ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต INTERNET NETWORK
I N T E R N E T อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก - ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน
เริ่มแรกเรียนรู้ระบบเครือข่าย What is ระบบเครือข่าย ? ระบบเครือข่ายหรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า LAN นั้นก็คือการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกัน เพื่อต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้น สามารถที่จะส่ง หรือ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ - โครงข่ายสื่อสารข้อมูลที่อยู่ในพื้นที่จำกัด ก็เรียกว่าระบบโครงข่ายท้องถิ่น ( แลน-LAN - Local Area Network ) - หากอยู่ระหว่างห่างไกลกันมาก ๆ ก็เรียกว่า แวน (WAN - Wide Area Network) ไม่ว่าจะเป็นโครงข่ายอย่างไรอาจเขียนแทนได้
ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่ม อุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ
การเชื่อมโยง ต่าง ๆ เข้าหากัน การเชื่อมโยง ต่าง ๆ เข้าหากัน NETWORK
โครงข่ายของระบบในสำนักงาน
ระบบเครือข่ายประเภทต่าง ๆ NETWORK ระบบเครือข่ายประเภทต่าง ๆ
รูปแบบการลดจำนวนสายสัญญาณเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย ซึ่งก็มีเทคโนโลยีในการใช้สื่อสารหลายรูปแบบ
Bus Topology เป็นลักษณะของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่ายด้วยสายเคเบิลยาวต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ โดยมีคอนเน็คเตอร์ในการเชื่อมต่อ ลักษณะการเชื่อมต่อก็จะเป็นดังรูป โดยตามรูป Network Adaprter ก็จะถูกปลั๊กอยู่ในเครื่อง และการเชื่อมต่อก็จะต่อเป็นอนุกรมกันไปเรื่อย
Ring Topology ลักษณะการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบบวงแหวน ซึ่งเป็นการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาต่อเป็นวงกลม ซึ่งปัจจุบันนี้ระบบการเชื่อมต่อแบบนี้แทบจะไม่มีใช้กันแล้วในปัจจุบัน ส่วนมากจะเป็นพวกธนาคารที่ใช้กันอยู่
S t a r T o p o l o g y เป็นระบบที่ได้รับความนิยมในการนำไปใช้งานมากที่สุด เนื่องจากระบบ Bus หรือระบบ Ring นั้นหากสายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่งขาดก็จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถที่จะส่งสัญญาณหากันได้ หรือที่เราเรียกกันว่าระบบล่ม ข้อดีของระบบการเชื่อมต่อแบบ Star ก็คือหากว่าสายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่งมีปัญหาแล้วก็ไม่มีผลกระทบต่อสายสัญญาณเส้นอื่น เพราะว่าการเชื่อมต่อในลักษณะอย่างนี้จะมี HUB เป็นอุปกรณ์ตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังแสดงในรูปให้เห็น
Hybrid Network เป็นระบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายแบบผสมซึ่งจะเป็นการออกแบบระบบเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้น ถ้าเป็นการเดินระบบที่มีระยะทางไม่เกิน 100 เมตรภายในอาคารเดียวกันการเดินระบบจะเป็นแบบ Star Topology และหากมีระยะในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไกลมากกว่าที่ระบบ Star จะทำได้ก็ต้องใช้ระบบ Bus เป็นการเชื่อมต่อด้วย ซึ่งระบบ Bus เองนี้สามารถเชื่อมต่อได้ไกลสุดได้มากถึง 185 เมตร หรือ 500 เมตรขึ้นอยู่กับประเภทของสายสัญญาณที่ใช้เดินระบบว่าเป็นแบบไหน
สถานีต่าง ๆ ต่อเข้ากับโครงข่ายสื่อสารข้อมูล
ชุมสายเซอร์กิตสวิตชิ่ง การติดต่อสื่อสารข้อมูลนี้ผู้ใช้จะต้องมีระบบซอฟต์แวร์ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเอง เพราะชุมสายจะไม่มีระบบตรวจสอบข้อมูลในชุมสายทำหน้าที่เพียงการสวิตช์วงจรให้เท่านั้น
การออกแบบระบบเครือข่ายสำหรับสำนักงานอัตโนมัติ การเชื่อมโยงข้อมูลภายในหลาย ๆ แผนเข้าด้วยกัน มีหน่วยงานกลางหรือศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นแหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารปัจจุบันมีการวางสายเพื่อเป็นถนนให้กับข้อมูลที่เรียกว่า backbone ข้อมูลเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นถนนสายหลักสำหรับข้อมูล
ผังแสดงการเชื่อมต่อ I N T E R N E T
ข้อมูลอ้างอิงจาก http://web.ku.ac.th/schoolnet http://www.thaiall.com GOOD LUCK FOR YOU