งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รองศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์ สิทธิสมบัติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รองศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์ สิทธิสมบัติ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รองศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์ สิทธิสมบัติ
ภยันตรายของทรวงอก รองศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์ สิทธิสมบัติ

2 ภยันตรายของทรวงอก ภาวะที่ผนังทรวงอกและ/หรืออวัยวะภายในทรวงอก เช่น
หัวใจ ปอด หลอดเลือด หลอดลม หลอดอาหาร และกระบังลม ได้รับบาดเจ็บจากแรงภายนอกมากระทำ

3 ภยันตรายของทรวงอก: มี 2 แบบ
1.แบบที่มีรูทะลุจากภายนอกเข้าไปในทรวง [penetrating   หรือ open-chest  trauma] 2. แบบที่ไม่มีรูทะลุสู่ทรวงอก  เรียกว่า non  penetrating  หรือ  close-chest trauma

4 ภยันตรายของทรวงอก 1.แบบที่มีรูทะลุจากภายนอกเข้าไปในทรวง
เช่น ถูกยิง ถูกแทง วัตถุอื่น ๆ ทะลุเข้าไป   เป็นอันตรายรุนแรงได้เนื่องจาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความดันภายในทรวงอก

5 ภยันตรายของทรวงอก 2.แบบที่ไม่มีรูทะลุสู่ทรวงอก
2.แบบที่ไม่มีรูทะลุสู่ทรวงอก   อุบัติเหตุบนท้องถนนทำให้เกิดภยันตรายประเภทนี้มากที่สุด เช่น ถูกพวงมาลัยกระแทกหน้าอก

6 ภยันตรายของทรวงอก ผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายทรวงอกทุกรายควรได้รับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

7 ความผิดปกติที่พบบ่อยใน ผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายทรวงอกมักเกิด

8 Pneumothorax ภาวะที่มีลมอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด อาจเกิดจาก
มีรูทะลุผนังทรวงอกทำให้อากาศผ่านเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอดโดยตรง หรือ กระดูกซี่โครงหักทิ่มแทงเนื้อปอดทำให้ ฉีกขาด เกิดลมรั่วเข้าไปในเยื่อหุ้มปอดได้

9 Pneumothorax แบ่งเป็น 3 ชนิด
1. Open Pneumothorax เป็นภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด จากการ มีรูหรือทางติดต่อภายในทรวงอกกับบรรยากาศภายนอก  

10 Pneumothorax แบ่งเป็น 3 ชนิด
2. Closed Pneumothorax เป็นภาวะที่มีลมอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด โดยไม่มีทางติดต่อกับบรรยากาศภายนอก หรือไม่มีรูทะลุเข้าไปในทรวงอก  

11 Pneumothorax แบ่งเป็น 3 ชนิด
3. Tension Pneumothorax เป็นภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด  โดยมีรูทะลุสู่ภายนอกทรวงอก โดย ลมจะเข้าไปสู่ช่องเยื่อหุ้มปอดขณะหายใจเข้า แต่ในขณะที่หายใจออกลมไม่สามารถออกสู่ภายนอกได้    

12 Pneumothorax แบ่งเป็น 3 ชนิด
3. Tension Pneumothorax (ต่อ)   ทำให้มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดมากขึ้นเรื่อยๆ ลมจะเบียดปอดข้างนั้นทำให้ปอดแฟบ และกดปอดด้านตรงข้ามทำให้ปอดไม่สามารถขยายตัวเต็มที่ การแลกเปลี่ยนอากาศทำได้ไม่ดี เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้  

13 Pneumothorax แบ่งเป็น 3 ชนิด
3. Tension Pneumothorax (ต่อ)   ความรุนแรงจะขึ้นกับปริมาณอากาศที่เข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด

14 Hemothorax   มีเลือดในช่องเยื่อหุ้มปอด  พบบ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ   

15 ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ อาจมีทั้งลมและเลือดในช่องเยื่อหุ้มปอด
Hemothorax   ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ    อาจมีทั้งลมและเลือดในช่องเยื่อหุ้มปอด

16 อาการ/อาการแสดงของ ผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายของทรวงอก

17 อาการ/อาการแสดง ลักษณะการหายใจผิดปกติ หลอดลมเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
หายใจขัด หายใจลำบาก หายใจเหนื่อย ซี่โครงบาน ปีกจมูกบาน เสียงหายใจผิดปกติ หลอดลมเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ทรวงอกสองข้างขยายไม่เท่ากัน สีผิวซีด เขียว หรือสีชมพู มีรอยบาดแผลที่ทรวงอก รอยถูกกระแทก/สิ่งแปลกปลอม วิตกกังวลและกลัว ปวด

18

19 การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายของทรวงอก
1. ลักษณะการหายใจ : สิ่งแรกที่ต้องประเมิน หายใจขัด หายใจลำบาก หายใจเหนื่อย ซี่โครงบาน ปีกจมูกบาน อัตราการหายใจเร็วหรือช้ากว่าปกติ สีผิวซีด เขียว หรือสีชมพู   ฟังเสียงหายใจผิดปกติหรือไม่

20 การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายของทรวงอก
2. ลักษณะภายนอกของทรวงอก:สังเกตว่ามีบาดแผลต่าง ๆ เช่น   รอยกระสุน รอยมีด สะเก็ดระเบิด รอยถูกกระแทก/สิ่งแปลกปลอมอื่น เช่น เศษกระจก หรือโลหะ

21 การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายของทรวงอก
หากพบว่ามีรูทะลุระหว่างภายนอกและภายในทรวงอก ให้รีบใช้ผ้ากอซ หรือ vaseline gauze ปิดไว้ให้แน่น

22 การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายของทรวงอก
ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมบริเวณทรวงอก เช่น มีด ไม้ เศษกระจก และอื่น ๆ ห้ามดึงออกเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าสู่ทรวงอก กดปอด  หัวใจและอวัยวะสำคัญ

23 การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายของทรวงอก
สังเกตว่า ทรวงอกสองข้างขยายเท่ากันหรือไม่ หลอดลมเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งหรือไม่ ถ้าพบรายงาน Incharge ทันที

24 การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายของทรวงอก
3. การหายใจไม่มีประสิทธิภาพ   ควรให้ absolute bed rest ดูแลให้ได้รับออกซิเจนจนกระทั่ง วินิจฉัยได้แน่ชัด หรือ ได้รับการรักษาจนแน่ใจว่า ไม่มีอาการ/อาการแสดงของการขาดออกซิเจน

25 การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายของทรวงอก
ถ้ามีลมหรือเลือดอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด แพทย์จะต้องรีบเจาะปอด (thoracentesis) ใส่ท่อระบายทรวงอกทันที

26 การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายของทรวงอก
ผู้ป่วยบางรายอาจผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมส่วนที่ได้รับอันตราย ผู้ป่วยเหล่านี้ควรจะได้รับการดูแลและสังเกตการหายใจอย่างใกล้ชิดจนกระทั่งการหายใจเป็นปกติ

27 การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายของทรวงอก
4. ความวิตกกังวลและความกลัว ผู้ที่รู้สึกตัวดีมักมีอาการกลัว/วิตกกังวล ควรอยู่เป็นเพื่อน/ให้กำลังใจ ด้วยท่าทีที่สงบจนการหายใจลำบากทุเลาลง ควรอธิบายให้ผู้ป่วยทราบก่อนให้การรักษาพยาบาลทุกครั้งเพื่อลดความเครียด

28 การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายของทรวงอก
5. ดูแลเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด แพทย์มักให้ยาพวก narcotic:ซึ่งกดการหายใจ   ก่อนให้ยาควรตรวจนับอัตราการหายใจ  และ ตรวจซ้ำหลังการให้ยาไปแล้ว นาที รายงาน Incharge หากอาการปวดไม่ทุเลาภายหลังให้ยา

29 การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายของทรวงอก
5. ดูแลเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ควรประคองร่างกายส่วนบนให้เรียบร้อย เคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวัง ไม่รีบเร่งจนเกิดเหตุ  


ดาวน์โหลด ppt รองศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์ สิทธิสมบัติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google