วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
พุทธสาวก/พุทธสาวิกา พระอัญญาโกณฑัญญะ ชื่อเดิมคือ โกณฑัญญะ เกิดในสกุลพราหมณ์ กรุงกบิลพัสดุ์ นับเป็นพระสงฆ์รูปและเป็นปฐมสาวกในพระพุทธศาสนา ท่านได้รับกายกย่อง จากพระพุทธองค์ในฐานะเป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้มีรัตตัญญู คือ มีประสบการณ์มาก
การเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา พระอัญญาโก-ฑัญญะเป็นหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงคัดเลือกให้เข้าทำนายพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะหลังจากประสูติได้ 5 วัน โกณฑัญญะพราหมณ์ทำนายพระลักษณะว่า “เจ้าชายน้อยนี้ต่อไปจะเสด็จออกผนวชและได้เป็นศาสดาเอกของโลกแน่นอน”
ด้วยความเชื่อตามคำทำนายของตนเอง เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช โกณฑัญญะจึงชักชวนบุตรพราหมณ์อีก 4 คนคือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ (รวมเรียกว่าปัญจัคคีย์ ออกบวชตามเพื่อคอยปรนนิบัติ ด้วยหวังว่าจะได้รับคำสั่งสอนจากพระองค์ภายหลังตรัสรู้แล้ว
ภายหลังจากการตรัสรู้แล้ว พระพุทธจ้าทรงดำริหาผู้ที่จะรับฟังธรรม ทรงเห็นว่าปัญจวัคคีย์มีพื้นฐานความรู้พอจะเข้าใจได้เป็นกลุ่มแรก จึงเสด็จไปแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร ให้ฟังเป็นปฐมเทศนาของพระพุทธองค์จนในที่สุดโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) และบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน
เมื่อได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วโกณฑัญญะได้ทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าทรงประทานอนุญาตให้อุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านจึงเป็น พระสงฆ์รูปแรกและเป็นปฐมสาวกในพระพุทธศาสนา
คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง 1) ความเป็นผู้รอบรู้ อันเป็นผลมาจากความเป็นผู้มีประสบการณ์มาก มีความรอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นที่ปรึกษาที่ไว้วางใจได้เสมอ 2) รักสันโดษ รักสงบ โดยเฉพาะในช่วงวัยชรา ท่านได้ทูลลาพระพุทธเจ้าไปจำพรรษาในป่าหิมพานต์ 3) เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่น เมื่อครั้งทำนายว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะต้องออกผนวช และเป็นศาสดาเอกของโลก
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอัญชนะและเป็นพระกนิษฐภคินี (น้องสาว) ของพระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา ดังนั้น พระนางมหาปชาบดีโคนมีจึงเป็นพระน้านางผู้เลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะ และนับเป็นภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในทางรัตตัญญู คือเป็นผู้มีประสบการณ์มากทางฝ่ายภิกษุณี
การเข้ามาบวชในพระพุทธ ศาสนา เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จเมืองเวลาสีพระนางมหาปชาบดีโคตรมีพร้อมด้วยนางสากิยาณีจำนวนมากได้ปลงพระเกศา ห่มผ้ากาสายะเพื่อแสดงถึงเจตนาการบวชอย่างแรงกล้าและได้ทูลขออุปสมบทที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เมืองเวสาลีผ่านพระอานนท์พระพุทธเจ้าทรงประทานอนุญาตให้อุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา
พระพุทธองค์ทรงวางหลักปฏิบัติพิเศษสำหรับสตรีผู้จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาว่าจะต้องปฏิบัติ ครุธรรม 8 ประการ ได้แก่ 1. ภิกษุณีแม้บวชร้อยพรรษาแล้วก็ต้องกราบไหว้พระภิกษุแม้บวชวันเดียว 2. ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้ 3. ภิกษุณีต้องไปถามวัดอุโบสถ และเข้าไปฟังโอวาทจากพระภิกษุทุกกึ่งเดือน
4. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้วต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่ายโดยสถานทั้ง 3 คือ โดยได้เห็น ได้ยิน โดยรังเกียจ (รังเกียจ หมายถึง ระแวงสงสัยหรือเห็นพฤติกรรมอะไรที่น่าเคลือบแคลง) 5. ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัด(ระเบียบปฏิบัติการออกจากอาบัติ)ในสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ เป็นเวลา15 วัน 6. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์สองฝ่าย 7. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่าจะโดยปริยายใดๆ 8. ไม่ให้ภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุ แต่ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้
พระนางมหาปชาบดีโคตรมีทรงยินดีปฏิบัติตามครุธรรม 8 ประการจึงได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุณี ภายหลังการอุปสมบทแล้วได้เรียนกรรมฐานจากพระพุทธเจ้าและนำไปปฏิบัติด้วยความวิริยะอุตสาหะจนบรรลุพระอรหันต์ในที่สุด และได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคในด้านเป็นผู้รู้รัตตัญญู มีประสบการณ์มากทางฝ่ายภิกษุณี
คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง 1) มีความมุ่งมั่น ดังจะเห็นได้จากความตั้งใจที่จะบวชเป็นภิกษุณี ต้องเดินทางด้วยเท้าเปล่าจากเมืองกบิลพัสดุ์ไปเมืองเวสาลีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลขออุปสมบท 2) มีความอดทนสูง การที่ทรงรับปฏิบัติตามเงื่อนไขครุธรรม 8 ประการที่ พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงรับเงื่อนไขโดยไม่ลังเลใจและปฏิบัติด้วยความอดทนตามเงื่อนไขได้ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกประการ
3) ยึดมั่นในคารวธรรม โดยฐานะแล้วพระนางมหาปชาบดีโคตรมีเป็นพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้า แต่พระนางก็ไม่แสดงตนและใช้สิทธิ์ความเป็นแม่ของพระพุทธเจ้าแต่อย่างใด กลับดำรงบทบาทของตนเองในฐานะพุทธสาวิกาที่ดี และถือพระพุทธเจ้าในฐานะพระบิดาในทางธรรม
พระเขมาเถรี
พระเขมาเถรี เดิมชื่อ เขมา ทรงเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าสาคละ แคว้นวันมัททะ และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เมื่อบวชเป็นภิกษุณีแล้ว พระเขมาเถรีได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะทางมีปัญญามากฝ่ายภิกษุณีและเป็นอัครสาวิกาเบื้องขวา (ฝ่ายภิกษุณี)
การเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ในระยะแรกพระนางเขมามิได้มีพระทัยฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนา ประกอบกับทรงหลงใหลในพระรูปสมบัติของตนเอง จึงไม่ยอมเสด็จ เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยทรงเกรงว่าพระพุทธเจ้าอาจจะทรงชี้ให้เห็นโทษเกี่ยวกับพระรูปโฉมของพระนาง
เพื่อจะให้พระนางเข้าเฝ้าฟังธรรมจากพระพุทธองค์ พระเจ้าพิมพิสารทางพระดำริหาอุบายให้กวีแต่งบทเพลงพรรณนาความงามของพระวิหารเวฬุวันแล้วขับร้องให้พระนางฟัง จนพระนางทูลขอพระบรมราชานุญาตเสด็จไปทอดพระเนตรความงามของวัดเวฬุวัน และราชบุรุษได้นำพระนางเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในที่สุด
พระพุทธองค์มีพระประสงค์จะแสดงธรรมให้เหมาะแก่พระอุปนิสัย จึงทรงเนรมิตร่างสตรีผู้มีความงดงามประดุจนางฟ้าให้ถวายงานพัดและทรงแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของรูปสตรีนั้น กล่าวคือ จากวัยสาววัยกลางคนสู่วัยแก่ที่มีหนังเหี่ยวย่น ฟันหัก จนที่สุดล้มลงไปนอนกลิ้งเกลือกไปมาเป็นภาพที่น่าเวทนายิ่งนัก
พระนางเขมาเมื่อทอดพระเนตรเห็นความเปลี่ยนแปลงนั้น จึงทรงนึกเปรียบเทียบกับพระวรกายของพระนางเองว่าสักวันจะต้องเป็นอย่างนั้นดังนั้นจึงทรงแสดงธรรมให้ฟังจนพระนางเขมาได้บรรลุอรหันต์เป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา และทูลขอผนวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา
คุณธรรมที่ควรยึดเป็นแบบอย่าง 1) ความเป็นผู้ใฝ่การศึกษา เมื่อมาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วได้รับยกย่องให้เป็นเอตทัคคะทางด้านผู้มีปัญญามาก อันแสดงถึงความเป็นผู้ฝักใฝ่และขยันหมั่นเพียงในการศึกษาจนได้รับการแต่งตั้งจากพระพุทธเจ้าให้เป็นอัครสาวิกาเบื้องขวา 2) ความเป็นผู้มีปฏิภาณ คือมีความรู้แตกฉานและรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องต่างๆ ที่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาเป็นอย่างดี จึงทำให้เป็นผู้มีความรู้ทั้งรู้สึกและรู้กว้าง
พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโกศล กษัตริย์แห่งเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล และเป็นศิษย์ร่วมสำนักทิศาปาโมกข์ เมืองตักศิลา ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดา
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเคยนับถือนักบวชนอกพระพุทธ ศาสนามาก่อน ต่อมาจึงทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเพราะทอดพระเนตรเห็นจริยาวัตรอันสำรวมและงดงามของพระภิกษุสงฆ์ ทุกครั้งที่เสร็จจากพระราชภารกิจจะเสด็จไปฟังธรรมและสนทนากับพระพุทธเจ้าเสมอพระองค์จึงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ฝักใฝ่การทำบุญและอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาเป็นพระราชอุปนิสัย
ครั้งหนึ่งในขณะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทีฆการายนะอำมาตย์ได้ก่อการกบฏเข้ายึดพระนคร พระองค์ได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์เพื่อขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าอชาตศัตรูมาช่วยปราบกบฏ แต่ไม่ทันการ ด้วยความเหน็ดเหนื่อยบอบซ้ำพระวรกายประกอบกับความเสียพระราชหฤทัย พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จสวรรคต ณ คืนวันนั้น ที่ข้างประตูเมืองราชคฤห์นั่นเอง
คุณธรรมที่ควรยึดเป็นแบบอย่าง 1) ทรงมั่นคงในพระรัตนตรัย พระองค์ทรงเข้าเฝ้าฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเป็นประจำเมื่อว่างจากพระราชภารกิจ และอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ตลอดรัชกาลของพระองค์ 2) ทรงปกป้องคุ้มครองรพระพุทธศาสนา หลายครั้งที่พระพุทธศาสนาถูกรุกรานด้วยลัทธินอกพระพุทะศาสนา ในฐานะเอกอัครศาสนูปถัมภก พระเจ้าปเสนทิโกศลจะไม่ทรงเฉยเมย แต่กับมีพระทัยฝักใฝ่ในการแก้ปัญหา
ชาวพุทธตัวอย่าง หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิสกุล ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2338 เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหม่อมเฉื่อย พระองค์สิ้นชีพิตักษัยด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2533 รวมพระชันษาได้ 95 พรรษา
กรณียกิจด้านพระพุทธศาสนา 1. ทรงเป็นที่ปรึกษาชมรมพุทธศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเสด็จไปประทานความรู้ด้านพระพุทธศาสนา สัปดาห์ละ 2 ครั้งและเป็นที่ปรึกษาชมรมพุทธศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ 2. ทรงเป็นองค์ปาฐกถาและบรรยายวิชาการทางพระพุทธ ศาสนาทั้งในและต่างประเทศ 3. ทรงเป็นกรรมการบริหารและอุปนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
4. ทรงเป็นรองประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ. ส. ล. ) ในพ. ศ 4. ทรงเป็นรองประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ในพ.ศ. 2496 และประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกในพ.ศ. 2507 5. ทรงมีงานนิพนธ์ทางพระพุทธ ศาสนาหลายเรื่อง เช่น หนังสือชื่อศาสนคุณหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเยาวชน เป็นต้น
คุณธรรมที่ควรยึดเป็นแบบอย่าง 1) ทรงเป็นอุบาสิกาที่เคร่งครัด ตระหนักในหน้าที่ของอุบาสิกาด้วยการศึกษาปฏิบัติธรรม 2) ทรงเป็นพหูสูต โดยศึกษาภาษาบาลีจนมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี และมีผลงานวิชาการด้านอื่นๆ อีกทั้งด้านสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดีเป็นต้น
3) ทรงเป็นแบบอย่างพลเมืองที่ดี ด้วยการจงรักภักดีและพิทักษ์สมบัติล้ำค่าของชาติกล่าวคือเมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ มีชาวต่างชาติเสนอซื้อผลงานนิพนธ์ทางวิชาการของพระบิดาด้วยราคาสูง แต่พระองค์ทรงแจ้งความจำนงบริจาคหนังสือให้แก่รัฐบาลเพื่อเก็บไว้เป็นสมบัติของชาติและเป็นคลังความรู้ของประชาชนรัฐบาลในขณะนั้นจึงสร้างห้องสมุดขึ้นรองรับ
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2450 เป็นบุตรมหาอำมาตย์ตรี พระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี ศรีสัตยาวัตตาพิริพาหะ (ทองดี ธรรมศักดิ์) กับคุณหญิงชื้น ธรรมศักดิ์ และสมรสกับท่านผู้หญิงพะงา เพ็ญชาติ
ท่านเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2518 จนถึงวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรีเรื่อยมา ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2545 สิริรวมอายุได้ 94 ปี
งานด้านพระพุทธศาสนา 1. เป็นคณะผู้ร่วมก่อตั้งพุทธสามาคม แห่งประเทศไทย โดยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ยกร่างข้อบังคับของพุทธสมาคม และได้รับการจดทะเบียนเป็นผลสำเร็จใน พ.ศ. 2476 2. ดำรงตำแหน่งเป็นนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ทุ่มเททำงานด้านพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง
3. ดำรงตำแหน่งเป็นประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกติดต่อกันยาวนานถึง 15 ปี ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกเป็นอเนกประการ จนได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติชั้นที่ 1 (WFB GRAND MERIT MEDAL) ในวาระฉลองครบรอบ 50 ปีขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2543
คุณธรรมที่ควรยึดเป็นแบบอย่าง 1) ความใฝ่รู้ เมื่อสิ้นบิดาแล้วท่านต้องต่อสู้ดิ้นรนทางการศึกษาเล่าเรียนโดยอาศัยทุนรพีบุญนิธี ซึ่งต้องอาศัยความมั่นและทุ่มเทต่อการศึกษาอย่างมากจนประสบความสำเร็จ 2) ความซื่อสัตย์สุจริต โดยเฉพาะในการทำงานท่านกล่าวเสมอว่า “ความซื่อสัตย์สุจริตยุติธรรมนี้แลเป็นความดีแท้จริง”
4) ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ท่านได้มีโอกาสรับใช้ใต้เบื้องพระอุคลบาทอย่างใกล้ชิด ได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และประธานองคมนตรีโดยลำดับเป็นเวลานานถึง 30 ปี