ศูนย์บริการคนพิการองค์การบริหารส่วนตำบลโจดหนองแก
ข้อมูลทั่วไป ศูนย์บริการคนพิการทั่วไปตำบลโจดหนองแก ปัจจุบันมีคนพิการทั้งสิ้น ๒๔๓ คน แบ่งเป็นพิการทางการเห็น ๓๐ คน พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ๓๕ คน พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ๑๑๐ คน พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ๒๘ คน พิการทางสติปัญญา ๓๓ คน พิการทางการเรียนรู้ ๖ คน พิการทางออทิสติก ๑ คน
สภาพปัญหา องค์การบริหารส่วนตำบลโจดหนองแกเกิดขึ้นโดยพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ มีภารกิจสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ จากการศึกษาสภาพปัญหาทั่วไป พบว่ามีประชาชนที่เป็นคนพิการที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นจำนวนมาก คนพิการส่วนมากขาดความรู้ อาชีพและรายได้ มีความต้องการพื้นฐาน คุณภาพชีวิตยังด้อยกว่าคนพิการที่อาศัยอยู่ในสังคมเมือง และชุมชนยังขาดความเข้าใจในการดำรงชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ และไม่มีอาชีพ
จุดเริ่มต้นของการพัฒนาฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ในเบื้องต้นองค์การบริหารส่วนตำบลโจดหนองแกได้เริ่มพัฒนางานส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๔๖ ด้วยกิจกรรมแรก คือการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ร่วมกับศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา ๙ ขอนแก่น องค์กรเอกชน คนพิการ ผู้นำชุมชน ผู้บริหาร ประชาชนภายในตำบล หลังจากนั้นจึงเริ่มจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๘ และนำมาสู่การจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการองค์การบริหารส่วนตำบลโจดหนองแกในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๘
พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ ทั้ง 4 ด้าน ด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา วิสัยทัศน์ VISION เกิดความร่วมมือระหว่างกลุ่มคนพิการและชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน พันธกิจ MISSON พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ ทั้ง 4 ด้าน ด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านสังคม
วัตถุประสงค์ OBJECT ๑.ให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ และความช่วยเหลือตามที่คนพิการร้องขอ และตามที่หน่วยงานของรัฐกำหนด รวมทั้งการให้คำปรึกษาหรือช่วยดำเนินการเกี่ยวกับการขอใช้สิทธิประโยชน์แก่คนพิการ ๒.เรียกร้องแทนคนพิการให้ได้รับสิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ หรือขอให้ขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ๓.ให้บริการความช่วยเหลือในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การฝึกอาชีพและการจัดหางานให้แก่คนพิการ ๔.ให้บริการความช่วยเหลือคนพิการหรือผู้ที่มีแนวโน้มจะพิการให้ได้รับการดูแลรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือได้รับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตามความต้องการจำเป็นพิเศษเฉพาะบุคคล ๕.ประสานความช่วยเหลือกับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจ
ผลลัพธ์ที่เกิดหรือผลงาน เกิดกลไกระบบการทำงานของชุมชน และเครือข่ายนำไปสู่การเกิดคณะทำงานพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตคนพิการ
เกิดทีมอาสาสมัครพัฒนาสังคมช่วยเหลือคนพิการ (อพมก.) เกิดทีมอาสาสมัครพัฒนาสังคมช่วยเหลือคนพิการ (อพมก.)
การปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เช่น การปรับสภาพบ้านของคนพิการ
การทำทางลาดและห้องน้ำสำหรับคนพิการ
ส่งเสริมสุขภาพของคนพิการและอบรมให้แก่ผู้ดูแลคนพิการ
มีศูนย์ส่งเสริมกระตุ้นเด็กที่มีพัฒนาการช้า
จัดหาอาชีพเสริมให้แก่คนพิการและครอบครัว และมีกองทุนให้กู้ยืมเงินเพื่อการประกอบอาชีพปลอดดอกเบี้ย
อบรมและทำงานกับบ.ขอนแก่นแหอวน
การออกเยี่ยมบ้านคนพิการเพื่อสร้างกำลังใจและให้คำปรึกษา
จัดหากายอุปกรณ์เฉพาะบุคคลแก่คนพิการ
รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ องค์กรปกครองท้องถิ่นดีเด่นด้านการจัดสวัสดิการคนพิการ
ขอบคุณค่ะ