กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
แบบฝึกเสริมทักษะ ชุดที่ ๑ คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ ๑. กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เป็นคำประพันธ์ประเภทใดบ้าง ๒. ผู้แต่งกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานคือใคร ๓. อาหารที่กล่าวถึงในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานที่นิยมกันในปัจจุบันคืออะไร ๔. เนื้อหาของกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งใด ๕. จุดประสงค์ของการแต่งกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน คืออะไร ๖. ลักษณะเด่นของกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน คืออะไร ๗. “กาพย์เห่” แตกต่างกับ“ กาพย์เห่เรือ” อย่างไรบ้าง ๘. กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานได้นำเสนอสิ่งใดแก่ผู้อ่านบ้าง ๙. ข้อคิดที่ได้จากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานคืออะไร ๑๐. ให้นักเรียนบอกชื่ออาหารประเภทของคาวและของหวานจากกาพย์เห่เรือมาอย่างละ ๕ ชื่อ
ตัวอย่าง กาพย์ยานี ๒ บท สุวรรณหงส์ทรงภู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ ตัวอย่าง กาพย์ยานี ๒ บท สุวรรณหงส์ทรงภู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม เรือชัยวัยว่องวิ่ง รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม เสียงเส้าเร้าระดม ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน ที่มา : กาพย์เห่เรือ เจ่าฟ้าธรรมธิเบศร ( กุ้ง )
คำอธิบาย รูปแบบ กาพย์ยานี ๑ บทมี ๒ บาท คือ บาทเอก และ บาทโทบาท มี ๒ วรรค คือ วรรคหน้า มี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ คล้องจองหรือสัมผัส ๑. คำสุดท้ายของวรรคแรกบาทเอกสัมผัสกับคำที่ ๓ วรรคหลังของบาทเดียวกัน ๒. คำสุดท้ายของบาทเอกสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคแรกบาทโท ๓. คำสุดท้ายบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายบาทเอกของบทต่อไป สัมผัสพิเศษ ๑. อาจเพิ่มสัมผัสนอกระหว่างคำสุดท้ายวรรคแรกบาทโทกับคำที่สามวรรคหลังของบทเดียวกัน ๒. อาจเพิ่มสัมผัสอักษรหรือสัมผัสสระภายในวรรคทุกวรรค ๓. คำสุดท้ายของบาทเอกควรเป็นคำที่เสียงวรรณยุกต์สามัญหรือจัตวาและเป็นคำเป็น โอกาสที่ใช้ ใช้บรรยายหรือพรรณาความทั่วไป
คำสัมผัส คำสัมผัส คือ คำคล้องจองกัน นิยมใช้ในคำประพันธ์ทุกชนิด แบ่งออกเป็นสองอย่าง คือ สัมผัสนอก และสัมผัสใน ๑. สัมผัสนอก เป็นสัมผัสบังคับของคำประพันธ์ชนิดนั้นๆ ส่วนมากเป็นสัมผัสต่างวรรค สัมผัสที่ใช้ต้องเป็นสระ เดียวกัน ถ้ามีตัวสะกดก็ต้องอยู่ในมาตราเดียวกัน หรือที่เรียกว่า สัมผัสสระ เช่น อันความกรุณาปราณี จะมีใครบังคับก็หาไม่ หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน คำว่า ณี สัมผัสกับ มี คำว่า ไม่ สัมผัสกับคำว่าใจ และลัย ๒. สัมผัสใน คือ คำที่คล้องจองกันภายในวรรค ไม่ได้ถือว่าเป็นขอบังคับ แต่ถ้าคำประพันธ์ใดมีสัมผัสในก็ถือว่า ไพเราะ สัมผัสในนั้นใช้ทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสพยัญชนะ เป็นการใช้คำที่มีพยัญชนะเดียวกัน เช่น แพรว – พราว ฝัน – ฝน ฟาก – ฟ้า แดน – ดิน ม้วย – มรณ์ เชิญ – ช่วย * โคลงสี่สุภาพ จะบังคับเอกโท หรือที่เรียกว่า เอกเจ็ด โทสี่ หมายความว่าในโคลงสี่สุภาพ ๑ บท จะต้องมีวรรณยุกต์เอกอยู่ ๗ แห่ง และคำที่มีวรรณยุกต์โทอยู่ ๔ แห่ง ตามแผนผังข้างต้น