ประภัสสร คำยวง นักวิชาการสาธารณสุข

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
พิชิตโครงงานวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Advertisements

การเตรียมความพร้อมในการเสนอโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯในระดับจังหวัด
ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
หลักการบันทึกข้อความ
การวิเคราะห์และประเมินค่างาน
สื่อการสอนโครงงานอาชีพ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จัดทำโดย ม
การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
บทที่ ๑ ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการวิเคราะห์ และออกแบบระบบสารสนเทศ (Introduction to Information System Analysis) 22/7/03 บทที่
การบริหารจัดการเพื่อ พัฒนาผลการปฏิบัติงาน
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
Graduate School Khon Kaen University
เรื่องสืบเนื่อง การวางแผนและบริหารโครงการสำหรับส่วน ราชการ
หลักการพัฒนา หลักสูตร
การดำเนินงานสุขศึกษา ในชุมชน
นาวาอากาศตรีหญิง พรประภา โลจนะวงศกร
การวางแผนและการดำเนินงาน
องค์การสมัยใหม่ (Modern organization) หมายถึง การที่มีกลุ่มคนมาทํางาน ร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งองค์สมัยใหม่การมีลักษณะร่วมกันอยู่
( สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ )
แนวทางการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 5 ประจำปีงบประมาณ
แนวทางการปฏิบัติงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา
การติดตาม และประเมินโครงการ.
หลักสูตรการจัดการทั่วไป
การเขียนโครงการ.
วัตถุประสงค์ของการศึกษาด้วยกรณีศึกษา
- แผนงานที่ไม่มีโครงการจะเป็นแผนงานที่ไม่มีความสมบูรณ์ ไม่สามารถนำไปปฏิบัติเป็นรูปธรรม
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
เพื่อการกำหนดระดับตำแหน่ง
แผนการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ
หมวด2 9 คำถาม.
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ โครงการ การบริหารงบประมาณตามแผนปฏิบัติการ วัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยงานทุกหน่วยงานใช้เงินงบประมาณ ทันเวลา.
สิ่งที่จะเรียนรู้ในวันนี้
การจัดทำคู่มือ การปฏิบัติงาน Work Manual
ผลการดำเนินงานองค์กร (Performance Measurement)
การประชุมชี้แจงสาระสำคัญของประกาศ คพร.
แนวทางการจัดทำมาตรฐานความโปร่งใสของกรมควบคุมโรค ปีงบประมาณ พ.ศ.2557
ผังการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีเพชร
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
วาระที่ 3.5 การขอสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนสิ่งแวดล้อม
การรายงานความก้าวหน้าในระบบ
ตัวอย่างการเขียน บทที่ 1 บทนำ.
กลุ่มที่ 3.
การบริหารเชิงยุทธศาสตร์
บทนำการบริหารโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริหารและกระบวนการวางแผน
การเขียนรายงานการวิจัย
ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ
คู่มือการพัฒนาคุณภาพ HA SPA SAR 2011 HA Scoring Guideline 2011
การเขียนเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์อำเภอชุมพลบุรี
หมวด5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPI)
การเขียนข้อเสนอโครงการ
การติดตาม และการควบคุม (Monitoring and Control)
การควบคุมผลกาปฏิบัติงาน
พรทิพย์ ศิริภานุมาศ กองแผนงาน กรมควบคุมโรค
 โครงการเป็นเครื่องมือในการบริหารงานและ พัฒนาองค์กร และเป็นการแปลงแผนแม่บทไปสู่ การปฏิบัติ
หน่วยที่ ๙ การเขียนโครงการ
14. การเขียนโครงร่างการวิจัย (แบบ ว -๑) (Proposal)
วิธีการคิดวิเคราะห์.
การวิจัยการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ ดร. สุจิตรา ธนานันท์
หลักการเขียนโครงการ.
นโยบายและแนวคิด โรงพยาบาลคุณธรรม.
ลักษณะโครงการวิจัยที่ดี
1 การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การติดตาม ประเมินผล กรมควบคุม โรค ปี 2553 วันที่ 2 มีนาคม 2553 เวลา – น. ณ ศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค อาคาร.
การเขียนโครงการ.
กลุ่ม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร.
Progress Report 2548 Financial Report Link to Progress Report 2550 Capacity Building 2551 Estimates Report Link to Excel Loader KPI Strategy.
CIPP Model : การประกันคุณภาพ
การประเมินโครงการ (Project Evaluation)
ตัวอย่าง การเขียนโครงการ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ประภัสสร คำยวง นักวิชาการสาธารณสุข หลักการเขียนโครงการ ประภัสสร คำยวง นักวิชาการสาธารณสุข

ความหมาย โครงการ คือ การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า มักจะไม่ใช่ภาระหน้าที่โดยปกติแต่จะถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อต้องการจะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานที่ทำอยู่ปกติหรือเป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการเร่งด่วนเป็นกรณีพิเศษเพราะเป็นนโยบายของต้นสังกัดก็ได้

ลักษณะของโครงการที่ดี สามารถแก้ปัญหาขององค์การหรือหน่วยงานนั้น ๆ ได้ มีรายละเอียด วัตถุประสงค์เป้าหมายต่าง ๆ ชัดเจน สามารถดำเนินงานได้ /มีความเป็นไปได้ รายละเอียดของโครงการมีความต่อเนื่อง สอดคล้องสัมพันธ์กัน ตอบสนองความต้องการของกลุ่มชน สังคมและประเทศชาติ

ปฏิบัติแล้วสอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การ กำหนดขึ้นอย่างมีข้อมูลความจริงและ เป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกด้าน โดยเฉพาะด้านทรัพยากรที่จำเป็น มีระยะเวลาในการดำเนินงานแน่นอน สามารถติดตามประเมินผลได้

ก่อนลงมือ ต้องตั้งคำถามและตอบคำถาม 5 W 1H WHAT โครงการอะไร WHY ทำไมต้องทำโครงการ WHO ใครเป็นผู้ดำเนินงาน WHEN ทำเมื่อใดและนานแค่ไหน WHERE ทำที่ไหน ใช้ทรัพยากรเท่าใด จากไหน HOW ทำอย่างไร

องค์ประกอบของโครงการ 1. ชื่อโครงการ 2. หลักการและเหตุผล 3. วัตถุประสงค์ของโครงการ 4. เป้าหมายโครงการ 5. วิธีดำเนินงาน 6.ระยะเวลาดำเนินการ

7. สถานที่ดำเนินการ 8. งบประมาณ 9. การประเมินผลโครงการ 10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 11. ผู้รับผิดชอบโครงการ 12.ผังควบคุมกำกับงาน

1. ชื่อโครงการ(Project Title) ชื่อโครงการ ต้องมีความชัดเจน เหมาะสม เฉพาะเจาะจงว่าจะทำอะไรเป็นที่เข้าใจง่าย แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้นำโครงการไปใช้ ชื่อโครงการที่ดี ต้อง แสดงลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ แสดงลักษณะเฉพาะของโครงการ บอกได้ว่า โครงการเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

2. หลักการและเหตุผล (Statement of the Problem) ส่วนที่แสดงถึงปัญหา และความจำเป็นที่ต้องมีโครงการ ควรเขียนระบุปัญหา เหตุผล โดยมีข้อสนับสนุนอย่างชัดเจน หยิบยกทฤษฎีต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุน ให้สมเหตุผล

อาจย้ำให้เห็นชัดเจนว่า โครงการสอดคล้องกับแผนและนโยบายของหน่วยงานหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง ผู้เขียนโครงการต้องพยายามหาเหตุผลต่างๆเพื่อแสดงให้ผู้พิจารณาโครงการเห็นความจำเป็น และความสำคัญของโครงการ เพื่อที่จะสนับสนุนต่อไป back

3. วัตถุประสงค์ของโครงการ (Project Objectives) แสดงถึงความต้องการที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ปรากฏ เป็นเครื่องชี้แนวทางการดำเนินงานของโครงการ เป็นตัวกำหนดส่วนประกอบอื่นๆ ของโครงการ วัตถุประสงค์ที่ดีต้อง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ และ ควรเขียนเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและ กำหนดวัตถุประสงค์ในสิ่งที่เป็นไปได้ สามารถวัดได้

ตัวอย่างวัตถุประสงค์ โครงการน้ำพระทัยขจัดภัยวัณโรค เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้สัมผัสโรค แรงงานต่างด้าว ผู้ต้องขังในเรือนจำ และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคทุกคนได้รับการรักษาจนหายขาด เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องวัณโรค

4. เป้าหมาย (Project goals) ความต้องการ หรือทิศทางในการปฏิบัติงาน เชิงปริมาณ หรือ เชิงคุณภาพ ควรกำหนดให้เฉพาะเจาะจงและชัดเจน ไม่มีคำว่า “คาดว่า” ตัวอย่าง การคัดกรองวัณโรคในกลุ่มผู้สูงอายุอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 900 คน

5. วิธีดำเนินงาน (Project Methods) เป็นภารกิจที่ต้องปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามโครงการ อาจจำแนกเป็นกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรม แสดงขั้นตอนภารกิจที่จะต้องทำและระยะเวลา ในการปฏิบัติแต่ละขั้นตอน เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณา ความเป็นไปได้ของโครงการ

บางครั้งนิยมเขียนเป็นรูปปฏิทิน รวมกับระยะเวลาดำเนินงาน มีการระบุเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุด โครงการและสถานที่ ที่จะทำโครงการ เพื่อสะดวกในการพิจารณา และติดตามผลของโครงการ

กำหนดการดำเนินงาน 1 สำรวจปัญหา 2 ประชุมชี้แจง 3 คัดกรองกลุ่มเสี่ยง กิจกรรม กำหนดการ (เดือน) มค. กพ มีค เมย พค มิย กค สค กย ตค พย ธค 1 สำรวจปัญหา 2 ประชุมชี้แจง 3 คัดกรองกลุ่มเสี่ยง 4 นำกลุ่มเสี่ยงมาตรวจ 5 อบรมความรู้กลุ่มเสี่ยง 6 สรุปผลการดำเนินงาน

6. ระยะเวลาดำเนินโครงการ ระบุระยะเวลาเริ่มต้นเมื่อใด และสิ้นสุดเมื่อใด 6. ระยะเวลาดำเนินโครงการ ระบุระยะเวลาเริ่มต้นเมื่อใด และสิ้นสุดเมื่อใด 7. ผู้รับผิดชอบโครงการ การเขียนโครงการต้องระบุ ผู้รับผิดชอบว่าเป็นผู้ใด หรือหน่วยงานใด

8. งบประมาณ (Project Budget) งบประมาณหรือทรัพยากรที่ต้องใช้ ระบุยอดเงินและทรัพยากรอื่น ๆ ที่ใช้ แสดงยอดรวมงบประมาณทั้งหมด ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ และแยกรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนว่าเป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

9. การประเมินผลโครงการ (Project Evaluation) ควรระบุวิธีประเมินผลและอาจระบุผู้รับผิดชอบในการประเมินผล เป็นการระบุว่าหากได้มีการดำเนินโครงการแล้ว จะมีการติดตามดูผลได้อย่างไร เมื่อใด การประเมินผล อาจทำ ก่อนเริ่มโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ หรือ โครงการสิ้นสุด อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะทำทั้ง 2 ช่วง หรือทั้ง 3 ช่วง ก็ได้ 

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการแสดงถึงผลประโยชน์ที่พึงได้รับ จากความสำเร็จของโครงการ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เป็นการระบุว่าใครจะได้รับผลประโยชน์และผลกระทบ หรือ มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องอะไร ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ และ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

ตัวอย่างผลที่คาดว่าจะได้รับ โครงการพัฒนาการใช้ทักษะการใช้ Microsoft Office ของ รพ. บุคลากร มีความรู้และทักษะการใช้ Microsoft Office และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ บุคลากร ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยี โรงพยาบาลมีบุคลากรที่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น

(ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง ผู้จัดทำโครงการ ผู้เสนอโครง (ชื่อเต็ม) (ชื่อเต็ม) ผู้อนุมัติโครงการ (ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง ผู้เห็นชอบโครง (ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง