คดีฟ้องให้ประกาศใช้ผังเมืองรวม จังหวัดสระบุรี นายสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม 5 มกราคม 2555 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ (วิทยาเขตพัทลุง)
ข้อเท็จจริง กรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับจังหวัดสระบุรีเริ่มจัดทำร่างผังเมือง รวมจังหวัดสระบุรีในปี 2546 การจัดทำร่างผังเมืองฯ ได้ผ่านขั้นตอนที่สำคัญต่าง ๆ เช่น การสำรวจ สภาพพื้นที่ การรับฟังความคิดเห็นประชาชน ผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการผังเมือง และท้ายที่สุดผ่านความเห็นชอบในหลักการ จากคณะรัฐมนตรีในปี 2550 ตามร่างผังเมืองที่จัดทำขึ้นพื้นที่อำเภอหนองแซงถูกกำหนดให้เป็นเขต อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมที่สงวนไว้เพื่อการเกษตรและที่อยู่อาศัย มีข้อกำหนดห้ามสร้างโรงงานทุกจำพวกเว้นแต่โรงงานขนาดเล็ก
ข้อเท็จจริง (ต่อ) ประชาชนในพื้นที่ในนามเครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมเห็นว่าร่างผังเมือง ที่จัดทำขึ้นสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และวิถีชีวิตของชุมชน และเห็นว่าหากมีการ ประกาศใช้ผังเมืองจะทำให้ไม่มีโรงงานขนาดใหญ่ในพื้นที่ของตน แต่ระหว่างที่ร่างผังเมืองยังไม่ประกาศใช้ก็มีการอนุญาตให้มีการสร้างโรงงาน ขนาดใหญ่ในพื้นที่เรื่อยมา และกำลังมีการขออนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงาน ความร้อนขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศในพื้นที่ดังกล่าว VS
ข้อเท็จจริง (ต่อ) ในปี 2551-2552 เครือข่ายอนุรักษ์ฯ จึงได้ทำ หนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ประกาศใช้ผัง เมืองรวมจังหวัดสระบุรี และในระหว่างที่ยังไม่ ประกาศใช้ขอให้ห้ามมิให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ จะขัดต่อร่างผังเมือง เช่น ห้ามสร้างโรงในพื้นที่ เพื่อให้พื้นที่นี้ยังคงสภาพเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ต่อไป แต่หน่วยงานของรัฐก็ไม่ดำเนินการใด ๆ
ประเด็นข้อกฎหมาย พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ 2518 มาตรา 26 “ การใช้บังคับผังเมืองให้กระทำโดยกฎกระทรวง กฎกระทรวงตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการตามมาตรา 17 และให้ใช้บังคับได้ไม่เกิน ห้าปี...” มาตรา 27 “ในเขตที่ได้มีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมแล้ว ห้ามบุคคลใดใช้ ประโยชน์ที่ดินผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในผังเมืองรวมหรือปฏิบัติการใด ๆ ซึ่งขัด กับข้อกำหนดผังเมืองรวมนั้น” มาตรา 15 “ในระหว่างกำหนดเวลาที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะทำการ สำรวจใช้บังคับให้พนักงานการผังมีอำนาจดังต่อไปนี้ (3) กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ในการวาง และจัดทำผังเมืองรวม หรือผังเมืองเฉพาะ ทั้งนี้เมื่อได้รับความเห็นขอบจาก คณะกรรมการผังเมืองแล้ว”
ประเด็นข้อกฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 66 “ บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอัน ดีของท้องถิ่นและของชาติและมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทาง ชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน”
ข้อกฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 67 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 67 “สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และ ในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่าง ปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิ ภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม” ปฏิญญาริโอ (Rio Declaration on Environment and Development) ข้อ 15 “เพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม รัฐจะต้องใช้ แนวทางระวังไว้ก่อน (Precautionary approach) อย่างแพร่หลายตามความสามารถของตน ในกรณีที่มีความน่ากลัวว่าจะเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงและไม่สามารถแก้ไขให้กลับคืนดีได้ การขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนแน่นอนจะต้องไม่ถูกใช้เป็นเหตุผลในการผ่อนผันการดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันความเสื่อมโทรม ด้านสิ่งแวดล้อม”
การฟ้องคดีต่อศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิ มีนาคม 2553 สมาชิกเครือข่ายอนุรักษ์ฯ จำนวน 56 คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ อำเภอหนองแซงยื่นฟ้อง รมต.มหาดไทย กับพวกรวม 5 คน ขอให้ประกาศใช้ผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี และระหว่างที่ยังไม่ประกาศใช้ผัง เมืองรวมให้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินห้ามสร้าง โรงงานขนาดใหญ่ในพื้นที่ โดยอ้างว่าการละเลยหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ ล่าช้าดังกล่าว ส่งผลให้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 66,67 ถูกละเมิดเรื่อยมา
การฟ้องคดีต่อศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิ (ต่อ) ในการยื่นฟ้องได้มีการยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการชั่วคราว ก่อนพิพากษา โดยขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้มีการดำเนินการใด ๆ ที่จะมีผลเป็นการ ใช้ประโยชน์ที่ดินที่ขัดต่อร่างผังเมืองฯ ดังกล่าว ศาลได้เรียกไต่สวนข้อมูลจากคู่กรณี 3 ครั้งและมีการลงตรวจสอบพื้นที่อำเภอ หนองแซง 1 ครั้ง ...เป็นเวลากว่า 1 ปีครึ่ง ศาลมีคำสั่ง ยกคำร้อง เนื่องจากเห็นว่าประเด็นคำร้อง ห่างไกลจากประเด็นในคดี
คำถามชวนคิด ในทางวิชาการ กฎหมายที่มีผลบังคับเพียง 5 ปี แต่ใช้เวลาทำ กว่า 10 ปี สมเหตุสมผลหรือไม่ หากผังเมืองใช้เวลาจัดทำนานจะมีมาตรการใดทำให้ผังเมือง บังคับได้จริง