รายได้ประชาชาติ รายวิชา 100-101 : week 04
รายได้ประชาชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ สมมติประเทศเป็นระบบเศรษฐกิจปิด ประกอบด้วยภาคเศรษฐกิจ 2 ภาค คือ (1) ภาคครัวเรือน เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ทั้ง 4 ชนิด (2) ภาคธุรกิจ นำปัจจัยจากภาคธุรกิจจากภาคครัวเรือน ไปผลิตเป็นสินค้าและบริการ ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ภาคเศรษฐกิจดังกล่าวปรากฏดังภาพถัดไป
นำรายได้ทั้งหมด(2)ไปจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการมา (C-Consumption expenditure)จากภาคธุรกิจ ลูกศรเลข 1 นำสินค้าและบริการไปจำหน่ายแก่ภาคครัวเรือน ลูกศรเลข 3 จ่ายผลตอบแทนแก่เจ้าของปัจจัยการผลิตในรูปของ ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย กำไร แก่ภาคครัวเรือน ลูกศรเลข 2 นำปัจจัยการผลิตจำหน่ายแก่ภาคธุรกิจ ลูกศรเลข 4
ดังนั้น รายจ่าย 1=รายได้ 2 = มูลค่าผลผลิต 3 ผลรวมของ รายได้ภาคครัวเรือน(2) ทุกรายการเรียกว่า รายได้ประชาชาติ ภาคครัวเรือนนำรายได้ทั้งหมด (2) ไปเป็นรายจ่าย (1) ซึ่งสินค้าและบริการที่ผลิตทั้งหมด(3) ได้จำหน่ายแก่ภาครัวเรือน ผลรวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิต = ผลรวมของ 3 ทุกรายการ = ผลรวมของรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าบริการทั้งหมด = ผลรวมของ 1 ทุกรายการ ดังนั้น รายจ่าย 1=รายได้ 2 = มูลค่าผลผลิต 3
การคำนวณรายได้ประชาชาติ 3 วิธี 1. คำนวณด้านรายจ่าย 2. คำนวณด้านรายได้ 3. คำนวณด้านผลผลิต เมื่อพิจารณาการคำนวณรายได้ประชาชาติ ด้านผลผลิต ได้ความหมายของรายได้ประชาชาติ 2 ความหมาย
ความหมายรายได้ประชาชาติ ถ้าคำนวณรายได้ประชาชาติ จากด้านผลผลิต มี 2 ความหมาย ได้แก่ 1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product :GDP) 2. ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product :GNP)
ความหมายของ GDP GDP คือ มูลค่า ณ ราคาตลาด(ปีปัจจุบัน)ของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้น ภายในประเทศนั้น ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งโดยปกติคือ 1 ปี โดยไม่สนใจว่าใครเป็นเจ้าของทรัพยากร (ปัจจัยการผลิต) นั้น
GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ความหมายของ GNP GNP คือ มูลค่า ณ ราคาตลาด(ปีปัจจุบัน)ของสินค้า และบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้น โดยทรัพยากร ของประเทศนั้น ในช่วงเวลาหนึ่งคือเวลา 1 ปี โดยไม่สนใจว่าทรัพยากร(ปัจจัยการผลิต)นั้น จะอยู่ในประเทศนั้นหรือไม่
การคำนวณGDPและGNP ตัวอย่าง สมมติว่าโลกนี้มี 2 ประเทศ คือ ไทย และ ประเทศ X - มีทรัพยากรการผลิตหรือปัจจัยการผลิตเพียงชนิดเดียว คือ แรงงาน - มีสินค้าเพียงชนิดเดียว คือ รถยนต์เฟอร์รารี่ ซึ่งผลิตโดย แรงงานไทยและแรงงานประเทศ X
รายละเอียดมูลค่าผลผลิต เฟอร์รารี่ (ล้านบาท) มูลค่าเฟอร์รารี่ ที่ผลิตในไทย ที่ผลิตในประเทศX โดยแรงงานไทย ในไทย โดยแรงงานX ที่อยู่ในไทย ในประเทศX 20 5 10 15 รายละเอียดมูลค่าผลผลิต เฟอร์รารี่ (ล้านบาท)
GNP = GDP+รายได้สุทธิจากต่างประเทศ ในหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรายได้สุทธิจากต่างประเทศติดลบ ซึ่ง GDPมากกว่า GNP แสดงว่าผลผลิต(รถยนต์)ของต่างชาติในไทย(เงินไหลออก) มีมากกว่าผลผลิตของไทยในต่างประเทศ(เงินไหลเข้า)
เมื่อไทยมีสินค้าและบริการมากมายหลายชนิด(รถยนต์ และสินค้าอื่น) ความหมายของGDP = มูลค่าสินค้าและบริการขั้น สุดท้ายที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย สินค้าหรือบริการขั้นสุดท้าย หมายถึง สินค้าหรือบริการที่นำไปใช้หรือบริโภคได้ทันที มิใช่สินค้าหรือบริการที่ต้องถูกนำไปเป็นปัจจัยการผลิต (หรือวัตถุดิบ)เพื่อผลิตเป็นสินค้าหรือบริการอื่นอีกต่อหนึ่ง
การคำนวณรายได้ประชาชาติ สมมติเป็นระบบเศรษฐกิจเปิด การคำนวณรายได้ประชาชาติ สมมติเป็นระบบเศรษฐกิจเปิด ระบบเศรษฐกิจประกอบด้วย 4 ภาคเศรษฐกิจ ได้แก่ 1. ภาคครัวเรือน 2. ภาคธุรกิจ 3. ภาครัฐบาล 4. ภาคต่างประเทศ
องค์ประกอบของGDP การคำนวณ หา GDP จาก ด้านรายจ่าย GDP = C + I + G + (X-M) วิธีนี้จะนับรวมรายจ่ายทั้งหมดที่จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในประเทศ หรือนำรายจ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งมารวมกัน รายจ่ายทั้งหมด 4 ประเภทที่จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในประเทศ ได้แก่ รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน (C) รายจ่ายเพื่อการลงทุนของภาคเอกชน (I) รายจ่ายเพื่อการซื้อสินค้าและบริการของภาครัฐบาล (G) รายจ่ายจากการส่งออกสุทธิ (X-M)
1.รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน(C) องค์ประกอบของGDP 1.รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน(C) เป็นรายการค่าใช้จ่ายที่ภาคครัวเรือนใช้ในการซื้อสินค้าและบริการ ขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศไทย แล้วนำสินค้า/บริการเหล่านี้ไปบริโภคหรือใช้ ได้แก่ 1. รายจ่ายที่ใช้ซื้อสินค้าคงทนถาวร เช่น รถยนต์ บ้าน 2. รายจ่ายที่ใช้ซื้อสินค้าไม่คงทนถาวร เช่นอาหารเสื้อผ้า ยา 3. รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการต่าง ๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล
2.รายจ่ายที่เพื่อการลงทุน (I) องค์ประกอบของGDP 2.รายจ่ายที่เพื่อการลงทุน (I) หมายถึง การใช้จ่ายของภาคธุรกิจ ในการจัดหาสินค้าประเภททุน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องจักร ก่อสร้างโรงงาน ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย การซื้อบ้าน การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ หรือรายจ่ายที่ภาคธุรกิจ จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศไทย แล้วนำสินค้า/บริการเหล่านี้ไปผลิตเป็นสินค้า/บริการอื่น
องค์ประกอบของGDP 3.รายจ่ายของภาครัฐ(G) หมายถึง รายจ่ายภาครัฐบาล(หมายถึงหน่วยงานของรัฐบาลทุกหน่วยงาน) จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศไทย แล้วนำสินค้า/บริการเหล่านี้ไปบริโภคหรือใช้ ได้แก่ 1. รายจ่ายสำหรับข้าราชการ เงินเดือน สวัสดิการ ค่าจ้าง 2. รายจ่ายเพื่อพัฒนาประเทศ เช่นสาธารณูปโภคพื้นฐาน 3. รายจ่ายในรูปของเงินโอน เช่นเงินช่วยเหลือต่าง ๆ
4.รายจ่ายจากการส่งออกสุทธิ (X-M) องค์ประกอบของGDP 4.รายจ่ายจากการส่งออกสุทธิ (X-M) คือรายจ่ายที่ภาคต่างประเทศ (หมายถึงภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาครัฐบาลของต่างประเทศ) ซื้อสินค้าส่งออก (Export หรือ X เป็นเงินไหลเข้าประเทศ) หักออกด้วยรายจ่ายที่ประเทศซื้อสินค้านำเข้า (Import หรือ M เป็นเงินไหลออกจากประเทศไทย) = Export-Import การส่งออกสุทธิ(X-M)บอกให้ทราบว่าภาคต่างประเทศได้ซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยปริมาณสุทธิเท่าไร
ความสำคัญของGDP การเพิ่มขึ้นของGDP แสดงว่าภายในอาณาเขตของประเทศมีการผลิตสินค้าและบริการมากขึ้น ทำให้เจ้าของปัจจัยการผลิตที่มีส่วนร่วมในการผลิตมีงานทำเพิ่มขึ้น ประชาชนมีรายได้มากขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว เมื่อประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถจับจ่ายเพื่อการศึกษา เพื่อสุขภาพได้มากขึ้น ประชาชนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบของ GDP=C+I+G+(X-M)
ความสำคัญของGDP 1. ถ้าGDPเพิ่มขึ้นโดยมีสาเหตุจาก การเพิ่มของรายจ่ายเพื่อการบริโภค(C) แสดงว่าระบบเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนด้วย การบริโภค ภาคการผลิต การจ้างงานจะขยาย ในอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าบริการ เพื่อการอุปโภคบริโภค
ความสำคัญของGDP 2. ถ้าGDPเพิ่มขึ้นโดยมีสาเหตุจาก การเพิ่มของรายจ่ายเพื่อการลงทุน(I) แสดงว่าระบบเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนด้วยการลงทุน ภาคการผลิต การจ้างงาน จะขยายในอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าทุน
ความสำคัญของGDP ถ้าGDPเพิ่มขึ้นโดยมีสาเหตุจาก การเพิ่มของรายจ่ายภาครัฐบาล(G) แสดงว่าระบบเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนด้วยรายจ่ายรัฐบาล ภาคการผลิต การจ้างงานจะขยายในอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าให้แก่รัฐบาล เช่นสินค้าสาธารณะต่าง ๆ
ความสำคัญของGDP 4. ถ้าGDPเพิ่มขึ้นโดยมีสาเหตุจาก การเพิ่มของการส่งออกสุทธิ(X-M) แสดงว่าระบบเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนด้วยการค้าระหว่างประเทศ ภาคการผลิต การจ้างงานจะขยายในอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าบริการสำหรับเพื่อการค้าระหว่างประเทศ
ข้อควรระวังเกี่ยวกับ GDP 1. GDP ไม่รวมผลผลิตที่ไม่ได้บันทึกตัวเลข เช่น ชาวบ้านในต่างจังหวัด จับปลากินเอง หรือเก็บผักจากสวนมากิน ไม่ถูกรวมใน GDP 2. GDP ที่เพิ่มสูงขึ้น แสดงถึงมูลค่าการผลิตที่เปลี่ยนไปเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงความกินดีอยู่ดีของประชาชน ไม่ได้แสดงถึงความสุขของคนในชาติ 3. GDP ไม่ได้แสดงถึงคุณภาพของสินค้าที่ผลิตได้จากประเทศนั้น เช่น จีนมี GDP ที่สูงมากและมีอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก แต่สินค้าหลายชนิดจากจีน ยังไม่ได้รับการยอมรับในระดับสากล *** ดังนั้นการพิจารณาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่ควรดูที่ตัวเลข อย่างเดียว ควรพิจารณาด้านอื่นๆ ประกอบด้วย
งานกลุ่ม จงนำเสนอข่าว สถานการณ์ในปัจจุบัน หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกับรายได้ประชาชาติของไทย พร้อมวิเคราะห์ ว่าประเด็นที่นำเสนอมานั้นมีสาเหตุการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของ GDP อย่างไร