วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดย นางอังศนา มาทอง โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
สมบัติของสารและการจำแนก สสาร (Matter) หมายถึง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวของเรา ซึ่งเราสามารถสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 มีมวล มีรูปร่าง มีปริมาตร ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ ตัวอย่างสารที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่น น้ำ เงิน ทองคำ ทองแดง เหล็ก น้ำมันเชื้อเพลิง เกลือแกง น้ำปลา หิน ทราย คอนกรีต ปูนซีเมนต์ ออกซิเจน หมอก เป็นต้น
สมบัติของสาร สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะ เฉพาะของสารชนิดนั้นๆ ซึ่งสามารถบ่งบอกว่าสารนั้นคืออะไร เพราะสารแต่ละชนิดมีสมบัติไม่เหมือนกันทุกประการ จำแนกหรือจัดหมวดหมู่ของสาร โดยอาศัยสมบัติต่างๆ ของสารเป็นเกณฑ์ เช่น การนำไฟฟ้า สี สถานะ องค์ประกอบทางเคมีของสาร การละลาย ลักษณะเนื้อของสาร ขนาดอนุภาค เป็นต้น
ใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดจำแนกได้ 3 สถานะ ได้แก่ ของแข็ง มีรูปร่างและปริมาตรที่คงที่แน่นอน ของเหลว มีปริมาตรคงที่ แต่รูปร่างเปลี่ยนไปตาม ภาชนะที่บรรจุ ก๊าซ มีปริมาตรและรูปร่างไม่คงที่ จะเปลี่ยนไป และฟุ้งกระจายตามภาชนะที่บรรจุ
ใช้การละลายน้ำเป็นเกณฑ์ แบ่งสารได้เป็น 2 กลุ่ม คือ สารที่ละลายน้ำ เช่น เกลือแกง น้ำตาลทราย น้ำตาลกลูโคส กรดอะซิติก แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สแอมโมเนีย เป็นต้น สารที่ไม่ละลายน้ำ เช่น น้ำมันพืช แป้ง หินปูน พลาสติก เหล็ก ไม้ ยาง คาร์บอน น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
ใช้การนำไฟฟ้าเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้ สารที่นำไฟฟ้า เช่น น้ำ เหล็ก เงิน อะลูมิเนียม เป็นต้น สารที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น ผ้า น้ำบริสุทธิ์ พลาสติก ไม้แห้ง ยาง เป็นต้น
ใช้ความเป็นกรดและเบสเป็นเกณฑ์ กรด (Acid) มีค่าpH น้อยกว่า 7 เมื่อทดสอบด้วยกระดาษลิตมัส จะเปลี่ยนสีจากน้ำเงินเป็นแดง ตัวอย่างของกรดที่พบบ่อย ได้แก่ กรดมะนาว กรดน้ำส้มสายชู กรดกำมะถัน เบส (Base) มีค่า pH มากกว่า 7 ทดสอบกับกระดาษลิตมัส จะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน