โครงงาน เรื่อง การมีเพศสัมพันธ์ก่อนอันสมควร สมาชิก 1. น.ส. น้ำฝน ซุยกระเดื่อง เลขที่ 21 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2
เสนอ อาจารย์ ชมัยพร โคตรโยธา
แนวคิด คือ ได้รู้สถิติการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรใน ปี พ.ศ.2009
ระยะเวลาในการทำงาน ระยะเวลาในการทำงานประมาณ 10-20 วัน
วัตถุประสงค์ 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ 2. มีความรู้ความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงของสังคมที่มีต่อการมีเพศสัมพันธ์ 3. วิเคราะห์ถึงผลที่เกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงทางสังคม 4. มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น 5. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
6. ตระหนักถึงผลเสียของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรทั้งต่อตนเองและครอบครัว 7. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยได้ 8. สามารถนำแนวทางการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 9. มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อพฤติกรรมทางเพศในโรงเรียน และชุมชน
หลักการและทฤษฎี แผนภูมิของการตั้งครรภ์และคลอดบุตรของหญิงอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่ปี 2540 – 2551 (http://www.m-society.go.th ) ละของการตั้งครรภ์และคลอดบุตรของหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่ปี 2540 - 2551 (http://www.m-society.go.th ) อัตราแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีที่คลอดบุตรประจำปีงบประมาณ 2552 (http://www.saiyairakhospital.com )
วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีเสวนาระหว่างผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบ ได้แก่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความตระหนักและหาแนวทางป้องกันและ แก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น และ สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังในโรงเรียนและในชุมชน กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชน โดยจัดฐานการเรียนรู้ 7 ฐาน ได้แก่ (1) ฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ ปัญหา และผลกระทบจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวันรุ่น (2) เพศศึกษา (3) ทักษะชีวิต (4) การวางแผนครอบครัว (5) การป้องกันโรคเอดส์และโรคทางเพศสัมพันธ์ (6) การป้องกันตัวเองในภาวะคับขันและวิธีการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ (7) ความรู้ E-learning
กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวระหว่างพ่อ แม่ ลูก กิจกรรมที่ 4 การจัดกิจกรรมยอวาทีระหว่างนักเรียนหญิงและนักเรียนชายในโรงเรียน เรื่อง“เพศสัมพันธ์วัยรุ่นวุ่นอย่างไร” และ “การตั้งครรภ์แม่วัยรุ่นวุ่นเพราะใคร” กิจกรรมที่ 5 การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเครือข่ายผู้นำรุ่นใหม่ในโรงเรียน และสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มเพื่อนเพื่อเป็นเครือข่ายในการให้คำปรึกษาและป้องกันปัญหาเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น
กิจกรรมที่ 6 สนับสนุนงบประมาณให้เด็กที่ผ่านการอบรมไปดำเนินการขยายผลในโรงเรียน กิจกรรมที่ 7 จัดมหกรรมนำผลการดำเนินงานตั้งแต่กิจกรรมที่ 1 – 5 มาอภิปรายและ เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างเต็มที่ กิจกรรมที่ 8 การติดตาม ประเมินผล และพัฒนาการดำเนินกิจกรรมให้เกิดความต่อเนื่อง
สรุป การที่เด็กมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรก่อให้เกิดผลเสียต่าง ๆ มากมายดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการอบรมสั่งสอนให้บุตรหลานได้ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควร การคบเพื่อนต่างเพศเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ต้องเป็นไปในทางที่ถูกต้องและเหมาะสม ผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัวเพื่อจักได้ไม่เกิดปัญหามีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร พฤติกรรมเหล่านี้ทุก ๆ ฝ่ายต้องทำให้เกิดขึ้นในวัยรุ่นให้ได้ เพื่อช่วยลดปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นไทยนั่นเอง
ร้อยละของการตั้งครรภ์และคลอดบุตรของหญิงอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่ปี 2540 - 2551
ร้อยละของการตั้งครรภ์และคลอดบุตรของหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่ปี 2540 - 2551
อัตราแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีที่คลอดบุตรประจำปีงบประมาณ 2552
เอกสารอ้างอิง (http://www.m-society.go.th) (http://www.saiyairakhospital.com)