสาวประภัสสร จันทร์ภูมิ เลขที่ 21 4.นางสาวเปรมฤดี บุญสม เลขที่ 38 5.นายสิทธิโชค วงษ์หาจักร เลขที่ 8 6.นายธีรพล เศรษฐี เลขที่ 4 7.นายชัชวาล คนคล่อง เลขที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 วิชา ประวัติศาสตร์ 4 เสนอ แม่ครูอรวรรณ กองพิลา โรงเรียนฝางวิทยายน
สุ่ม เป็นเครื่องมือสำหรับครอบปลา สานด้วยซี่ไม่ไผ่เป็นตา ๆ หรือถักหวายเถาวัลย์และลวด สามารถนับเป็นของใช้พื้นบ้านที่อยู่ทั่วทุกภาค หากแต่มีการเรียกชื่อแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น สุ่มโมง เป็นสุ่มมีขนาดกว้างใหญ่กว่าสุ่มชนิดอื่น โมงมาจากภาษาถิ่น คือ โม่ง มีความหมายว่า ใหญ่โต สุ่มโมงบางพื้นที่เรียกว่า สุ่มซี่ หรือสุ่มก่องซึ่งเรียกตามลักษณะการทำงานของชาวบ้าน สุ่มโมงจะใช้ไม้ไผ่ยึดติดกันโดยมีวงหวาย ประมาณ ๕๐ - ๑๐๐ ซี่ หากสุ่มใหญ่ก็ใช้ซี่ไม้ไผ่มากขึ้น หรือวงไม้ไผ่ทำเป็นกรอบไม้ภายใน ดารถักเส้นหวายเถาวัลย์หรือลวด จะถักซี่ไม้ไผ่รัดกับวงภายในให้แน่น บางทีชาวบ้านเรียกการถักร้อยสำหรับยึดให้แน่นนี้ว่า “ ก่อง ” จึงเรียกสุ่มก่อง และลักษณะที่ก่องเป็นซี่ ๆ นี้เอง จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สุ่มซี่
สุ่มสาน เป็นสุ่มขนาดแคบกว่าสุ่มโมง เหลาซี่ไม้ไผ่จำนวนมาก สานเป็นลายขัดตาสี่เหลี่ยมห่าง ๆ แต่ไม่ให้ปลาลอดออกได้ บางทีก็เรียกว่า สุ่มขัด สุ่มชนิดนี้ไม่ต้องใช้หวายเถาวัลย์ หรือลวดถักยึดใด ๆ
สุ่มกลอง มีรูปเล็กกว่าสุ่มสานเล็กน้อย การทำสุ่มจะใช้หวายเถาวัลย์หรือลวดถักสุ่มส่วนบน ส่วนล่างใช้ซี่ไม้ไผ่สานขัดเป็นสี่เหลี่ยม
สุ่มงวม หรืออีงวม มีลักษณะพิเศษแตกต่างกัน สุ่มภาคอื่น ๆ มีขนาดใหญ่กว่าสุ่มโมงมาก สุ่มบางอันสูงเกินกว่า ๑ เมตรก็มี สุ่มงวมจะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ปลายตีนสุ่มกว้างออกเล็กน้อย ด้านบนทำเป็นวงกว้างเพื่อใช้มือ ๒ ข้าง ล้วงจับปลาในสุ่มได้สะดวก การสานสุ่มงวมจะสานด้วยตอกผิวไม้ไผ่บาง ๆ สายลายขีดทึบโดยตลอด
การสุ่มปลามักสุ่มในห้วงน้ำไม่กว้างและลึกนัก สุ่มไปเรื่อยๆ เหมือนคำว่า สุ่มสี่สุ่มห้า แล้วเอามือล้วงควานภายในสุ่ม ถ้าครอบปลาได้จะควานจับใส่ข้องที่มัดสะพายติดตัวไป สมัยก่อนนั้นการสุ่มปลาใช้คนลาก “ ไม้ค้อน ” ซึ่งเป็นไม้ท่อนกลมจนน้ำ ใช้เชือกมัดท่อนไม้ ๒ ข้าง ใช้คน ๒ คน ลากในห้วงน้ำ คนถือสุ่มหลาย ๆ คนจะเดินตามไม้ค้อน ปลาเมื่อเห็นไม้ค้อนลากมาใกล้ตัวหรือถูกตัวจะกระโดดหนี บางทีมีฟองน้ำเป็นทิวๆ ไปข้างหน้า การกระโดดและว่ายหนีนี้จึงเป็นข้อสังเกตให้สุ่มปลาได้ถูกต้อง ในนิราศสุพรรณบุรีของสุนทรภู่ยังได้กล่าวถึง เรื่องสุ่มปลาไว้ว่า ศีรษะเสียงเสียงแซ่ล้วน พวกลาว แก่หนุ่มสุ่มปลาฉาว แช่น้ำ ผ้าบ่นุ่งพุงขาว ขวยจิต รอดเอย เดกด่วนชวนเพื่อนค้ำ ค่ามให้ใกล้ลาว
สุ่มนอกจากใช้ครอบปลาแล้ว ยังเป็นอุปกรณ์บีบนวดตาลสุกทำขนมตาล ใช้ครอบเด็กเกิดใหม่ไม่ให้ผีเข้า ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวพื้นบ้านบางถิ่น และยังใช้ครอบลูกไก่ได้ด้วย
แหล่งอ้างอิง ที่มา: เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ http://www.culture.go.th/knowledge/story/wickerware/wickerware.html http://www.watsamrong.com/animal.htm http://www.pongrang.com/web/data/a4/04/revival.snru.ac.th/pompanya/p-5.htm http://dungtawan.multiply.com/photos/album/241/241 http://www.oknation.net/blog/nonglek/2009/04/18/entry-1 http://www.thaimrcfisheries.org/fishing%20gear_01.html