RADIOLOGY DEPARTMENT กลุ่มงานรังสีวิทยา
บริการ 24 ชั่วโมง 12.00 น. - 13.00 น. พักเครื่องเอกซเรย์และเครื่องล้างฟิล์ม รับเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉิน
หน่วยงานทางรังสีวิทยา ประกอบด้วย งานรังสีวินิจฉัย (โรงพยาบาลพัทลุง) งานรังสีรักษา งานเวชศาสตร์นิวเคลียร์
ขั้นตอนการเอกซเรย์ 1.ลงทะเบียนผู้ป่วย 2.พิมพ์soundexแลสติ๊กเกอร์ติดซองฟิล์ม 3.เอกซเรย์ 4.ล้างฟิล์ม 5.ตรวจสอบภาพเอกซเรย์และเขียนซองฟิล์ม 6.ส่งฟิล์มให้ผู้ป่วย
ประเภทการให้บริการทางรังสีวิทยา เอกซเรย์ทั่วไป (General x-ray) เอกซเรย์ตรวจพิเศษ (Special x-ray) เอกซเรย์เคลื่อนที่ (Portable x-ray) เอกซเรย์ฟัน (Dental x-ray) อัลตราซาวด์ (Ultrasound)
เอกซเรย์ทั่วไป หมายถึงการเอกซเรย์ธรรมดาทั่วๆไป เอกซเรย์ทั่วไป หมายถึงการเอกซเรย์ธรรมดาทั่วๆไป ตัวอย่างเช่น SKULL (ศีรษะ) CHEST (ปอด) ABDOMEN (ท้อง) HUMERUS (ต้นแขน) FOREARM (แขน) FEMURE (ต้นขา) LEG (ขา) C-SPINE (กระดูกคอ) T-SPINE (กระดูกสันหลัง) TL-SPINE LS-SPINE PELVIC (อุ้งเชิงกราน)
เอกซเรย์ตรวจพิเศษ หมายถึงใช้สารทึบรังสี(contrast media)ร่วมกับการเอกซเรย์ ประกอบด้วย การตรวจ IVP การตรวจ BARIUM ENEMA การตรวจ BARIUM SWALLOWING การตรวจ UPPER GI การตรวจ MYELOGRAM
สารทึบรังสี ( Contrast media ) หมายถึง สารที่ช่วยทำให้เห็นอวัยวะที่ต้องการตรวจเนื่องจาก อวัยวะเหล่านั้นไม่สามารถตรวจเห็นจากเอกซเรย์ธรรมดา วิธีการใช้ Contrast Media ( C.M. ) รับประทาน เช่น ตรวจ UPPER G.I. ฉีด เช่น ตรวจ IVP สวน เช่น ตรวจ BE
การตรวจ Intravenous pyelography ( I.V.P. ) หมายถึง การตรวจดูระบบขับถ่ายปัสสาวะ โดยวิธีการฉีดสารทึบรังสีร่วมกับเอกซเรย์
ข้อควรระวังในการตรวจ IVP 1.ไม่แพ้สารทึบรังสีหรือแพ้อาหารทะเล 2.ไม่เป็นโรคหอบหืด 3. ค่า Cr.ไม่สูงเกินที่กำหนด ( ปัจจุบัน 1.5 mg/dl )
เอกซเรย์เคลื่อนที่ ( Portable ) หมายถึง การไปเอกซเรย์ผู้ป่วยตามตึกต่างๆ
ลักษณะผู้ป่วยที่ต้องเอกซเรย์ ( Port. ) ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ผู้ป่วยโรคหัวใจและไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนัก(ICU)
ข้อเสนอแนะในการใช้เอกซเรย์เคลื่อนที่ ( เพื่อคุณภาพของภาพเอกซเรย์และยืดอายุการใช้งานของเครื่อง ) ผู้ป่วยรับใหม่ควรเอกซเรย์ที่ห้องฉุกเฉิน ก่อนเข้าตึก ผู้ป่วยคนเดียวที่ต้องเอกซเรย์หลายฟิล์มควรส่งไปเอกซเรย์ที่แผนกเอกซเรย์เพราะการเอกซเรย์หลายๆภาพต่อเนื่องกันอาจทำให้เครื่องเสียหายได้ ความคมชัดและรายละเอียดของภาพเอกซเรย์จากเครื่อง port น้อยกว่าภาพเอกซเรย์ที่ได้จากเครื่องใหญ่ที่แผนกเอกซเรย์
การออกเอกซเรย์เคลื่อนที่ รอบช้า 10.30 น. - 11.30 น. รอบบ่าย 14.30 น.- 15.30 น. ยกเว้นกรณีจำเป็นเร่งด่วนและผู้ป่วยห้องฉุกเฉิน
เอกซเรย์ฟัน ( Dental x-ray ) ประกอบด้วย การเอกซเรย์ฟันแบบทั้งปาก (Panoramic) การเอกซเรย์ฟันแบบแยกเป็นซี่ๆ
การตรวจอัลตราซาวด์ ( Ultrasound ) หมายถึง การตรวจโดยวิธีการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง
ประเภทการตรวจอัลตราซาวด์ U/S Whole Abdomen (NPO) U/S Upper Abdomen (NPO) U/S Brain U/S Pelvis (Full bladder) U/S Chest U/S Small part U/S Breast U/S color droppler
การป้องกันอันตรายจากรังสี RADIATION PROTECTION การป้องกันอันตรายจากรังสี
หลักการป้องกันอันตรายจากรังสี ประกอบด้วยปัจจัย 3 ประการ 1. Distance (ระยะทาง) 2. Time (เวลา) 3. Shielding ( เครื่องกำบัง )
ระยะทาง ( Distance ) ควรห่างจากเครื่องเอกซเรย์ อย่างน้อย 3 เมตร
ใช้เวลาอยู่ในบริเวณที่มีรังสีให้น้อยที่สุด เวลา ( Time ) ใช้เวลาอยู่ในบริเวณที่มีรังสีให้น้อยที่สุด
เครื่องกำบัง ( Shielding ) วัสดุที่สามารถกั้นรังสีได้ ตะกั่ว คอนกรีตหนาๆ
ผู้ป่วยมีครรภ์ อายุครรภ์ 1-3 เดือน ไม่ควรสัมผัสรังสีเลย อายุครรภ์ มากกว่า 3 เดือน สัมผัสรังสีได้เท่าที่จำเป็นจริงๆ