โครงการส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ แผนงานยุทธศาสตร์อนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกัน ทรัพยากรธรรมชาติ โครงการปกป้องผืนป่าและร่วมพัฒนาป่าไม้ให้ยั่งยืน กิจกรรมหลักฟื้นฟูและดูแลรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ โครงการส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกไม้เศรษฐกิจตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 2. เพื่อเพิ่มผลผลิตไม้ให้เพียงพอต่อความต้องการ ใช้ภายในประเทศ 3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนปลูกไม้เศรษฐกิจ เพื่อ การใช้สอย การผลิตไม้ขาย สร้างรายได้เป็นอาชีพตาม หลักเศรษฐกิจพอเพียง 4. เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกร เต็มศักยภาพ
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ 1. เป็นบุคคลธรรมดา บรรลุนิติภาวะ หรือนิติบุคคล 2. มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย 3. มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามกฎหมาย หรือเป็นผู้มีสิทธิ ใช้ประโยชน์ในที่ดิน พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่เอกสารสิทธิ์และสิทธิครอบครอง สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 1-12 และสำนักจัดการทรัพยากร ป่าไม้สาขาทุกสาขา เป้าหมาย จำนวนพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 10,000 ไร่
รายละเอียดงบประมาณ 6,800,000 บาท งบดำเนินงาน 1,000,000 บาท งบลงทุน 5,800,000 บาท เพาะชำกล้าไม้ทั่วไป 2,000,000 กล้า
พื้นที่เข้าร่วมโครงการ 1. ที่ดินที่เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นที่ดินประเภทใด ประเภทหนึ่ง ตามแนวทางปฏิบัติ ข้อ 5 (1) 2. ที่ดินที่จะขอเข้าร่วมโครงการต้องมีขนาดไม่เกิน 100 ไร่ต่อราย กรณีผู้เข้าร่วมโครงการหนึ่งราย มีที่ดินใน หลายท้องที่ต้องการเข้าร่วมโครงการให้เจ้าหน้าที่รับเข้า ร่วมโครงการโดยแยกเป็นแปลง ทุกแปลงรวมกันต้องไม่ เกิน 100 ไร่ ต่อราย
บัญชีพันธุ์ไม้ 38 ชนิด ได้แก่ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กฤษณา กันเกรา ขี้เหล็ก แคนา จำปาป่า ชิงชัน แดง ตะเคียนทอง ตะแบก เทพทาโร นนทรีป่า ประดู่บ้าน ประดู่ป่า ไผ่ทุกชนิด ฝาง พะยอม พะยูง มะกอกป่า มะขาม มะค่าโมง มะหาด มะฮอกกานีใบใหญ่ ยมหอม ยมหิน ยางนา ยูคาลิปตัส สนประดิพัทธ์ สะเดา สะเดาเทียม สะตอ สัก เสม็ด หว้า เหรียง อินทนิลน้ำ และอินทนิลบก
วิธีดำเนินการ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการ ประชาสัมพันธ์ และรับเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมด้านป่าไม้ตรวจสอบพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ จัดเตรียมและสนับสนุน กล้าไม้แก่เกษตรกร จำนวน 200 ต้น/ไร่ เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำทางวิชาการด้านการปลูกป่าแก่เกษตรกร ออกหนังสือรับรอง การเข้าร่วมโครงการ ตามแบบ พพศ.3 ติดตามและประเมินผลโครงการ * ยื่นคำขอ ตามแบบ พพศ.1 * จัดทำทะเบียนเกษตรกร ตามแบบ พพศ.2 ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 * สำรวจความต้องการของเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ในปีงบประมาณถัดไป * จัดทำแผนที่สังเขปของที่ตั้งเรือนเพาะชำกล้าไม้ * รายงานผลบัญชีกล้าไม้ * รายงานทะเบียนจ่ายกล้าไม้ * แต่งตั้งคณะทำงานติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน * สำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ * สรุปผลการดำเนินงานประจำปี
กรณีดำเนินการได้พื้นที่ไม่ครบตามเป้าหมายและมีกล้าไม้เหลือ ให้ดำเนินการ ดังนี้ 1. ให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ท้องที่พิจารณาสนับสนุน กล้าไม้ตามแนวทางปฏิบัติของโครงการนี้ในจังหวัดที่รับผิดชอบ เป็นอันดับแรก 2. หากยังมีกล้าไม้คงเหลืออยู่ให้แจกจ่ายกล้าไม้แก่บุคคล ทั่วไปได้ โดย 2.1 ระบุชื่อ-สกุลของผู้ขอรับกล้าไม้ 2.2 ระบุชนิดและจำนวนกล้าไม้ และพิกัดพื้นที่แปลง ปลูกของผู้ขอรับกล้าไม้ แล้วคำนวณพื้นที่ คิดจากต้นไม้ 200 ต้น/ไร่) 2.3 ติดตามประเมินผลการจ่ายกล้าไม้
การรายงานผลการปฏิบัติงาน งานที่ปฏิบัติ กำหนดแล้วเสร็จ 1) รายงานผลการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมด้านป่าไม้ รับผิดชอบโครงการส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ และแต่งตั้งคณะทำงานติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานโครงการ ภายในวันที่ 15 มกราคม 2560 2) รายงานแผน/ผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ (แบบ สงป.301 สงป.302 และ สงป.302/2) ทุกวันที่ 3 ของเดือนถัดไป 3) รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (แบบ สปอ.1-3) 4) จัดทำแผนที่สังเขปของที่ตั้งเรือนเพาะชำกล้าไม้ ภายในวันที่ 30 เมษายน 2560 5) รายงานผลบัญชีกล้าไม้ และทะเบียนจ่ายกล้าไม้ตามแบบฟอร์ม 6) รายงานสรุปผลการสำรวจความต้องการของเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ในปีงบประมาณถัดไป ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2560 7) รายงานทะเบียนเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ (แบบ พพศ.2 ส่วนที่1 และส่วนที่2) ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2560 8) รายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี และผลตามแบบสำรวจความพึงพอใจของเกษตรกร ภายในสิ้นปีงบประมาณ
โครงการส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 กล้าไม้คงเหลือ ตามหนังสือกรมป่าไม้ ด่วนที่สุด ที่ ทส 1608.2/19797 ลง วันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 ให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ สนับสนุนกล้าไม้ที่เหลือทั้งหมดตามโครงการฯ ให้แก่เกษตรกร ในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตาม วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการอย่างเคร่งครัดและ รายงานผลการดำเนินงานตามแบบฟอร์ม ดังนี้ 1.ทะเบียนจ่ายกล้าไม้ 2.ทะเบียนเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ (แบบ พพศ.2 ส่วนที่ 1 หรือส่วนที่ 2) ** รายงานต่อกรมป่าไม้ทุกวันที่ 3 ของเดือน ** (รายงานครั้งแรก วันที่ 3 ธันวาคม 2559) * สจป. ที่มีกล้าไม้คงเหลือ ได้แก่ สจป.ที่ 1 (เชียงใหม่) สจป.ที่ 2 (เชียงราย) สจป.ที่ 3 (ลำปาง) สจป.ที่ 6 (อุดรธานี) สจป.ที่ 8 (นครราชสีมา) สจป.ที่ 13 (สงขลา) และ สจป.ที่ 12 สาขากระบี่
ขอบคุณค่ะ