ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง
หนังสือเดินทางแบบดั่งเดิม มีลักษณะเป็นเอกสารบอกลักษณะของบุคคลทั่วไป โดยนำรูปมาติด หนังสือ เดินทางไม่สามารถอ่านข้อมูล โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งการลงรายละเอียดของหนังสือเดินทางแจ้งต่อ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ และเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล จากหน่วยง่านต่างๆเพื่อเสนออนุญาต ต่อไป หนังสือเดินทางแบบระบบดิจิตอล มีการถ่ายรูปภาพผู้ถือบัตรด้วยระบบดิจิตอล ไม่ต้องเบาะรูปในหนังสือ เดินทางเหมือนหนังสือเดินทางแบบดั่งเดิมและสามารถอ่านข้อมูลรายละเอียดจากเครื่องมือคอมพิวเตอร์ หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์หรือที่เรียกว่า “อี-พาสปอร์ต” (Electronic-Passport หรือ หนังสือ เดินทาง อัจฉริยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หนังสือเดินทางแบบชีวภาพ มีชื่อเป็นทางการว่า “ไป โอพาส” (หนังสือเดินทางชีวภาพ) เนื่องจากภายในหนังสือเดินทางมีชิพคอมพิวเตอร์”
ประเภทหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางทูต เป็นหนังสือเดินทางสำหรับนักการทูต และข้าราชการการเมือง เพื่อใช้เดินทางไปราชการ ต่างประเทศเท่านั้น หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับข้าราชการสำหรับเดินทางไป ราชการนั้นๆ หนังสือเดินทางยกเว้นค่าธรรมเนียม(Gratis) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับข้าราชการเกษียณอายุ, พนักงานของรัฐ และข้าราชการที่จะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยทุนส่วนตัว หรือไปฝึกอบรมใน หลักสูตรต่างๆ หนังสือเดินทาง(Passport) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับประชาชนทั่วไป หรือข้าราชการ และพนักงาน ของรัฐ ก็สามารถใช้ในกรณีที่เดินทางไปต่างประเทศด้วนกิจธุระส่วนตัว
ความผิดฐานปลอมหนังสือเดินทาง ความผิดที่ 1 ความผิดที่ 2 ความผิดที่ 3 1.ทำหนังสือเดินทางปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด 2.โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน 3. เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นหนังสือเดินทางที่แท้จริง 4. โดยเจตนา 1. เติม ตัดทอนข้อความ หรือ แก้ไขด้วยประการใดๆในหนังสือเดินทางที่แท้จริง 2. โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน 3.เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นหนังสือเดินทางที่แท้จริง 1. ประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในหนังสือเดินทางที่แท้จริง เจตนา 4. โดยเจตนา
นำเข้า/ส่งออก เพื่อจำหน่าย นำเข้า /ส่งออก จำหน่าย ใช้ ปลอมหนังสือเดินทาง มีไว้เพื่อ จำหน่าย มีไว้เพื่อใช้ นำเข้า/ส่งออก เพื่อจำหน่าย
1. การทำปลอม หมายถึง การทำโดยไม่มีอำนาจ ถ้ามีอำนาจทำแต่ข้อมูลเป็นเท็จไม่เป็นเอกสารปลอม แต่เป็นเอกสารเท็จ 2. การปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือส่วนหนึ่งส่วนใด -ไม่จำเป็นต้องมีหนังสือเดินทางแท้จริง -การปลอมหนังสือเดินทางอาจทำแต่เพียงส่วนหนึ่งส่วนใด ไม่จำต้องปลอมทั้งฉบับ -หนังสือเดินทางอาจทำไว้โดยแท้จริงแต่ยังไม่สำเร็จครบถ้วน ถ้าผู้ใดปลอมข้อความต่อไปจนครบถ้วน ก็เป็นการปลอมแต่บางส่วน หรือ -อาจทำหนังสือเดินทางขึ้นยังไม่สำเร็จครบถ้วนหรือไม่ครบถ้วน ก็เป็นการปลอมแต่บางส่วน หรืออาจทำหนังสือเดินทางขึ้นไม่สำเร็จครบถ้วน ทำไปได้แต่เพียงบางส่วน ก็เป็นการปลอมหนังสือเดินทางสำเร็จ 3. การเติม ตัดทอน หรือแก้ไข จะต้องกระทำลงในเอกสารที่แท้จริง 4. ประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในหนังสือเดินทางที่แท้จริง ปลอมวิธีหนึ่งวิธีใดดังต่อไปนี้ 1.ทำหนังสือเดินทางปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด 2. เติม ตัดทอนข้อความ หรือ แก้ไขด้วยประการใดๆในหนังสือเดินทางที่แท้จริง 3.ประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในหนังสือเดินทางที่แท้จริง
ความผิดฐานใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ จำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งหนังสือเดินทางปลอม ม.269/9 ความผิดที่ 1 ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอม ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอมตามมาตรา 269/8 โดยเจตนา ใช้ คือ นำออกใช้ในลักษณะที่เป็นหนังสือเดินทาง เช่น การใช้เพื่อแสดงหลักฐานการเดินทางไปยังประเทศต่างๆ และ การใช้อย่างหนังสือเดินทาง เพียงแต่แสดงข้อความในหนังสือเดินทางให้ปรากฏต่อผู้อื่นไม่ถึงกับยื่นหนังสือเดินทางส่งให้ ผู้อื่นรับก็เป็นการใช้หนังสือเดินทางแล้ว มีไว้เพื่อใช้ คำว่า “มีไว้” เป็นองค์ประกอบส่วนการกระทำ ส่วน “เพื่อใช้” เป็นเจตนาพิเศษ ดังนั้น ถ้าผู้กระทำมีไว้ โดยมี เจตนาพิเศษเพื่อใช้ ก็เป็นความผิดสำเร็จ แม้ว่าจะยังไม่ทันได้ใช้ ผู้ใช้ หรือมีไว้ ต้องกระทำโดยเจตนา และต้องรู้ว่าเป็นหนังสือเดินทางปลอม
ความผิดฐานใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ จำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งหนังสือเดินทางปลอม ความผิดที่ 2 จำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งหนังสือเดินทางปลอม จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งหนังสือเดินทางปลอม เจตนาธรรมดา จำหน่าย หมายถึง การส่งต่อให้ผู้อื่นไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ มีไว้เพื่อจำหน่าย นั้น ข้อสันนิษฐานของกฎหมาย การมีหนังสือเดินทางปลอมตั้งแต่สองฉบับขึ้นไป ให้ สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย
ความผิดฐาน นำเข้าใน หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งหนังสือเดินทางปลอม ม ความผิดฐาน นำเข้าใน หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งหนังสือเดินทางปลอม ม.269/10 นำเข้าใน หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งหนังสือเดินทางปลอม ตามมาตรา 269/8 เจตนา ถ้าการนำเข้าหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีเจตนาพิเศษ เพื่อจำหน่าย ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น แม้ยังไม่มีการจำหน่ายใดๆเลยก็ตาม หมายความว่า ราชอาณาจักรที่แท้จริง ตาม ม. 4 เท่านั้น ไม่รวมถึง เรือไทย หรืออากาศยานไทย ซึ่งอยู่ นอกราชอาณาจักร และไม่รวมสถานทูตไทยในต่างประเทศด้วย
ความผิดฐานใช้หนังสือเดินทางผู้อื่นโดยมิชอบ และจัดหาหนังสือเดินทาง ม ความผิดฐานใช้หนังสือเดินทางผู้อื่นโดยมิชอบ และจัดหาหนังสือเดินทาง ม.269/11 องค์ประกอบ ใช้หนังสือเดินทางของผู้อื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน โดยเจตนา หมายความว่า หนังสือเดินทางที่แท้จริงเป็นหนังสือเดินทางของผู้อื่น โดยหนังสือเดินทางนั้นไม่มีการ ปลอมแต่อย่างใด หากยังไม่มีการใช้ก็เป็นความผิด เนื่องจากหากผู้กระทำความผิดยังไม่ทันใช้ก็ยังไม่ถือว่าเป็นผู้กระทำ ความผิดตามมาตรา 269/11 ได้
ความผิดฐานจัดหาหนังสือเดินทางโดยมิชอบ 269/11 ว.2 องค์ประกอบ จัดหาหนังสือเดินทางผู้กระทำความผิด ตามวรรค 1 เจตนาธรรมมา ตาม ป.อ. 59 ผู้จัดหาหนังสือเดินทางให้ผู้ใช้หนังสือเดินทางของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษเท่ากับผู้ใช้หนังสือ เดินทางของผู้อื่นโดยมิชอบ
ความผิดเกี่ยวกับการปลอมดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะ ในการตรวจลงตราสำหรับการเดินทาง มาตรา ๒๖๙/๑๒ ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราอันใช้ในการตรวจลงตรา สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาท ถึงสองแสนบาท มาตรา ๒๖๙/๑๓ ผู้ใดใช้ดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราที่ทำปลอมขึ้นตามมาตรา ๒๖๙/๑๒ ต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ปลอมซึ่งดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราตามมาตรา ๒๖๙/๑๒ ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว มาตรา ๒๖๙/๑๔ ผู้ใดนำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลง ตราซึ่งระบุไว้ในมาตรา ๒๖๙/๑๒ อันเป็นของปลอม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้ง แต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ความผิดฐานใช้ดวงตรา รอยตรา แผ่นปะ อันแท้จริง โดยมิชอบ มาตรา ๒๖๙/๑๕ ผู้ใดใช้ดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราอันแท้จริงที่ใช้ในการตรวจลงตราสำหรับ การเดินทางระหว่างประเทศโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖๙/๑๓ องค์ประกอบ ใช้ดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศอันแท้จริง โดยมิชอบ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน โดยเจตนา