11. การแปลงโมเดลแบบ E-R เป็นรูปแบบเชิงสัมพันธ์ 1. การแปลงเอนทิตีและแอตทริบิวต์ของเอนทิตี 1.1 แปลงเอนทิตีปกติ = ชื่อของเอนทิตี -----> ชื่อของรีเลชัน และ แอตทริบิวต์ของเอนทิตี ---> แอตทริบิวต์ของรีเลชัน รูปแบบที่แทนสัญลักษณ์ข้อความ ชื่อรีเลชัน (แอตทริบิวต์ 1, แอตทริบิวต์ 2,…แอตทริบิวต์ N) ความชำนาญ (ประเภทความชำนาญ, จน.ชม.ขั้นต่ำ, อัตราโบนัส)
1.2 แปลงเอนทิตีแบบอ่อน คนงาน (รหัสคนงาน, ชื่อคนงาน, อัตราค่าแรงต่อชม.) สถานที่ก่อสร้าง คนงาน (รหัสคนงาน, ชื่อคนงาน, อัตราค่าแรงต่อชม.) สถานที่ก่อสร้าง (รหัสสถานที่ก่อสร้าง, ประเภท, ที่อยู่) การทำงาน (รหัสคนงาน, รหัสสถานที่ก่อสร้าง, วันที่เริ่มทำงาน, จำนวนชม.ทั้งหมดที่ทำ)
2. การแปลงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี 2.1 แปลงความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง 1. แปลงเอนทิตีแต่ละเอนทิตีเป็นรีเลชัน และกำหนดคีย์หลักของแต่ละรีเลชัน 2. นำคีย์หลักของรีเลชันหนึ่งไปเป็นคีย์นอกของอีกรีเลชัน
2.2 แปลงความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม 1. แปลงเอนทิตีแต่ละเอนทิตีเป็นรีเลชัน และกำหนดคีย์หลักของแต่ละรีเลชัน 2. นำคีย์หลักของรีเลชันด้านความสัมพันธ์เป็น 1 ไปเป็นคีย์นอกของรีเลชันด้านที่มีความสัมพันธ์เป็น M สถานที่ก่อสร้าง คนงาน (รหัสคนงาน, ประเภทความชำนาญ ชื่อคนงาน, อัตราค่าแรง/ชม.) ความชำนาญ (ประเภทความชำนาญ, อัตราโบนัส, จำนวน ชม.ขั้นต่ำ) สถานที่ก่อสร้าง (รหัสสถานที่ก่อสร้าง, ประเภท, ที่อยู่) การทำงาน (รหัสคนงาน, รหัสสถานที่ก่อสร้าง, วันที่เริ่มทำงาน, จำนวนชม.ที่ทำ)
ชั้นเรียน นักศึกษา ลงทะเบียน รหัส นศ. ชื่อ-สกุล เกรด รหัสชั้นเรียน 2.3 แปลงความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม 1. แปลงเอนทิตีแต่ละเอนทิตีเป็นรีเลชัน และกำหนดคีย์หลักของแต่ละรีเลชัน 2. สร้างรีเลชันขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งรีเลชัน โดยรีเลชันที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้จะประกอบด้วยแอตทริบิวต์ของความสัมพันธ์แบบ M:N และมีการนำคีย์หลักของรีเลชันที่มีความสัมพันธ์แบบ M:N มาสร้างเป็นคีย์หลักในรีเลชันใหม่นี้ด้วย 3. ความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชันเดิม กับรีเลชันใหม่เป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:M) ชั้นเรียน นักศึกษา ลงทะเบียน M รหัส นศ. ชื่อ-สกุล เกรด รหัสชั้นเรียน รหัสวิชา กลุ่ม เวลา ห้องเรียน รหัส อ. 1
2.4 แปลงความสัมพันธ์แบบรีเคอร์ซีพ 1. แปลงเอนทิตีแต่ละเอนทิตีเป็นรีเลชัน และกำหนดคีย์หลักของแต่ละรีเลชัน 2. นำคีย์หลักของรีเลชันด้านความสัมพันธ์เป็น 1 ไปเป็นคีย์นอกของรีเลชันด้านที่มีความสัมพันธ์เป็น M แต่ให้ทำการเปลี่ยนชื่อคีย์นอกนั้นใหม่
จงออกแบบฐานข้อมูลโดย E-R Model และแปลง E-R Model ให้เป็นโมเดลเชิงสัมพันธ์ (รีเลชัน) แผนกทรัพยากรบุคคลแห่งหนึ่งต้องการพัฒนาฐานข้อมูลขึ้น เพื่อใช้เก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเข้าสัมมนาของพนักงานบริษัท เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการบริหารการทำงานของบริษัท โดยพนักงานแต่ละท่านจำเป็นต้องสังกัดอยู่ในแผนกเดียว ซึ่งข้อมูลพนักงานที่ต้องการจัดเก็บ จะประกอบด้วย รหัสพนักงาน ชื่อพนักงาน อายุ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ สถานภาพการสมรส ทั้งนี้แผนกแต่ละแผนกต้องมีพนักงานในสังกัดอย่างน้อย 5 คน สำหรับข้อมูลแผนก จะประกอบด้วย รหัสแผนก ชื่อแผนก สถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อ นอกจากนี้พนักงานแต่ละคนอาจจะได้รับมอบหมายหรือไม่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมสัมมาก็ได้ แต่ถ้าได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมสัมมนา พนักงานแต่ละคนสามารถเข้าร่วมสัมมนาได้หลายการสัมมนา และการสัมมนาแต่ละครั้งอาจมีพนักงานไปเข้าร่วมสัมมนาได้มากกว่า 1 คน สูงสุดส่งไปสัมมนาไม่เกิน 3 คน โดยข้อมูลการสัมมนาจะประกอบด้วย รหัสการสัมมนา ชื่อการสัมมนา วันที่เริ่มต้น วันที่สิ้นสุด สถานที่ และค่าใช้จ่าย