Knowledge Management (KM) การจัดการความรู้ Knowledge Management (KM) ภูริพัฒน์ รวบรวม/นำเสนอ
What is Knowledge? ความรู้ คือ บทสรุปของความเข้าใจ เนื้อหาเป็นความจริง ผ่านการพิสูจน์และทดลอง สามารถตั้งเป็นกฎ นำไปปฏิบัติงานได้จริง หรือ สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งสามารถทำนายผลได้
What is knowledge Management? การจัดการความรู้ คือ การดึงเอาความรู้ที่กระจัดกระจาย ฝังอยู่ทั่วไปภายในองค์กร ออกมารวบรวม และแบ่งกลุ่ม จัดเก็บให้เป็นองค์ความรู้ขององค์กร เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป
การจัดการความรู้...คือ การรวบรวม การจัดระบบ การจัดเก็บ และการเข้าถึงข้อมูลเพื่อสร้างเป็นความรู้ มีการแบ่งปัน และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้แก่องค์กร
การจัดการความรู้ ต้องดำเนินการในลักษณะที่บูรณาการอยู่ในกิจกรรมหรืองานประจำ ต้องไม่ทำให้สมาชิกขององค์กรรู้สึกว่ามีภาระเพิ่มขึ้น
ทำไมองค์กรจึงต้องมีการจัดการความรู้ “เพื่อความได้เปรียบทางธุรกิจ” “เพื่อการพัฒนา เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้” “เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล”
ทำไมองค์กรจึงต้องมีการจัดการความรู้ การจัดการความรู้ เป็น เครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมาย อย่างน้อย 4 ประการ 1. บรรลุเป้าหมายของงาน 2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ 4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
ความรู้ 4 ระดับ 1. Know-what 2. Know-how 3. Know-why 4. Care-why เป็นความรู้เชิงทฤษฎี จบมหาวิทยาลัยใหม่ๆ เป็นความรู้เชิงปฏิบัติ จบมหาวิทยาลัย 2-3 ปี เป็นความรู้เชิงเหตุผล มีการวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความรู้ เป็นความรู้เชิงสร้างสรรค์ คิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ด้วยตนเอง
Type of Knowledge Tacit Knowledge: คือ ความรู้ที่มีอยู่ในแต่ละบุคคลที่ได้มาจากประสบการณ์และความสามารถส่วนตัว ยากที่จะเขียนหรืออธิบายออกมาได้ เช่น ให้บอกวิธีในการว่ายน้ำ,วิธีการวาดรูปให้สวย, วิธีการตอบสนองต่อปัญหาเฉพาะหน้าใดๆ ที่เกิดขึ้น
Type of Knowledge ความรู้ที่ฝังอยู่ภายในองค์กร Embedded Knowledge: คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ภายในองค์กร Explicit Knowledge: คือ ความรู้ที่สามารถอธิบายหรือ เขียนออกมาได้โดยง่าย เช่น คู่มือการปฏิบัติงาน หรือ วิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ
Knowledge Transfer Process Tacit to Explicit Explicit to Tacit Individual to Organization Organization to Individual
วงจรการบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) Sharing Understanding Classification Capture Tacit Knowledge Explicit Knowledge Collaboration Discovery From Individual to Organization Knowledge From Organization to Individual Knowledge
วงจรการบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) Sharing คือ การสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคคล ทั้งเป็นทางการและอย่างไม่เป็นทางการเช่น การพบปะ พูดคุยกับเพื่อนพนักงาน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งจะสามารถสื่อความรู้และประสบการณ์ที่แฝงอยู่ภายในบุคคล(Tacit)ได้
วงจรการบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) Capture คือ การรวบรวมความรู้ต่างๆ ที่ได้รับมา(Collaboration)แล้วแปลความให้กลายมาเป็นความรู้ใหม่ของตนเองและสามารถเขียนหรืออธิบายออกมาได้
วงจรการบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) Classification คือ การนำความรู้ที่ได้มาเขียนอธิบาย(Explicit) เพื่อเผยแพร่สู่องค์กร โดยแบ่งกลุ่มความรู้อย่างชัดเจน และกระจายความรู้ถูกกลุ่มเป้าหมาย (From Individual to Organization Knowledge)
วงจรการบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) Understanding คือ การที่สมาชิกในองค์กรได้รับความรู้ที่เผยแพร่มา แล้วนำไปปฏิบัติจนเข้าใจเป็นความรู้ของตนเอง (From Organization to Individual Knowledge) และนำไปสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้(Sharing)เพื่อนำไปสู่การเกิดความรู้ใหม่ต่อไป
การจัดการความรู้ต้องคำนึงถึง? ความรู้และทักษะของพนักงาน ระบบเทคโนโลยี ระบบการจัดการ วัฒนธรรมองค์กร
พื้นฐานสำคัญในการจัดการความรู้ คือ ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learnning Organization) สมาชิกขององค์กรเป็นบุคคลเรียนรู้ ( Learning Person)
แก่นขององค์กรการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับ “วินัยการเรียนรู้” 5 ประการ สร้างวิสัยทัศน์ร่วม Shared Vision เรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกัน Team Learning เป็นทีม Team คิดอย่างเป็นระบบ System Thinking แต่ละบุคคล Individual พัฒนากรอบความคิด Mental Model พัฒนาตนให้สมบูรณ์ Personal Mastery กรอบความคิด Thinking การปฏิบัติ Action
การจัดการความรู้ทำอย่างไร กำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการแข่งขันและความอยู่รอดขององค์กร (Value & Risk) การสร้างและการจัดการต้องทำเป็นทีม มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ มีการใช้องค์ความรู้ให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
องค์ประกอบของการจัดการความรู้ ข้อมูล (Data) สารสนเทศ (Information) ความฉลาดรอบรู้ (Wisdom) ความรู้ (Knowledge) ปฏิบัติการ (Action)
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ 1. การบ่งชี้ความรู้ 2. การสร้างและแสวงหาความรู้ 3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ 4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5. การเข้าถึงความรู้ 6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ 7. การเรียนรู้
คนสำคัญที่ดำเนินการจัดการความรู้ คนสำคัญที่ดำเนินการจัดการความรู้ คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ คุณประสาน 1. ผู้บริหารสูงสุด (CEO) “คุณเอื้อ (ระบบ)” 2. คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer, CKO) มีหน้าที่หา “คุณอำนวย” และร่วมกันจัดให้มีการกำหนด เป้าหมายเชื่อมโยง ติดตาม ให้คำแนะนำ ยกย่อง สร้างความภาคภูมิใจในความสำเร็จ 3. คุณอำนวย (Knowledge Facilitator , KF) เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ เชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติ กับผู้บริหาร “เชิญเพื่อนมาช่วย” (Peer Assist) 4. คุณกิจ (Knowledge Pracititoner, KP) หรือผู้ปฏิบัติงาน เป็นพระเอกตัวจริง ของการจัดการความรู้ เป็นผู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลง ความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุถึง “เป้าหมาย” ที่ตั้งไว้ 5. คุณประสาน (Network Manager) เป็นผู้ที่คอยประสานให้เกิดพลังร่วมมือทางเครือข่ายในการเรียนรู้และยกระดับความรู้แบบทวีคูณ
จุดอ่อนของการจัดการความรู้ที่พบทั่วไป การดำเนินการ(สร้าง แลกเปลี่ยน ประยุกต์ใช้ ความรู้) ทำแบบมวยวัด ไม่มีหลักเกณฑ์ การตัดสินใจมักกระทำโดยไม่ได้ใช้ความรู้ที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในองค์กร ความรู้ที่มีอยู่ไม่ได้ถูกใช้ซ้ำ ไม่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ สมาชิกขององค์กรอยู่ภายใต้สภาพข้อมูล (Information) ท่วมท้น เกิดความสับสน การปกปิดความรู้ระหว่างสมาชิกในองค์กร
สรุป KM คือ กระบวนการรวบรวม จัดเก็บ แบ่งปัน และใช้ประโยชน์จากความรู้และประสบการณ์ของพนักงาน และกระบวนการต่างๆ ในการปฏิบัติงานขององค์กร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงการส่งเสริมให้พนักงานได้คิดค้นสิ่งใหม่ๆ หรือนวัตกรรมให้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรในอนาคต
สวัสดี