CHAPTER-15 “NATIONAL DEBT” & Crowding Out Of Capital.
National Debt and Crowding Out Of Capital. การเก็บออมที่ประชาชนสามารถกระทำได้นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท การถือพันธบัตรรัฐบาล (Government Bonds) และ การลงทุนในสินทรัพย์ประเภททุน (Capital Investment) สมการการออม st = kt + bt ศึกษาผลจากการเพิ่มปริมาณพันธบัตร(การก่อหนี้ประชาชาติ)ที่กระทบต่อปริมาณการลงทุนในสินทรัพย์ทุน
การวิเคราะห์และเครื่องมือ วิเคราะห์การก่อหนี้ประชาชาติของรัฐบาลใน 2 กรณี การก่อหนี้ประชาชาติที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุน การก่อหนี้ประชาชาติที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุน (Neutral) เศรษฐกิจภายใต้เงื่อนไข Overlapping Generations มีประชากรสองช่วงชีวิต คนหนุ่มมีผลผลิต y1, คนแก่มีผลผลิต y2 สมมติให้ประชากรคงที่ในทุกช่วงเวลา สมมติการลงทุนในสินทรัพย์ทุนให้ผลตอบแทน x เมื่อผ่านไปหนึ่งช่วงเวลา ระบบไม่มีเงิน และรัฐบาลสามารถออกพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนเท่ากับการลงทุนได้ รัฐเก็บภาษีจากคนหนุ่มเป็นผลผลิตจำนวน 1 หน่วย ,จากคนแก่ 2 หน่วย
สามารถเขียน Lifetime Budget Constraint ของประชากรได้ดังนี้ c1,t + (c2,t+1)/r ≤ y1 - 1 + (y2,t+1 - 2)/r และสมการงบประมาณของรัฐบาลเป็น gt + rbt-1 = 1 + 2 + bt หากรัฐดำเนินนโยบายลดภาษีต่อหัวของคนหนุ่มในรูปของผลผลิตลง 100 หน่วย จะทำให้เกิดความต้องการถือพันธบัตรต่อหัวของคนหนุ่มเพิ่มขึ้น
ผลกระทบจากการออกพันธบัตรต่อการลงทุน จากสมการ st = kt + bt จะได้ st =kt +bt st = 100 - c1,t = kt + 100 kt = - c1,t < 0 ประชาชนจะสามารถถือพันธบัตรได้ถ้าหากลดปริมาณการลงทุนในสินทรัพย์ทุนลง พฤติกรรมนี้เรียกว่า Crowding-out of capital
Deficit and Interest Rate การดำเนินนโยบายขาดดุลของรัฐและผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย จากกฎการเท่ากันของอัตราผลตอบแทน (Rate of return equality) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเท่ากับผลตอบแทนส่วนเพิ่มของสินทรัพย์ทุน ปริมาณสินทรัพย์ทุนมีความสัมพันธ์ผกผันกับอัตราดอกเบี้ย รัฐบาลชักจูงให้ประชาชนหันมาถือพันบัตรโดยเพิ่มอัตราดอกเบี้ย การลงทุนในสินทรัพย์ทุนลดน้อยลง เกิด Crowding-out of capital
Neutral Government Debt การก่อหนี้ประชาชาติที่ไม่ส่งผลต่อการลงทุนในสินทรัพย์ทุน ผู้ที่ได้รับลดหย่อนในช่วงเวลา t จะถูกเก็บภาษีคืนในช่วงเวลา t+1 ตัวอย่างวิเคราะห์ – รัฐบาลใช้นโยบายการคลัง 2 รูปแบบ 1.รัฐเก็บภาษีจากคนหนุ่มในช่วงเวลา t เท่ากับรายจ่าย gt 2.รัฐไม่เก็บภาษีจากคนหนุ่ม แต่ทำการออกพันธบัตรเพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายภาครัฐ bt = gt ที่ให้ผลตอบแทนในช่วงเวลา t+1 โดยที่ ณ เวลา t+1 รัฐทำการเรียกเก็บภาษีจากคนแก่ผู้ซึ่งได้รับการลดภาษีในตอนหนุ่ม ณ ช่วงเวลา t
ตารางเปรียบเทียบนโยบาย 2 แบบของรัฐ นโยบายที่ 1 1 = gt Bt = 0 2 = 0 นโยบายที่ 2 1 = 0 Bt = gt 2 = rbt ซึ่งนโยบายแบบแรก ประชาชนจะมีสมการงบประมาณเป็น c1,t + (c2,t+1)/r ≤ y1 – gt + (y2)/r ส่วนนโยบายแบบที่สองนั้น ประชาชนจะมีสมการงบประมาณเป็น c1,t + (c2,t+1)/r ≤ y1+ (y2 – rgt)/r
จากสมการงบประมาณของประชาชน c1,t + (c2,t+1)/r ≤ y1 - 1 + (y2,t+1 - 2)/r แทนค่าจากตารางนโยบายที่สองลงไปจะได้ c1,t + (c2,t+1)/r ≤ y1+ (y2 – rgt)/r - จะเห็นว่าการดำเนินนโยบายของรัฐบาลนั้นไม่ได้ส่งผลให้ประชาชนรู้สึกว่าตนเองมีความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากส่วนเพิ่มที่ประชาชนได้รับจากการลดภาษีนั้น จะถูกนำไปฝากทั้งหมดเพื่อที่จะนำไปจ่ายภาษีในช่วงเวลา t+1 - ปริมาณการออมจะเพิ่มขึ้นเท่ากับพันธบัตรที่ออก และส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงในการลงทุนเท่ากับ 0 (k = 0)
สรุปเนื้อหา เนื้อหาของบทนี้จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาว่าการสร้างหนี้ประชาชาติของรัฐบาลนั้นจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจบริโภค ออมและลงทุนของเอกชนได้อย่างไร ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษานั้นขึ้นอยู่กับอายุของหนี้ที่ก่อขึ้นมาและกำหนดระยะในการเรียกเก็บภาษีคืนจากประชาชน ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์มาสองกรณีได้แก่กรณีแรกที่หนี้ประชาชาติส่งผลต่อปัจจัยอื่นๆ และอีกกรณีหนึ่งที่ไม่มีผลกระทบใดๆ กรณีแรกนั้นเราวิเคราะห์การที่หนี้ประชาชาติส่งผลต่อปัจจัยในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งในกรณีนี้ประชาชนจะได้ประโยชน์จากการดำเนินนโยบายขาดดุลของภาครัฐโดยลดอัตราภาษีลงและการเรียกเก็บหนี้สินส่วนนี้คืนรัฐนั้นจะทำการเรียกเก็บกับบุคคลในช่วงเวลาอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลให้ความมั่งคั่งเพิ่มสูงขึ้น และทำให้การบริโภคในทั้งสองช่วงเวลาของประชาชนนั้นสูงขึ้นและทำให้เกิดการลดการสะสมทุนลง แสดงให้เห็นถึงอัตราภาษีแท้จริงที่เพิ่มสูงขึ้น
THE END ???