งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดซื้อจัดจ้าง พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดซื้อจัดจ้าง พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดซื้อจัดจ้าง พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กลุ่มบริหารพัสดุและจัดซื้อจัดจ้าง กองบริหารการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 23 พฤศจิกายน 2561

2 กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
เมื่อหน่วยงานได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการ จัดซื้อจัดจ้าง ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติงานนั้น หากตรวจสอบแล้ววงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งเกิน 500,000 บาท จะต้องดำเนินการจัดทำแผนจัดซื้อจัดจ้างประจำปีในระบบเครือข่ายสารสนเทศ ของกรมบัญชีกลาง (e-GP) โดยจัดพิมพ์เอกสาร (จากในระบบฯ) การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ (มาตรา 11) และตามระเบียบการทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ (ข้อ 11) เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อขอความเห็นชอบ

3 พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 11 ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี และประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐ แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีให้ประกอบด้วยรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ 1. ชื่อโครงการที่จะจัดซื้อจัดจ้าง 2. วงเงินที่จะจัดซื้อจัดจ้างโดยประมาณ 3. ระยะเวลาที่คาดว่าจะจัดซื้อจัดจ้าง 4. รายการอื่นตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด

4 หน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบแผนการจัดซื้อ จัดจ้างประจำปีโดยให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่
ประกาศเผยแพร่แผนใน 1. ระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง 2. เผยแพร่ในเว็บไซต์ของหน่วยงาน 3. ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงาน หากหน่วยงานไม่ได้ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างโครงการใด ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง จะไม่สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการนั้นได้

5 เปลี่ยนแปลงแผน (ระเบียบฯ ข้อ 13)
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติงานนั้น จัดทำรายงานพร้อมระบุเหตุผลที่ขอเปลี่ยนแปลง เสนอหัวหน้าหน่วยงานเพื่อขอความเห็นชอบ และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ดำเนินการตาม ข้อ 11 วรรคสาม ต่อไป

6 วิธีการซื้อหรือจ้าง (มาตรา 55)
มี 3 วิธี 3. วิธีเฉพาะเจาะจง 2. วิธีคัดเลือก 1. วิธีประกาศ เชิญชวนทั่วไป 1.1 วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ e - market 1.3 วิธีสอบราคา 1.2 วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ e - bidding

7 พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้าง 15 หมวด 132 มาตรา
คำนิยาม 1. บททั่วไป 2. การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต 3. คณะกรรมการ 4. องค์กรสนับสนุนดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ 5. การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ

8 พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้าง 15 หมวด 132 มาตรา (ต่อ)
6. การจัดซื้อจัดจ้าง 7. งานจ้างที่ปรึกษา 8. งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง 9. การทำสัญญา 10. การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ 11. การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ

9 พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้าง 15 หมวด 132 มาตรา (ต่อ)
12. การทิ้งงาน 13. การบริหารพัสดุ 14. การอุทธรณ์ 15. บทกำหนดโทษ บทเฉพาะกาล

10 การขยายเวลาเบิกจ่าย กรณีมีหนี้ผูกพัน
04/09/62 การขยายเวลาเบิกจ่าย กรณีมีหนี้ผูกพัน

11 กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
พรบ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561 มาตรา 43,44 มาตรา 43 การขอเบิกจ่ายเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณใด ให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในปีงบประมาณนั้น

12 ในกรณีที่ไม่สามารถเบิกเงินจากคลังได้ภายในปีงบประมาณ ให้ขยายเวลาขอเบิกเงินจากคลังได้เฉพาะ ในกรณีที่หน่วยรับงบประมาณได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ และได้มีการกันเงินไว้ตามระเบียบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลังแล้ว การขยายเวลาขอเบิกเงินจากคลังตามวรรคสอง ให้ขยายออกไปได้อีกไม่เกินหกเดือนของปีงบประมาณถัดไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องขอเบิกเงินจากคลังภายหลังเวลาดังกล่าว ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเพื่อขอขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินหกเดือน

13 มาตรา 44 ในกรณีที่เป็นงบประมาณรายจ่ายข้ามปี การขอเบิกเงินจากคลังให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย เว้นแต่เป็นงบประมาณรายจ่ายข้ามปีที่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นกำหนดเวลา และได้มีการกันเงินไว้ตามระเบียบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลัง ก็ให้ขยายเวลาขอเบิกเงินจากคลังต่อไปได้อีกไม่เกินหกเดือน แต่หากมีความจำเป็นต้องขอเบิกเงินจากคลังภายหลังเวลาดังกล่าว ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเพื่อขอขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินหกเดือน

14 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีสำหรับใบสั่งซื้อสั่งจ้าง รอบ 31 มีนาคม ผ่าน GFMIS Web Online ด้วยกรมบัญชีกลางได้พัฒนาระบบ GFMIS ให้รองรับกระบวนการขยายระยะเวลาเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีสำหรับใบสั่งซื้อสั่งจ้างรอบ 31 มีนาคม ผ่าน GFMIS Web Online เพื่อให้ส่วนราชการระดับหน่วยเบิกจ่ายมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน หน่วยงานสามารถดำเนินการคัดเลือก (List) ใบสั่งซื้อสั่งจ้างที่ต้องการขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินสำหรับงวด 31 มีนาคม ต่อไปอีก 6 เดือน อย่างไรก็ตามในส่วนของการยืนยันยังคงต้องแจ้งส่วนราชการต้นสังกัดในส่วนกลางดำเนินการ (Confirm) รายการดังกล่าวผ่านเครื่อง GFMIS Terminal ในฐานะส่วนราชการเจ้าของงบประมาณตามปกติ

15 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีสำหรับใบสั่งซื้อสั่งจ้าง รอบ 31 มีนาคม ผ่าน GFMIS Web Online ในระหว่างที่ส่วนราชการต้นสังกัดยังไม่ยืนยัน (Confirm) รายการดังกล่าว ส่วนราชการในระดับหน่วยเบิกจ่ายสามารถยกเลิกการขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีสำหรับใบสั่งซื้อสั่งจ้างบางรายการได้ ผ่าน GFMIS Web Online หากส่วนราชการต้นสังกัดในส่วนกลางดำเนินการยืนยัน (Confirm) รายการดังกล่าวแล้ว และยังคงมีความประสงค์จะยกเลิกรายการดังกล่าวให้แจ้งกรมบัญชีกลางยกเลิกรายการก่อนที่จะขยายระยะเวลาเบิกจ่ายเงินต่อไป

16 ข้อมูลเพิ่มเติม แนวทางการขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน กลุ่มบริหารงบประมาณ กองบริหารการคลัง จะแจ้งเวียนให้ทราบเมื่อใกล้ครบกำหนดขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน การอนุมัติให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงินขึ้นอยู่กับนโยบายของกระทรวงการคลัง

17 ปัญหาอุปสรรคในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
1. ไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ด้านกฎหมาย ปฏิบัติงานด้านพัสดุ ซึ่งจำเป็นต่อการปฏิบัติงานภายใต้ พ.ร.บ. กฎ ระเบียบฯ ต่าง ๆ ในการจัดซื้อจัดจ้าง 2. มีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียวหรือมีผู้เสนอราคาแต่ผ่านการคัดเลือกเพียงรายเดียว และหรือไม่มีผู้เสนอราคา หรือมีแต่ไม่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด เป็นเหตุให้ยกเลิกการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ไม่สามารถ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้ทันตามกำหนดเวลา หรือทำให้ต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างหลายครั้ง 3. กฎกระทรวง ระเบียบ วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง แนวทางปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างที่เปลี่ยนไปภายใต้ พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ซึ่งต้องยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติหลายฉบับ เช่น ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560, กฎกระทรวง ฯลฯ 4. การจัดซื้อจัดจ้างตาม พ.ร.บ. กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง กรมบัญชีกลางไม่กำหนดแนวทางปฏิบัติที่มีความชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้าง 5. การเชื่อมต่อกับระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement : e-GP) ไม่มีความเสถียร ทำให้ไม่สามารถบันทึกข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างลงในระบบได้ เนื่องจากระบบ อยู่ระหว่างการปรับปรุงให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. และ ระเบียบฯ ใหม่

18 * ข้อควรระวัง * ตามมาตรา 66 วรรค 2 และมาตรา 117 เว้นระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนทำสัญญาภายใน 7 วันนับแต่ วันประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงาน ห้ามดำเนินการทำสัญญาในระยะเวลาที่อุทธรณ์ การรายงานแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง - ครุภัณฑ์ ที่มีราคาเกิน 100,000 บาท - ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ที่มีราคาเกิน 1,000,000 บาท จะต้องจัดทำและรายงานแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างตามแผน และจัดทำให้แล้วเสร็จภายใน 15 ตุลาคม ของทุกปี และส่งสำเนาให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินส่วนภูมิภาค แล้วแต่กรณี จำนวน 1 ชุด ตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติการ จัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ ลงวันที่ 29 มกราคม 2546

19 * ข้อควรระวัง (ต่อ) * 3. เอกสารที่หน่วยงานในส่วนภูมิภาคแจ้ง ขอขยาย/กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ส่งมาไม่ครบถ้วน ทำให้การดำเนินการต้องล่าช้า ซึ่งเอกสารที่ส่งมาต้องประกอบด้วย - ใบ List รายการในระบบ GFMIS - ใบแจ้งรายละเอียดการขอขยาย/กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี - สัญญา - ใบ PO 4. ในการส่งเอกสารมาให้กองบริหารการคลังดำเนินการ ขอขยาย/กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี มาถึงล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ในหนังสือที่แจ้งไป 5. หน่วยงานควรตรวจสอบจำนวนเงินใน PO ที่แจ้งมาขอขยาย/กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ว่าได้เบิกจ่ายไปบ้างแล้วหรือยัง และตรงกับจำนวนเงินที่แจ้งขอขอขยาย/กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ของ PO ดังกล่าว หรือไม่

20 กลุ่มบริหารพัสดุและจัดซื้อจัดจ้าง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กองบริหารการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt การจัดซื้อจัดจ้าง พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google