กระแสโลกาภิวัตน์กับบทบาทด้านการคลัง (9-1-55) สรุปเนื้อหาการบรรยาย หลักสูตรนักการ คลังมืออาชีพ (นคอ.) รุ่นที่ 1
ทิศทางกระแสโลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมโยงโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการค้าการลงทุนและการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างแพร่หลาย ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันเสรีและการรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ การเชื่อมโยงและการแข่งขันเสรีนำไปสู่การเคลื่อนย้ายทุน ซึ่งทำให้เกิดความผัน ผวนทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาสภาพแวดล้อม และการเพิ่มจำนวน ประชากรโลก ทำให้บทบาทของนโยบายเศรษฐกิจการคลังเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในด้าน สวัสดิการทางสังคม การส่งเสริมการค้า การลงทุนและการเคลื่อนย้ายทุน บทบาทในการส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา
บทบาทของกระทรวงการคลัง (1) บทบาทในการเสริมสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ด้านการขนส่ง ด้านพลังงาน และทรัพยากรมนุษย์ และด้วยข้อจำกัดด้านความยั่งยืนทางการคลังทำให้ต้องอาศัยการทำงานร่วมกับ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนในรูปแบบ Public Private Partnership (PPP) การสนับสนุน SME เนื่องจากเป็นแหล่งการจ้างงานและมีความเชื่อมโยงในห่วงโซ่ การผลิต โดยเฉพาะส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (Special Finance Institutes- SFIs) และการส่งเสริมจากภาครัฐ ทั้งในรูปแบบภาษี และโครงสร้างด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน เป็นต้น การปฏิรูปภาษี และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ (อาทิ ความร่วมมือใน กลุ่ม ASEAN+3) เพื่อสร้างบรรยากาศทางธุรกิจและเสริมศักยภาพการแข่งขัน
บทบาทของกระทรวงการคลัง (2) บทบาทด้านการเสริมสร้างความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน การกระจายรายได้และแก้ไขปัญหาความยากจน และการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ บทบาทด้านความยั่งยืนทางการคลัง การรักษาวินัยทางการคลัง ผ่านกรอบความยั่งยืนทางการคลัง การบริหารการจัดเก็บภาษี การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ทรัพย์สินของแผ่นดิน (รัฐวิสาหกิจ ที่ราชพัสดุ PPP และ กองทุนต่างๆ ) การบริหารรายจ่ายและหนี้สาธารณะ
คุณสมบัติของนักการคลังมืออาชีพ บริหารและตัดสินใจบนพื้นฐานความรู้และข้อมูล (การบริหารความรู้) เป็นผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง (เพื่อสอบรับกับการเปลี่ยนแปลงภายนอก) การบริหารความร่วมมือและบูรณาการในการดำเนินนโยบาย การบริหารโดยยึดหลักธรรมภิบาล การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงาน