รายงาน เรื่อง การทำผ้าไหม เสนอ อาจารย์ ชัยชาญ วงศ์สามัญ จำทำโดย อาจารย์ ชัยชาญ วงศ์สามัญ จำทำโดย 1.นาสาวอุทุมวรรณ โพธิ์ศรี 523220091-3 2.นาวสาวนันทวัน อัมพะวา 523220080-0 3.นาสาวพัสตราภรณ์ ดีสิน 523220160-0 4.นางสาวเจนจิรา ประกอบศรี 523220157-9 5.นางสาวปิยะนันท์ นาเรือง 523220159-5 6.นางสาวช่อมณี แซ่ม้อ 523220158-7 7.นายกิตติพงษ์ ทองแจ่ม 523220075-1 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2553 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ความเป็นมาของผ้าไหม ไหม เป็นแมลงประเภทผีเสื้อตัวหนอนไหม กินพืชได้หลายชนิด แต่ชอบกินใบหม่อนมากที่สุด ทว่าหม่อนจัดเป็นพืชยืนต้นซึ่งเจริญเติบโตค่อนข้างช้าด้วยเหตุนี้ชาวบ้านที่เลี้ยงไหมจึงมักปลูกสวนหม่อนควบคู่ไปด้วยอยู่เสมอเชื่อกันว่ามนุษย์เริ่มเลี้ยงไหมเป็นครั้งแรก ในประเทศจีนเมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว วงจรชีวิตของไหมประกอบด้วย ระยะที่เป็นไข่ ระยะตัวหนอน ระยะดักแด้ และระยะผีเสื้อ คุณสมบัติพิเศษของตัวไหมคือ ช่วงระยะซึ่งเป็นดักแด้ ตัวหนอนจะสร้างรังไหมห่อหุ้มตัวเอง และรังไหมนี่เองที่สามารถสาวออกมาเป็นเส้นใยเส้นเล็กๆซึ่งมีความเหนียว และเป็นมันวาวสวยงามเหมาะต่อการนำไปทอเป็นผืนผ้า
ประวัติผ้าไหมในประเทศไทย ผ้าไหมไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกาย ที่สืบสานกันมากว่า 3,000 ปีมาแล้ว โดยมีแหล่งสำคัญอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและได้ขยายไปยังภาคเหนือตอนบนจนปัจจุบันได้แพร่กระจายไปทุกภูมิภาคของประเทศซึ่งมีความแตกต่างกันในลวดลายตามเชิงความคิดและวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงฟื้นฟูไหมไทย วัสดุธรรมชาติที่ทรงคุณค่าทางเศรษฐกิจ คงไม่มีสิ่งใดเทียบเท่าเส้นใยไหมที่ทำให้ได้สิ่งทอที่สวยงาม ดังเช่นผ้าไหมไทยที่มีความงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวจนมีชื่อเสียงลือไปทั่วโลก การผลิตไหมในประเทศไทยได้เริ่มพัฒนาขึ้น เมื่อรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคแห่งการฟื้นฟูส่งเสริมและพัฒนาการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าไหม จนปัจจุบันการผลิตไหมในประเทศไทยเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชากร
ขั้นตอนในการทอผ้าไหม 1.สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืนและร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะกอแต่ละชุดและฟันหวีดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่งปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะกรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ามพุ่ง 2.เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอเส้นด้ายยืนชุดที่ 1.จะถูกแยกออกและเกิดช่องว่างสอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่(1)ยกตะกอชุดที่ 2.สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
3. การกระทบฟันหวี ( ฟืม ) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา 4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บในแกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออก และปรับความตึงหย่อนใหม่ให้พอเหมาะ
เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า การขิด ขิด หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งไปตามแนวที่ถูกจัดช้อนจังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เองที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่างๆ
การจก เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้นแล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไปซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วงๆสามารถทำสลับสีลวดลายได้หลากสีซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสีเดียวการทอผ้าวิธีจกใช้เวลานานมากมักทำเป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่นเรียกว่า“ซิ่นตีนจก”
อ้างอิง แม่เกตุ มุงคุณคำชาว(ชาวบ้านคำแมด อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น) แม่เกตุ มุงคุณคำชาว(ชาวบ้านคำแมด อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น) แม่โต่ม สายแสน (ชาวบ้านคำแมด อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น)
จบการนำเสนอแล้วค่ะ