โดย นางสาวตรึงตา แหลมสมุทร trungta@chaiyo.com การโต้วาที โดย นางสาวตรึงตา แหลมสมุทร trungta@chaiyo.com
การโต้วาที การพูดเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมละความเชื่อหรือมติของเขาแล้ว ยอมรับหลักการตามความเชื่อหรือมติของเรา ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของบุคคลสองฝ่ายซึ่งมีความคิดเห็นไม่เป็นอันเดียวกัน จึงต้องอาศัยการหาเหตุผลและหลักฐานต่างๆมาสนับสนุนหลักการหรือความคิดเห็นของตน เพื่อลบล้างมติของอีกฝ่ายหนึ่งโดยใช้ศิลปะการพูดโน้มน้าวจิตใจเป็นเครื่องมือสำคัญ
ญัตติของการโต้วาที เป็นการเสนอนโยบาย ข้อเท็จจริง หรือคุณค่าใหม่ๆ ซึ่งแตกต่างไปจากที่สังคมเชื่อถือหรือยอมรับอยู่เดิมเพื่อให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลง อันจะนำไปสู่สภาพการณ์หรือค่านิยมที่ฝ่ายเสนอเห็นว่ามีประโยชน์มากกว่า
ญัตติของการโต้วาที เป็นธรรมดาที่จะต้องมีผู้ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอใหม่นี้ จึงเกิดมีฝ่ายค้านซึ่งมีความคิดเห็นขัดแย้งกับฝ่ายเสนอ บุคคลทั้งสองฝ่ายนี้จึงมาพบกันเพื่อชี้แจงแสดงเหตุผลของตนเพื่อโน้มน้าวกันต่อหน้าผู้สนใจปัญหานั้นๆและต่อหน้ากรรมการเพื่อตัดสิน
การตัดสินโต้วาที ผลการตัดสินจะต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะ หรืออีกฝ่ายหนึ่งแพ้จะเสมอกันไม่ได้ หากฝ่ายเสนอไม่สามารถให้เหตุผล จนเป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับของกรรมการและผู้ฟังแล้ว ข้อเสนอนั้นย่อมตกไป ถือว่าฝ่ายเสนอเป็นผู้แพ้ ในทางตรงข้ามถ้าผู้ค้านไม่สามารถหาเหตุผลมาหักล้างข้อเสนอได้ย่อมถือว่าค้านไม่ตก ผู้ค้านย่อมเป็นฝ่ายแพ้ไป
การโต้วาทีธรรมะ มีข้อแตกต่าง 3 ประการ คือ 1. หัวข้อ ต้องเป็นหัวข้อที่มีการเปรียบเทียบ 2 ฝ่าย ซึ่งมีน้ำหนักต่างกันในสถานการณ์หนึ่ง 2. วิธีโต้ ผู้โต้ทุกคนต้องยึดมั่นในหลักธรรมเกี่ยวกับวาจาภาษิต
การโต้วาทีธรรมะ 3. ผู้โต้ ฝ่ายเสนอเป็นผู้เสนอหลักการที่ยอมรับหรือยกย่องฝ่ายตรงข้ามด้วยความจริงใจ ฝ่ายค้านก็พยายามหาเหตุผลมาหักล้างโดยการใช้ถ้อยคำถ่อมตน โต้แย้งกลับไปในเชิงยกย่องฝ่ายเสนอ
การโต้วาที โต้อย่างไรไม่ยกตนข่มผู้อื่น น้อมจิตชื่นชมท่านฝ่ายตรงข้าม อ้างหลักฐานเหตุผลจนเหมาะงาม ผู้ฟังตามครึกครื้นชุ่มชื่นใจ การหักล้างมันเผ็ดรสเด็ดยิ่ง ถ่อมตัวจริงยกย่องฝ่ายตรงข้ามใหญ่ ต้องตัดสินแพ้ชนะให้ชัดไป แพ้ก็กลับสุขใจได้คำชม
การจัดโต้วาทีธรรมะ 1. ฝึกให้รู้จักตั้งญัตติที่น่าสนใจ โดยคำนึงถึงฝ่ายผู้โต้ควบคู่ไปด้วย 2. ฝึกวิธีโต้วาทีที่ถูกต้อง 3. ฝึกการใช้สำนวนโวหารที่โน้มน้าวจูงใจผู้ฟังด้วยถ้อยคำไพเราะมีเหตุผลน่าเชื่อถือ
การจัดโต้วาทีธรรมะ 4. ฝึกให้มี “ธรรมะของนักพูด” รักษามารยาทในการโต้วาที 5. ฝึกการเตรียมตัว การจัดดำเนินการโต้วาทีธรรมะ การวางเกณฑ์ให้คะแนน และการตัดสิน
วิธีการโต้วาทีธรรมะ การจัดฝ่ายผู้โต้ แบ่งผู้โต้เป็น 2 ฝ่าย โดยให้เป็นฝ่ายเสนอและฝ่ายค้าน จำนวนผู้โต้ แต่ละฝ่ายมีหัวหน้า คน และผู้สนับสนุน 2-3 คน
วิธีการโต้วาทีธรรมะ เวลาของการโต้ ยืดหยุ่นได้ตั้งแต่ครึ่งชั่วโมง หรือ 2-3 ชั่วโมง โดยแบ่งเวลาให้พอเหมาะ ประธานการโต้วาที ทำหน้าที่เป็นผู้กล่าวแนะนำญัตติและผู้โต้ทั้งสองฝ่าย ร่วมทั้งคณะกรรมการและกติกาในการตัดสิน
วิธีการโต้วาทีธรรมะ คณะกรรมการ ควรมี 3 คน หรือ 5 คน เพื่อให้ได้ผลที่แจ้งชัด เกณฑ์การตัดสิน ควรมีตารางให้คะแนนที่มีน้ำหนักหรือความแตกต่างอย่างเด่นชัดตามเกณฑ์ ดังนี้
การโต้วาทีธรรมะในญัตติ……..…………. น้ำหนักคะแนน ดีมาก = 5 ดี = 3 พอใช้ = 1
วิธีการโต้วาทีธรรมะ 1. วาทศิลป์ 2. เหตุผลและหลักฐานอ้างอิง 3.การเสนอและหักล้าง 4. มารยาท
คุณค่าของการโต้วาทีธรรมะ การกล่าวยกย่องผู้อื่น แสวงหาความดีของฝ่ายตรงข้ามมาแสดงให้ประจักษ์ แต่หักล้างด้วยการถ่อมตน มิใช่โอ้อวดหรือยกตนข่มท่าน หากมีการอวดก็ต้องใช้ศิลปะในการ “อวดอย่างถ่อม”
การโต้วาทีธรรมะ โต้คารมคมคายหมายชนะ ไม่ลดละสรรวจีที่เชือดเฉือน พูดให้ขำย้ำให้คิดเชิงบิดเบือน ความเป็นเพื่อนมิตรไมตรีไม่มีแล้ว โต้วาทีธรรมะชนะจิต เสริมสร้างมิตรแย้มเยื้อนล้วนเพื่อนแก้ว แพ้ชนะต่างสุขใจไม่ผิดแนว กมลแก้วมิตรไมตรีทวีคูณ