ECN 202 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์ บทที่ 1.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 1 การรวมธุรกิจ.
Advertisements

การค้าระหว่างประเทศ.
สัมมนาทางการประกอบการธุรกิจ
บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
บทที่5 การควบคุมการผลิตและต้นทุนการผลิต
ข้อสรุปจากวีดีทัศน์ “ผีปู่แสะย่าแสะ” 1. การมีส่วนร่วมของชุมชน 2
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Chapter I พฤติกรรมผู้บริโภค.
LOGO การคำนวณต้นทุนผลผลิต ของปีงบประมาณ 2553 โดย นายธีรชาติ พันธุ์หอม หัวหน้าฝ่ายแผนงานและ งบประมาณด้านก่อสร้าง คณะทำงานต้นทุนผลผลิตสำนัก ชลประทานที่ 11.
บทที่2 การวางแผนการผลิตและกำลังการผลิต
องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา
GDP GNP PPP.
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
1.
ความเป็นมาของการศึกษาความเป็นไป ได้ของโครงการ ความหมายของการศึกษาความเป็นไป ได้ของโครงการ ขอบข่ายการศึกษาความเป็นไปได้ของ โครงการ การประเมินโครงการและการจัดลำดับ.
การคลังสุขภาพ การวัดประสิทธิภาพของสถานีอนามัย และเตรียมการถ่ายโอนสถานีอนามัย ให้ท้องถิ่น ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การประชุมสัมมนา.
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
สถาบันด้านปัจจัยการ ผลิตทางการเษตร ( ตลาดแรงงาน ) ศ.491 การวิเคราะห์การผลิต และนโยบายการผลิตสินค้าเกษตร รศ. ภราดร ปรีดาศักดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประเภทของ CRM. OPERATIONAL CRM เป็น CRM ที่ให้การสนับสนุนแก่กระบวนการธุรกิจ ที่เป็น “FRONT OFFICE” ต่างๆ อาทิ การขาย การตลาด และการ ให้บริการ SALES FORCE.
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
เงินเฟ้อ Inflation.
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
บทที่ 8 เงินเฟ้อ เงินฝืด และการว่างงาน
การกำหนดราคาและผลผลิต ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
การเงินธุรกิจ (Business Finance) รหัสวิชา FIN1104
บทที่ 1 หน่วยผลิตและทางเลือกภายใต้โครงสร้างตลาด
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
บทที่ 8 เงินเฟ้อ เงินฝืด และการว่างงาน
Factors Markets of Resource Markets ตลาดปัจจัยการผลิต
1. การสอบกลางภาค วันที่ 6 ตุลาคม เวลา น. เก็บ 40 % 2
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 5 การวางแผนทางการเงิน ผศ. อรทัย รัตนานนท์ รศ.อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ระบบเศรษฐกิจ.
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
การวิเคราะห์องค์กร รู้จักตนเอง
การขอโครงการวิจัย.
บทที่ 4 ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค (Theory of Consumer Behavior)
บทที่ 5 ทฤษฎีการผลิต การศึกษาด้านอุปทาน ทฤษฏีการผลิต (บทที่ 5)
Integrated Information Technology
SMS News Distribute Service
บทที่ 3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ต้นทุน-ปริมาณ-กำไร
Topic 11 เงินเฟ้อ เงินฝืด การว่างงาน
การปรับปรุงพื้นที่ทุรกันดาร 2559 นายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
การเงินทางธุรกิจ (Business Finance) รหัสวิชา FIN1103
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
บทที่ 6 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน
ข้อดี ข้อเสีย ของ ค่าเงินบาทแข็ง
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
การวางแผนกำลังการผลิต
Supply Chain Management
Business Finance FI 212 Lectured By ญาลดา พรประเสริฐ.
รายได้ประชาชาติ รายวิชา : week 04.
อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน)
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
อ. อรนพัฒน์ เหมือนเผ่าพงษ์ สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
ระบบการบริหารการเงินการคลังของรัฐ
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
บทที่ 2 ความสำคัญและการคำนวณรายได้ประชาชาติ.
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ECN 202 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์ บทที่ 1

หัวข้อ 1.1 นิยามเศรษฐศาสตร์ ปัจจัยการผลิต สินค้าและบริการ 1.2 ทางเลือก การขาดแคลน ต้นทุนค่าเสียโอกาส และ เส้นแนวทางในการผลิตที่เป็นไปได้ PPC 1.3 ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และระบบเศรษฐกิจ 1.4 Circular flow กระแสการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 1.5 เป้าหมายทางเศรษฐกิจ

1.1 นิยามเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการที่มนุษย์และสังคมจะโดยใช้เงินหรือไม่ก็ตาม เลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีจำกัดอันได้แก่ แรงงาน ที่ดิน ทุน และผู้ประกอบการ ซึ่งอาจนำทรัพยากรนี้ไปใช้อย่างอื่นได้หลายอย่างเพื่อการผลิตสินค้าและ/หรือบริการต่าง ๆ เป็นเวลาต่อเนื่องกัน และจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าและ/หรือบริการเหล่านั้นไปยังประชาชนทั่วไปและกลุ่มชนในสังคม เพื่อการบริโภคและเพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์หรือสนองความต้องการที่มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วนทั้งในปัจจุบันและอนาคต

โดยสรุป วิชาเศรษฐศาสตร์ คือวิชาที่ว่าด้วยทางเลือกในการใช้ปัจจัยการ ผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด นำมาผลิตเป็นสินค้าและบริการ เพื่อ ตอบสนองต่อความต้องการของผู้คนในสังคมที่มีอยู่อย่างไม่สิ้นสุด

คำถาม จากนิยามของคำว่า “เศรษฐศาสตร์” ข้างต้น สามารถจำแนกประเด็นสำคัญเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ได้อะไรบ้าง -ทางเลือก หรือการเลือก -ปัจจัยการผลิต หรือ ทรัพยากรการผลิต -สินค้าและบริการ -ความต้องการที่ไม่สิ้นสุดของผู้คนในสังคม

ทรัพยากรการผลิต Production resource 1.ที่ดิน 2.แรงงาน 3.ทุน 4.ความสามารถของผู้ประกอบการ

ทรัพยากรการผลิต Production resource 1.ที่ดิน (land) หมายถึง ทรัพยากรที่มีอยู่ในธรรมชาติ ที่สามารถนำมา ใช้เพื่อผลิตเป็นสินค้าและบริการ ประกอบด้วย ที่ดินตาม ความหมายเอง,แหล่งแร่ตามธรรมชาติ,แม่น้ำ ,ป่าไม้,พืชพรรณ ต่างๆ ฯลฯ รวมทั้งแรงงานสัตว์ ผลตอบแทนจากการนำปัจจัย ที่ดินมาใช้เรียกว่า ค่าเช่า (rent)

ทรัพยากรการผลิต Production resource 2.แรงงาน (labour) หมายถึง ทรัพยากรมนุษย์เพื่อที่จะ นำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าและบริการ แรงงานในที่นี้จะไม่รวม แรงงานสัตว์ (ซึ่งจะนับรวมอยู่ในหมวดที่ดิน) แบ่งเป็นสามประเภทใหญ่ๆ คือแรงงานมีฝีมือเช่น นักวิชาการ แพทย์ เป็นต้น แรงงานกึ่งมีฝีมือ เช่น ช่างไม้ ช่างเทคนิค พนักงานเสมียน เป็นต้น และแรงงานไร้ฝีมือ เช่น ยาม ภารโรง กรรมกรคนงาน เป็นต้น ผลตอบแทนจากการนำ แรงงานมาใช้ในกระบวนการผลิตเรียกว่า ค่าเช่า หรือเงินเดือน (wage and salary)

ทรัพยากรการผลิต Production resource 3.ทุน (capital) หมายถึง ทรัพยากรที่ถูกประกอบหรือส่วนเสริม ขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ในการผลิตสินค้าและบริการได้แก่ สินค้าประเภททุน (capital goods) เช่น โรงงานอุตสาหกรรม อุปกรณ์สำนักงาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และทุนที่เป็นตัวเงิน (money capital) ซึ่งนำไปซื้อเครื่องมือเครื่องจักร หรือวัตถุดิบเพื่อ ใช้ในการผลิต ผลตอบแทนจากการนำปัจจัยทุนมาใช้ในการผลิต เรียกว่า ดอกเบี้ย (interest) ความแตกต่างระหว่างทุน กับที่ดินอยู่ที่ ทิ่ดินคือทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เอง ในขณะที่ทุนสิ่งที่ถูกมนุษย์ สร้างขึ้น

ทรัพยากรการผลิต Production resource 4.ความสามารถของผู้ประกอบการ (entrepreneurial ability) หมายถึงทรัพยากรมนุษย์ ในลักษณะพิเศษ โดยจะเป็นผู้รวบ รวมนำเอาทรัพยากรการผลิตทั้งสามประเภทข้างต้นเพื่อแสดงให้เห็นถึง การนำทรัพยากรมาทำให้เกิดเป็นสินค้าและบริการ เช่น ชุดคอมพิวเตอร์ที่ ใช้อยู่ในปัจจุบันเราต้องใช้วัตถุดิบที่นำมาทำเป็นส่วนประกอบต่างๆ ที่ ประกอบกันขึ้นเป็น ฮาร์ดแวร์ และ ซอร์ฟแวร์ซึ่งจำเป็นต้องใช้คนงาน ช่าง เทคนิค เพื่อออกแบบและควบคุม ต้องการเครื่องไม้เครื่องมือในการประกอบ ขึ้นเป็นชุดคอมพิวเตอร์ ผู้ประกอบการจะเป็นกลุ่มบุคคลหรือบุคคลเข้ามา จัดการ บริหารและรับความเสี่ยงจากการนำสินค้าออกสู่ตลาด ผลตอบแทน อันเกิดจากความสามารถของผู้ประกอบการเรียกว่า กำไร (profit)

ปัจจัยการผลิต ผลตอบแทนที่ได้รับจากการใช้ปัจจัย ที่ดิน ค่าเช่า แรงงาน ค่าจ้าง หรือ เงินเดือน ทุน ดอกเบี้ย ความสามารถผู้ กำไร ประกอบการ

สินค้าและบริการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เศรษฐทรัพย์ (economic goods) และ สินค้าไร้ราคา (free goods) เศรษฐทรัพย์ หมายถึงสินค้าใดๆ ก็ตามที่มีความต้องการ สามารถตีค่าออกมาเป็นตัวเงินได้ อาจกล่าวได้ว่า เศรษฐทรัพย์คือสินค้าและบริการที่มีอรรถประโยชน์ (utility) มากกว่าศูนย์ ส่วนสินค้าไร้ราคา คือ สินค้าและบริการที่มีคุณสมบัติเสาะหาได้ง่ายกว่าความ ต้องการของมนุษย์ในสินค้าและบริการนั้นๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเป็น สินค้าและบริการที่มีอรรถประโยชน์ เป็นศูนย์ โดยส่วนใหญ่จะหมายถึงสิ่ง ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติและเราไม่มีความต้องการนำมาครอบครองเป็นเจ้าของ ตราบเท่าที่ความต้องการในสินค้าและบริการยังมีค่าน้อยกว่าการมีอยู่ของตัว สินค้าและบริการเอง เช่น แสงแดด อากาศ เป็นต้น

เส้นแนวทางในการผลิตที่เป็นไปได้ แนวทางที่ง่ายที่สุดในการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับทางเลือก (choice) โดยการพิจารณาแนวคิดและกราฟที่เรียกว่า เส้นแนวทางในการผลิตที่ เป็นไปได้ (production possibilities curve) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า เส้น PPC

เส้น PPC จะแสดงถึง สัดส่วนของปริมาณของสินค้าและบริการ 2 ชนิด ที่ถูกสร้าง ขึ้นโดยใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ทั้งหมด ร่วมกับเทคโนโลยีที่มีอยู่ในขณะ นั้น ดังนั้น สินค้าและบริการ จึงถูกสร้างขึ้นมาจากปัจจัยการผลิตที่มี อยู่ในระบบเศรษฐกิจ ณ เวลานั้น จัดสรร ปันส่วนกันเพื่อให้ได้สินค้า และบริการทั้ง 2 ชนิด

สมมติฐาน 1. ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่ทั้งหมดจะถูกนำมาใช้จนหมดสิ้น 2. ทรัพยากรการผลิตทั้งหมดจะถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เทคโนโลยีการผลิตไม่มีการเปลี่ยนแปลง (คงที่) ตลอดระยะเวลา การวิเคราะห์ 4. ระบบเศรษฐกิจต้องนำทรัพยากรการผลิตทั้งหมดมาผลิตสินค้าและ บริการได้เพียง 2 ชนิด 5. ทรัพยากรการผลิตจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาในการ วิเคราะห์

ตารางแสดงแนวทางในการผลิตที่เป็นไปได้ ทางเลือกที่ ผลิตโรงงานอุตสาหกรรม (โรง) ผลิตสินค้าเกษตร (ล้านตัน) A 650 0 B 640 1.0 C 510 3.6 D 410 4.6 E 100 5.2 F 0 5.3

สินค้าเกษตร (ล้านตัน) 700 600 500 400 300 200 100 X A B ความขาดแคลน ในปัจจัยการผลิต C D จำนวนโรงงาน (โรง) Y การใช้ปัจจัยการผลิตอย่างไม่มีประสิทธิภาพ (การว่างงาน) E F 1 2 3 4 5 สินค้าเกษตร (ล้านตัน)

ต้นทุนค่าเสียโอกาส คือ ต้นทุนที่เกิดจากทางเลือกในการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่มากมาก หลายทางเลือก แต่เรามิได้เลือกทางเลือกเหล่านั้น

สมมติ นาย ก. มีรถตู้ 1 คัน นาย ก. นำรถมาใช้หาประโยชน์ได้ใน 3 ทางเลือกต่อไปนี้ ทางเลือก 1 2 3 วิ่งวิน กท. - ชลบุรี 5,000 บาท ให้เช่า 4,500 บาท วิ่งเป็นรถบริษัท 4,000 บาท ต้นทุนค่าเสียโอกาสคือ ทางเลือก 2,3 ถ้าเลือก 1 ต้นทุนค่าเสียโอกาสคือ ทางเลือก 1,3 ถ้าเลือก 2 ต้นทุนค่าเสียโอกาสคือ ทางเลือก 1,2 ถ้าเลือก 3

ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ ทางเลือกที่เมื่อเราเลือกแล้ว ทำให้เสียต้นทุนค่าเสียโอกาสต่ำที่สุด

4,500 ถ้าเลือก 1 ต้นทุนค่าเสียโอกาสเท่ากับ ถ้าเลือก 2 ต้นทุนค่าเสียโอกาสเท่ากับ ถ้าเลือก 3 ต้นทุนค่าเสียโอกาสเท่ากับ 5,000 5,000

X สินค้า ก สินค้า ข

การเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ จะเกิดจากปัจจัยตัวใดตัวหนึ่ง หรือทั้งสองตัว ต่อไปนี้ 1. การเพิ่มขึ้นของปัจจัยการผลิต 2. เทคโนโลยีทางการผลิต ดีขึ้นกว่าเดิม

ลักษณะของการเจริญเติบโตนี้ หมายความว่า อย่างไร สินค้า ก สินค้า ข

คำถามที่ 2 การที่เส้น PPC โดยปกติจะมีลักษณะเป็นเส้นโค้งออกจากจุดกำเนิด นี้ ทำไมถึงมีลักษณะเช่นนั้น

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 1. ผลิตอะไร = เราจะเลือกปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นมา เลือกผลิตสินค้าและบริการอะไร เพราะเราไม่สามารถ ผลิตทุกสิ่งทุกอย่างได้

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 2. ผลิตอย่างไร = เราจะเลือกปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นมา เลือกผลิตสินค้าและบริการอย่างไร ให้ได้สินค้าและ บริการที่เราต้องการ

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 3. ผลิตเพื่อใคร = หลังจากที่เราผลิตสินค้าและบริการออกมาสู่ ระบบแล้ว ใครควรจะได้เป็นเจ้าของสินค้าและ บริการนั้น

ระบบเศรษฐกิจ

การจำแนกระบบเศรษฐกิจ พิจารณาว่าระบบเศรษฐกิจเป็นแบบใด 1.) สิทธิ์การเป็นเจ้าของในทรัพย์สิน(เป็นของเอกชนหรือเป็นของรัฐบาล) 2.) ผู้ดำเนินการผลิต (เอกชนหรือรัฐบาล) 3.) สิ่งที่ตัดสินการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ(กลไกราคาหรือรัฐบาล) 4.) การแข่งขัน(มีการแข่งขันหรือไม่มีการแข่งขัน)

ระบบสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจ ระบบทุนนิยม ระบบผสม

Circular flow ในระบบเศรษฐกิจ มีกระแสการหมุนเวียนอะไร หมุนเวียนเปลี่ยนมือ อยู่บ้าง และ ลักษณะของการหมุนเวียนเป็นอย่างไร

พิจารณาในระบบเศรษฐกิจอย่างง่าย มีหน่วยทางเศรษฐกิจ (sector) อยู่ 2 หน่วย คือ 1. หน่วยธุรกิจ Firm ทำหน้าที่ผลิตและสร้างสินค้าและบริการ ให้กับระบบ 2. หน่วยครัวเรือน household ทำหน้าที่ป้อนปัจจัยการผลิต และบริโภคสินค้าและบริการในระบบ

กระแสการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1. real flow คือกระแสการหมุนเวียนที่แท้จริง 2. money flow คือ กระแสการหมุนเวียนของเงิน

การหมุนเวียนจะเกิดขึ้น ใน 2 ตลาดหลัก 1. ตลาดผลผลิต หรือตลาดสินค้าและบริการ เป็นตลาดที่ทำหน้าที่ซื้อ และขายสินค้าและบริการ 2. ตลาดปัจจัยการผลิต เป็นตลาดที่ทำหน้าที่ซื้อ และขายปัจจัยการผลิต

1.สินค้าและบริการ 3. ปัจจัยการผลิต หน่วยธุรกิจ หน่วยครัวเรือน 4. ผลตอบแทนจากการใช้ปัจจัยการผลิต 2.ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ

นิยามเศรษฐศาสตร์มหภาค(Macroeconomics) เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม (economic aggregate) เช่น การศึกษาถึงผลิตผลรวมของประเทศ อัตราการจ้างงานรวมของประเทศ การเงินและการธนาคาร การพัฒนาประเทศ ตลอดจนการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น เป็นสาขาเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลมากที่สุด

1.2 วัตถุประสงค์ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ 1.) เพื่อเข้าใจการทำงานของระบบเศรษฐกิจ 2.) เพื่ออธิบายปรากฏการณ์หรือปัญหาของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น 3.) เพื่อนำเสนอนโยบายในการแก้ปัญหา 4.) เพื่อนำเสนอนโยบายในการพัฒนาประเทศ

1.3 เป้าหมายทางเศรษฐกิจ (Economic goal) 1.) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (economic growth) 2.) ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (economic stability) 2.1) ความมีเสถียรภาพภายในราคาสินค้า 2.2) ความมีเสถียรภาพระหว่างประเทศ (ดุลการชำระเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน) 3.) ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ (economic equality) 4.) การจ้างงานเต็มที่ (full employment) 5.) ประสิทธิภาพในการดำเนินการและการจัดสรร

1.4 การเรียนรู้การทำงานของระบบเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตร์มหภาค - ทฤษฎีผู้บริโภค - ทฤษฎีหน่วยธุรกิจ - ทฤษฎีตลาด ฯลฯ - ทฤษฎีผลผลิต - ทฤษฎีการจ้างงาน - ทฤษฎีอัตราดอกเบี้ย ฯลฯ

1.6 นิยามศัพท์ที่น่าสนใจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product :GDP) หมายถึง การวัดผลผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตภายในประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่ง โดยไม่มีการคำนึงถึงว่าใช้ทรัพยากรในการผลิตสินค้าและบริการภายในประเทศหรือเป็นของชาวประเทศ รายได้ประชาชาติ (National Income: NI) รายได้ต่อหัว (per-capita GNP)

อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate : e , ) เป็นอัตราที่เทียบระหว่างค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เช่น สกุลบาท) กับหนึ่งหน่วยของเงินสกุลหนึ่ง (หรืออีกสกุลหนึ่ง เช่น สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ) เช่น ค่าของเงินบาทเทียบกับ 1 หน่วยดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 40 บาท เป็นต้น (อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯเท่ากับ 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์) ดุลงบประมาณ (Budget balance) หมายถึง ส่วนต่างระหว่างประมาณการรายได้ และ ประมาณการรายจ่าย เงินเฟ้อ (Inflation) เงินฝืด (Deflation)

ดุลการชำระเงิน (Balance of Payment) หมายถึง ผลสรุปของการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจ (economic transaction) ระหว่างผู้ที่มีถิ่นฐานในประเทศ (resident) กับ ผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ (non-resident) ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง บัญชีดุลการชำระเงินประกอบด้วย(ตามการจัดทำดุลการชำระเงินของประเทศไทย) - ดุลบัญชีเดินสะพัด ประกอบด้วย ดุลการค้า และ ดุลบริการ รายได้และเงินโอน - ดุลบัญชีทุนและการเงิน ประกอบด้วย บัญชีทุน บัญชีการเงิน และเงินลงทุน

สัญลักษณ์ที่สำคัญในเศรษฐศาสตร์มหภาค C = Consumption การบริโภค I = Investment การลงทุน G = Government Expenditure การใช้จ่ายของภาครัฐบาล X = Export การส่งออก M = Import การนำเข้า X-M = NX = Net Export การส่งออกสุทธิ AD = Aggregate Demand อุปสงค์มวลรวม AS = Aggregate Supply อุปทานมวลรวม Y = Income รายได้ โดยในระดับประเทศใช้แทนรายได้ประชาชาติ (NI) และในบางครั้งนักเศรษฐศาสตร์ก็ใช้แทน GDP และ GNP

S = Saving การออม T = Tax ภาษี P = Price Level ระดับราคา W = Wage Rate อัตราค่าจ้าง w = Real Wage Rate อัตราค่าจ้างแท้จริง(เท่ากับอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน หารด้วย ระดับราคา) N = Employment การจ้างงาน Nd = Demand for Labor อุปสงค์ต่อแรงงาน Ns = Supply of Labor อุปทานของแรงงาน

-MS = M = Supply of Money อุปทานของเงิน -MD = Md = Demand for Money อุปสงค์ต่อเงิน -Mt = Transaction Demand for Money อุปสงค์ของการถือเงินเพื่อการจับจ่ายใช้สอยและเหตุฉุกเฉิน -Ms = Speculative Demand for Money อุปสงค์ของการถือเงินเพื่อการเก็งกำไร -r = i = Interest Rate อัตราดอกเบี้ย -อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ = -อัตราเงินเฟ้อ = เมื่อ CPI คือ ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index)