วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร(บูรณาการกระทรวง)
Advertisements

กองก่อสร้างโครงการย่อย กองก่อสร้างโครงการกลาง กองก่อสร้างโครงการใหญ่
นายชิดชัย อังคะ ไวมงคล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ ผังเมือง นายมนัส ปรุง ทำนุ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ ร. อ. ปกรณ์เดช โลหิตหาญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ โยธาธิการ.
ปทุมธานี นางปลื้มจิตต์ เนี้ยวคงศักดิ์ นายอารัต เมืองจร
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
ชลบุรี ว่าง นายชิดชัย อังคะไวมงคล
แม่ฮ่องสอน สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด นายไพรัช จันทรา
พังงา นางสาวอัญชลี ตันวานิช สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
กระบวนการของการอธิบาย
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
สำนักประสานและติดตามนโยบาย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
การแต่งกายประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แนวทางการบริหารจัดการเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดย สหกรณ์ นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ วันที่
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โครงงานจิตอาสา เรื่อง … เล่านิทานให้น้องฟัง จัดทำโดย กลุ่มจิตอาสา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ / ๓.
ศาสนาคริสต์111
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ประวตศาสตร์เป็ นวชาทศี่ ึกษาเกยวกบอดตี โดยศึกษาถึง พฤตกิ รรมของมนุษย์ ตามบริบทของช่วงเวลาทเกดขึนซึ่งมผล ต่อมนุษยชาตเิ มอื่ เหตุการณ์น้ันเปลยี่
ชุมชนปลอดภัย.
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
การสร้างแผนปฏิบัติการระดับตำบลหรือท้องถิ่น
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
เทศกาล / วันสำคัญทางศาสนา
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑.
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ยินดีต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์) และคณะ ในโอกาสตรวจเยี่ยมจังหวัดตาก วันที่ กรกฎาคม 2558.
การส่งกำลังบำรุงในระดับต่าง ๆ ของ ทบ.
การสัมมนาแนวทางการดำเนินงาน
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
เปิดบ้าน ชื่อโรงเรียน วันที่.
โดย ครูสมจินตนา เทียมวิไล
โต้วาทีอุดมศึกษา ญัตติ “มนุษย์แสนดีเลิศประเสริฐศรี”
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
มาฝึกสมองกันครับ.
เสียงในภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ครูกิ่งกาญจน์ สมจิตต์
ทดสอบหลังเรียนพระพุทธหน่วย8
“ถ้าหากบริษัทบุหรี่ต้องหยุดทำการตลาดที่พุ่งเป้าไปที่เด็กๆ บริษัทบุหรี่จะล้มละลายภายใน 25 – 30 ปี เพราะจะไม่มีลูกค้าเพียงพอที่ธุรกิจจะอยู่ได้”
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
จุดเริ่มต้นสวนสัตว์ไทย
โครงการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดเชียงใหม่
ศาสนาเชน Jainism.
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
เพลง ปลุกใจ บ้านเรารู้ได้จักเพลงประเภทนี้ในรูปแบบสากลเป็นครั้งแรก ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อ ครูฝึกทหารวังหน้าชาวอังกฤษ.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
(Code of Ethics of Teaching Profession)
กิจกรรมส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่
การพัฒนาทักษะภาษาไทย ป.๑ – ป.๖
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ แต่งฉันท์ชนิดต่างๆ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ตามความรู้สึกของคนทั่วไป ฉันท์เป็นคำประพันธ์ที่แต่งยาก อ่านยาก และเข้าใจยาก คำประพันธ์ประเภทนี้จึงมีเผยแพร่น้อยมากในปัจจุบัน แท้ที่จริงแล้ว ฉันท์มีหลายประเภท ฉันท์ที่แต่งได้ง่ายก็มี และการใช้คำในฉันท์ก็ไม่จำเป็นต้องใช้คำยากเสมอไป ดังตัวอย่าง วิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ ของ ชิต บุรทัต ในวรรณคดีเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ แรมทางกลางเถื่อน ห่างเพื่อนหาผู้ หนึ่งใดนึกดู เห็นใครไป่มี หลายวันถั่นล่วง เมืองหลวงธานี นามเวสาลี ดุ่มเดาเข้าไป ผูกไมตรีจิต เชิงชิดชอบเชื่อง กับหมู่ชาวเมือง ฉันท์อัชฌาสัย เล่าเรื่องเคืองขุ่น ว้าวุ่นวายใจ จำเป็นมาใน ด้าวต่างแดนตน ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ตัวอย่างอินทรวิเชียร ฉันท์ ๑๑ ในมงคลสูตรคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หนึ่งคือบ่คบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด หนึ่งคบกะบัณฑิต เพราะจะพาประสบผล หนึ่งกราบและบูชา อภิปูชนีย์ชน ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ นอกจากนี้ ยังมีฉันท์อื่นๆ อีกที่ไม่ยากนัก นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสามารถอ่านเข้าใจได้ และอาจหัดแต่งตามได้ตามศักยภาพของบุคคล แต่อาจใช้เวลาบ้าง สำหรับนักเรียนระดับนี้ จึงได้เลือกนำมาให้นักเรียนฝึกแต่งเพียง ๒ ชนิด คือ ตามที่ได้ยกตัวอย่างมาให้ดูข้างต้นแล้ว วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ หมายถึง ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้าแลบที่มีรัศมียาว อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามประดุจสายฟ้าซึ่งเป็น อาวุธของพระอินทร์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

โอกาสที่ใช้แต่งฉันท์ นอกจากกวีจะใช้ฉันท์สำหรับแต่งเรื่องราวที่ต่อเนื่องกันยืดยาว มี เค้าโครงเรื่องมีบทพรรณนา บทสนทนา คติธรรม ฯลฯ ดังเช่นวรรณคดีเรื่อง สมุทรโฆษคำฉันท์ อนิรุทธคำฉันท์ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ มาจนถึงอิลราช คำฉันท์ สามัคคีเภทคำฉันท์ แล้วกวียังใช้ฉันท์ในการแต่งบทประพันธ์ขนาดสั้น เพื่อวัตถุประสงค์และโอกาสต่างๆ กัน เช่น แต่งเป็นบทสดุดี บทบูชาพระคุณ ครูบาอาจารย์ บิดามารดา และบทอวยพรเนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การใช้คำในการแต่งฉันท์ ฉันท์เป็นคำประพันธ์ที่คนไทยรับมาจากวรรณคดีบาลี ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีการใช้เสียงหนักเบา หรือเสียงครุลหุอยู่เป็นปกติ ธนะ ชนะ สุริย์ (คำลหุ สองคำเรียงกัน) สวนะ สุริยะ (คำลหุ สามคำเรียงกัน) คำครุ หมายถึง คำ (พยางค์) ต่างๆ ที่ไม่ใช่คำลหุ คำในแม่ ก กา ที่ประสมด้วยสระเสียงยาว คำที่มีตัวสะกดทุกมาตรา เช่น นา รี เสา วัน มาตร (คำครุ คำเดียว) นารี โสภา ธาดา วันชัย (คำครุ สองคำเรียงกัน) นารีรัตน์ เมืองเชียงใหม่ สัญชาติไทย (คำครุ สามคำเรียงกัน) ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การใช้คำในการแต่งฉันท์ เนื่องจากฉันท์ต้องใช้คำครุลหุมาก คำไทยแท้จึงไม่เพียงพอ จำเป็นต้องอาศัยคำศัพท์บาลีสันสกฤตดัดแปลงให้เหมาะสมไม่ขัดกับหลักภาษา ตัวอย่างเช่น บางครั้งกวีต้องการคำลหุ ๓ คำเรียงกัน ให้มีความหมายว่า ใจ คำว่า ใจ นั้นมีอยู่มากในภาษาบาลีสันสกฤต เช่น ฤดี หฤทัย มนัส มโน ก็ต้องเลือกคำให้เหมาะ อาจเลือก คำ หทัย โดย ใช้รูป หทย (ออกเสียง หะ-ทะ-ยะ) ซึ่งไม่ขัดกับหลักภาษาเดิม เพราะคำนี้ ในภาษาบาลีว่า หทย อยู่แล้ว ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การใช้คำในการแต่งฉันท์ คำ เช่น วร (ดี ประเสริฐ) อาจออกเสียงให้เป็น วอน วะ-ระ วอ-ระ หรือแม้แต่เพิ่มเสียงสระอา ที่พยางค์หลังเป็น วรา ก็ได้ เพื่อให้สอดคล้องระเบียบบังคับการแต่งฉันท์ ซึ่งจะได้เสียง ครุ ลหุ-ลหุ ครุ-ลหุ ลหุ-ครุ ตามลำดับ จากคำเดิมเพียงหนึ่งคำโดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ คำที่นำมาใช้ต้องมีความหมายตรงตามที่ต้องการและดัดแปลงโดยไม่ให้ผิดการรับคำบาลีสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การใช้คำในการแต่งฉันท์ เช่น จะดัดแปลง หทัย เป็น หาทัยยะ เพื่อให้เป็นเสียง ครุ-ครุ-ลหุ ไม่ได้เป็นอันขาด วร จะดัดแปลงเป็น วารา หรือ วโร ก็ไม่ได้ ทั้งนี้อย่านำไปปนกับคำ เช่น วโรรส วโรกาส เพราะเป็นคำสมาส ซึ่งมีเสียงสนธิ คือ วร+โอรส วร+โอกาส ตามลำดับ หลักการรับคำบาลีมาใช้ในภาษาไทย ยอมให้ยืดเสียงยาวขึ้นเฉพาะพยางค์สุดท้าย หรือจะแปลง รุกข ให้เป็น รุกขี รุกโข ไม่ได้ ได้เพียง รุกขา คำเดียวเท่านั้น ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ หลักพื้นฐานที่ใช้ได้ในทางปฏิบัติได้ดีที่สุด คือ ต้องจดจำหรือดูจากฉันท์ต้นแบบให้แม่นยำ ฉันท์มีลักษณะบังคับง่ายๆ ๒ ประเภท ดังที่ยกมาให้ดูในตอนต้น อาจใช้เป็นฉันท์ต้นแบบได้อย่างดี ควรระลึกไว้เสมอว่า ฉันท์ต้นแบบควรใช้สัก ๒ บท เป็นอย่างน้อย ถ้าใช้เพียงบทเดียวอาจขาดระเบียบบังคับ เรื่องการสัมผัสระหว่างบท ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ จากแผนผังข้างต้น แสดงว่า วิชชุมมาลา ฉันท์ บทหนึ่งมี ๘ บท บทหนึ่งมี ๔ บาท บาทหนึ่ง มี ๒ วรรค ทุกวรรคมี ๔ คำ เป็นคำครุทั้งหมด ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ การรับ-ส่ง สัมผัส มีระเบียบ ดังนี้ ในบาทที่ ๑ คำท้ายสุดของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๒ ในบาทเดียวกัน และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบาทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ในบาทที่ ๒ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ ในบาทที่ ๓ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๒ ในบาทเดียวกัน และในคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบาที่ ๓ ต้องรับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบาทที่ ๒ และรับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ในบาที่ ๔ ถ้าแต่งมากกว่า ๑ บท ให้คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ของบาทที่ ๔ ส่งสัมผัสไปที่คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ บาทที่ ๒ ในบทต่อไป ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ ในเบื้องต้น ผู้แต่งต้องมีแนวความคิดและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่าจะแต่งเกี่ยวกับเรื่องอะไร เพื่อประโยชน์ใด และในโอกาสใด การแต่งฉันท์ก็เช่นเดียวกัน ผู้แต่งต้องวางแนวความคิดไว้ให้ชัดเจน อาจเขียนเป็นผังมโนภาพ หรือเขียนเป็นหัวข้อแนวความคิดอย่างสังเขปไว้ก็ได้ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ เมื่อได้แนวคิดที่ชัดเจนแล้วก็ลงมือแต่งตามลักษณะบังคับ ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนรายละเอียดเล็กน้อยให้ผิดไปจากแนวความคิดเดิมบ้างก็ได้ แต่สาระสำคัญต้องคงไว้ ในการแต่งต้องใช้ความคิดเลือกคำโดยพิถีพิถัน อาจใช้พจนานุกรมช่วยเลือกเฟ้นคำและตรวจสอบความหมาย ตลอดจนวิธีสะกดคำให้ถูกต้อง ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ ตัวอย่าง การแต่งวิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ วัตถุประสงค์และโอกาสในการแต่ง แสดงความระลึกถึงผู้ประสบภัยอันตรายจากคลื่นสึนามิ แนวความคิดในการแต่ง - ความรู้สึกเศร้าสลด - ผู้คนล้มตายจำนวนมากนับหมื่นนับแสน - ความรู้สึกซาบซึ้งใจที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ สึนามิ (๑) โอ้ว่าน่าเศร้า เมื่อเฝ้ามองดู เห็นหน้ากันอยู่ ผองผู้หญิงชาย หลายพวกเผ่าพงศ์ มาปลงปลิดหาย วิบเดียววอดวาย ดิ่งดับลับพลัน ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ (๒) คลื่นยักษ์ถาโถม จู่โจมเร็วรี่ นับหมื่นชีวี ถึงฆาตพร้อมกัน ห่อนเว้นว่างใคร ไยดับดังนั้น ยิ่งนึกยิ่งหวั่น อกสั่นขวัญบิน ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ (๓) หนาวจิตคิดดู เราอยู่ห่างไกล ยังแทบขาดใจ หมดหวังพังภินท์ แต่ระลึกนึกไป ชาวไทยใช่สิ้น จอมเจ้าภูมินทร์ ทรงซับน้ำตา ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ (๔) ชาวไทยคลายโศก วิปโยคยากเข็ญ แปรเปลี่ยนให้เป็น พลวัตพัฒนา สร้างสรรค์บ้านเมือง รุ่งเรืองทันตา มีองค์ราชา เป็นขวัญชาติเทอญ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ จากแผนผังข้างต้น แสดงว่า อินทรวิเชียร ฉันท์ ๑๑ บทหนึ่ง มี ๒ บาท บาทหนึ่ง ๒ วรรค มีระเบียบบังคับเกี่ยวกับคำครุ ลหุ ดังนี้ วรรคที่ ๑ ของบาทที่ ๑ และบาทที่ ๒ มี ๕ คำ สองคำแรกและสองคำหลังเป็นคำครุ คำกลางเป็นลหุ วรรคที่ ๒ ทั้งบาทที่ ๑ และ บาทที่ ๒ มี ๖ คำ สองคำแรกเป็นลหุ คำที่สามเป็นครุ คำที่ ๔-๕-๖ เป็นลหุ-ครุ-ครุ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ การรับ-ส่งสัมผัส มีระเบียบบังคับว่า คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ บาทที่ ๑ สัมผัสกับ คำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ ในบาทเดียวกัน คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ บาทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ของบาทที่ ๒ ถ้าแต่งมากกว่า ๑ บท ให้คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบาทที่ ๒ส่งสัมผัสไปที่คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบาทที่ ๑ ในบทต่อไป ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ หลักการแต่งเหมือนกับวิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ ที่กล่าวมาแล้ว เช่น เมื่อจะแสดงความระลึกถึงพระคุณของอาจารย์ ในโอกาสที่คณะศิษย์จัดงานเกษียณอายุให้ท่าน แนวความคิดอาจได้แก่ ต้องการให้บรรดาครูอาจารย์ ที่เกษียณอายุรับรู้ถึงความรู้สึกอันดีงามของศิษย์ในโอกาสนั้น พร้อมทั้งอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยให้ดลบันดาลความสุขสวัสดี ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ แด่คณาจารย์ (๑) วันนี้คณาศิษย์ สุรจิตสมานฉันท์ พร้อมเพรียงประชุมกัน อภิวาทนาการ (๒) ด้วยจิตระลึกถึง คุณซึ่งคณาจารย์ เต็มใจประสิทธิ์สาร วิธเวทย์วิเศษศรี ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ (๓) ก่อเกิดประโยชน์สุข ทุรทุกข์บ่ได้มี ภัยพาล ฤ ราคี ละก็ล้วนปลาสนา (๔) ศิษย์จึงลุสัมฤทธิ์ ชยกิจนานา นิจเนื่องนิรันดร์มา ประลุถึงอุดมพร (๕) รำลึกพระคุณนั้น และก็พลันชุลีกร กราบก้มประณมวอน มนะมั่นนิรันดร์ไป ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การแต่งฉันท์ (๖) ด้วยคุณพระไตรรัตน์ สิริวัฒน์วิบูลย์ชัย ป้องปัดวิบัติภัย บ่มิกล้าจะพ้องพาน (๗) ปรีดิ์เปรมเกษมสุข นิรทุกข์ตลอดกาล โรคภัยทุพลผลาญ ก็ละลี้ละหลีกเทอญ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ฉันท์ประเภทต่างๆ มาณวกฉันท์๘ มาณวกฉันท์๘ (มา-นะ-วก-กะ-ฉัน) ฉันท์ที่มีลีลาเสียงไพเราะงดงามให้ความสดชื่นมีชีวิตชีวา ประดุจมาณพหนุ่มน้อย ๏ ปางศิวะเจ้า เนา ณ พิมาน บรรพตศานต์ โสภณไกร- ลาสรโห โอ่หฤทัย ทราบมนใน กิจพิธี ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ฉันท์ประเภทต่างๆ มาณวกฉันท์๘ ทวย ธ กระทำ กรรมพิเศษ อัศวเมธ ปูชยพลี เคลื่อนวรองค์ ลงปฐพี สู่พระพิธี สาทรกรรม (อิลราชคำฉันท์) ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ฉันท์ประเภทต่างๆ สาลินีฉันท์ ๑๑ สาลินีฉันท์ ๑๑ หมายถึง ฉันท์ที่มากไปด้วยครุ ซึ่งเปรีบเหมือนแก่นหรือหลัก ๏ เกียจคร้านการทำงาน บมีบ้านจะอาศัย เกิดมาเป็นคนไทย ฤควรท้อระย่องาน ๏ ทำกินถิ่นของตัว ผิทำชั่วก็เป็นพาล ชั่วผิดติดสันดาน วิบัติกรรมจะนำผล ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ฉันท์ประเภทต่างๆ สาลินีฉันท์ ๑๑ ๏ เหตุนี้ควรหมั่นเพียร ริเริ่มเรียนระวังตน อย่ากลั้วมั่วกับคน ทุศีลสร้างทุราบาย ๏ ดูจีนในถิ่นไทย เจริญวัยเพราะค้าขาย จีนนั้นหมั่นขวนขวาย ขยันงานและออมสิน หลักภาษาไทย : กำชัย ทองหล่อ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ฉันท์ประเภทต่างๆ อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ แปลว่ารองอินทรวิเชียร คือมีลักษณะคล้าย ๆ อินทรวิเชียรฉันท์ ๏ พระนางพิโรธกริ้ว นะก็ควรจะมากมาย และเหตุก็แรงร้าย จะมิทรงพิโรธฤๅ ๏ ก็แต่จะพาที บมิได้ถนัดฮือ เพราะเกรงจะอึงอื้อ จะมิพ้นละโทษทัณฑ์ มัทนะพาธา ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ฉันท์ประเภทต่างๆ กมลฉันท์ ๑๒ กมลฉันท์ ๑๒ (กะ-มะ-ละ-ฉัน) แปลว่าฉันที่มีลีลาดุจกล่อมใจให้เพลิดเพลิน ๏ จรเวิ้งวนาวาส ก็ระดาษดำเนินราย ยุระเยื้องชำเลืองชาย นยน์ชมผกามาลย์ ๏ อรอันสนัดขับ สุรศัพท์ประเลงลาน วนเซ่ผสานขาน รุขเทพบำเทิงถวิล อิลราชคำฉันท์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ฉันท์ประเภทต่างๆ ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ (ภุชงค์ หมายถึง งู หรือนาค ประยาต หมายถึงอาการงูเลื้อย) ฉันท์ที่มีลีลางดงามประดุจการเลื้อยของงู ๏ มนัสไทยประณตไท้ นรินทร์ไทยมิท้อถอน มิผูกรักมิภักดิ์บร มิพึ่งบารมีบุญ ๏ ถลันจ้วงทะลวงจ้ำ บุรุษนำอนงค์หนุน บุรุษรุกอนงค์รุน ประจญร่วมประจัญบาน ฉันท์ยอเกียรติชาวนครราชสีมา ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ฉันท์ประเภทต่างๆ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ (วะ-สัน-ตะ-ดิ-หลก-กะ -ฉัน) ฉันที่มีลีลางามวิจิตรประดุจรอยแต้มที่กลีบเมฆซึ่งปรากฎในตอนต้นแห่งวสันตฤดู ๏ อ้าเพศก็เพศนุชอนงค์ อรองค์ก็บอบบาง ควรแต่ผดุงศิริสอาง ศุภลักษณ์ประโลมใจ ๏ ยามเข็ญก็เข็นสริระอวย พลช่วยผจญภัย โอ้ควรจะเอื้อนพจนไข คุณเลิศมโหฬาร ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ฉันท์ประเภทต่างๆ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ ๏ อ้าหัตถ์ก็หัตถ์สุขุมชวน มนะหวนฤดีดาล ควรแต่จะถือสุรภิมาล- ยประมูลมโนรมย์ ๏ ยามทุกข์ก็ถือวิวิธอา- วุธฝ่าระทมตรม โอ้ควรจะเอื้อนพจนชม คุณชั่วนิรันดร์กาล คำฉันท์ยอเกียรติชาวนครราชสีมา ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ฉันท์ประเภทต่างๆ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ (สัด - ทุน-ละ-วิก-กี-ลิ-ตะ-ฉัน) ฉันท์ที่มีลีลาประดุจสิงโตคะนอง ๏ ข้าขอเทิดทศนัขประนามคุณพระศรี สรรเพชญพระภูมี พระภาค ๏ อีกธรรมาภิสมัยพระไตรปิฎกวากย์ ทรงคุณคะนึงมาก ประมาณ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ฉันท์ประเภทต่างๆ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ ๏ นบสงฆ์สาวกพุทธ์พิสุทธิ์อริยญาณ นาบุญญบุญบาน บ โรย ๏ อีกองค์อาทิกวีพิรียุตมโดย ดำรงดำรับโปรย ประพันธ์ ๏ ผู้เริ่มรังพจมานตระการกมลกรรณ ก้มกราบพระคุณขันธ์ คเณศ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ฉันท์ประเภทต่างๆ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ ๏ สรวมชีพอัญชลีนาถพระบาทนฤเบศ มงกุฏกษัตริย์เกษตร สยาม ๏ ที่หกรัชสมัยก็ไกรกิติพระนาม ทรงคุณคามภี- รภาพ อิลราชคำฉันท์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ฉันท์ประเภทต่างๆ อีทิสังฉันท์ ๒๐ อีทิสังฉันท์ ๒๐ ฉันท์มีลีลางดงามประดุจฉันท์ที่ได้พรรณนามาแล้วข้างตน บ้างก็เรียก "อีทิสฉันท์" ๏ อ้าอรุณแอร่มระเรื่อรุจี ประดุจมะโนภิรมระตี ณ แรกรัก ๏ แสงอรุณวิโรจน์นะภาประจักษ์ แฉล้มเฉลาและโสภินัก ณ ฉันใด ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ฉันท์ประเภทต่างๆ อีทิสังฉันท์ ๒๐ ๏ หญิงและชาย ณ ยามระตีอุทัย สว่าง ณ กลาง กะมลละไม ก็ฉันนั้น ๏ แสงอุษาสกาวพะพราวสวรรค์ ก็เหมือนระตีวิสุทธิอัน สว่างจิต มัทนะพาธา ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การเลือกใช้ฉันท์ประเภทต่างๆ การเลือกใช้ฉันท์ ต้องเลือกให้เหมาะกับวัตถุประสงค์หรือเนื้อเรื่องที่จะเขียน ๑. บทนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บทไหว้ครู บทสรรเสริญพระเกียรติ ความขลัง ใช้ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์หรือสัทธราฉันท์ ๒. บทเล่าเรื่อง บทชม คร่ำครวญ นิยมใช้ อินทรวิเชียรฉันท์ หรือวสันดิลกฉันท์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การเลือกใช้ฉันท์ประเภทต่างๆ ๓. บทแสดงอารมณ์รุนแรง เช่นโกรธ ตื่นเต้น วิตกกังวล หรือบรรยายความในใจเกี่ยวกับความรักที่ต้องการให้เห็นอารมณ์สะเทือนใจอย่างมาก นิยมใช้ อิทิสังฉันท์ ซึ่งเป็นฉันท์ที่สลับเสียงหนักเบา เน้นเสียงเป็นจังหวะทุกระยะ ๔. บทพรรณนาโวหารหรือบรรยายข้อความที่น่าตื่นเต้น หรือเป็นที่ประทับใจ นิยมใช้ภุชงคประยาตฉันท์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การเลือกใช้ฉันท์ประเภทต่างๆ ๕. บทสนุกสนานขบขัน หรือคึกคักสับสน ให้เหตการณ์บรรยายไปอย่างรวดเร็ซจะนิยมใช้โตฏกฉันท์ มาณวกฉันท์ หรือจิตรปทาฉันท์ ๖. บทบรรยายความ นิยมใช้ อุเปนทรวิเชียรฉันท์ อินทวงสฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ หรือสาลินีฉันท์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์